ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการส่งเสริมสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ
ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา สังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ชื่อผู้รายงาน นางจิณารี ชมจินดา รองผู้อำนวยการชำนาญการ
โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา สังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ปีที่วิจัย 2558
บทคัดย่อ
การดำเนินงานครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงประเมิน (Evaluation Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการของโรงเรียนเทศบาล บ้านศรีมหาราชา สังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี คือ การประเมินด้านบริบท การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า
การประเมินด้านกระบวนการ และการประเมินด้านผลผลิต ดำเนินการประเมินโดยใช้ CIPP Model ของ สตัฟฟิลบีม (Stufflebeam) และเพื่อให้การประเมินโครงการเป็นไปอย่างเต็มรูปแบบหรือครอบคลุมอย่างแท้จริง ผู้ศึกษาจึงทำการประเมินอีกด้าน คือ ด้านผลกระทบที่เกิดขึ้น (Impact Evaluation) ในรูปแบบของ CIPP+I = CIPPI Model ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 695 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 3 คน ครู จำนวน 66 คน ผู้ปกครอง จำนวน 313 คน และนักเรียน จำนวน 313 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษานี้ คือ แบบสอบถาม (questionnaires) เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 สอบถามเกี่ยวกับคุณลักษณะทั่วไป และส่วนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับการประเมินโครงการส่งเสริมสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา สังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และด้านผลกระทบ ลักษณะของเครื่องมือเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สร้างเครื่องมือและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประเมินโครงการ สร้างแบบสอบถามตามวัตถุประสงค์ของการประเมินผล และตามกิจกรรมโครงการ นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และ ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยตรวจสอบความเหมาะสมของการใช้ภาษา ในการเขียน ปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถาม ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ นำแบบสอบถามไปทดลองใช้ (Try Out) เก็บรวบรวมและนำไปวิเคราะห์ข้อมูล และนำไปใช้สอบถามจริงกับประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เก็บรวบรวมและนำไปวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา
สรุปผลการประเมิน
1. ด้านบริบท มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก ( = 4.40, S.D.= 0.03 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า โครงการมีความสอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพการศึกษา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 1 ( = 4.51, S.D.= 0.55 )
2. ด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน โดยภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก ( = 4.37, S.D.= 0.02 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้รับผิดชอบโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ เหมาะสมกับการบริหารโครงการมีความเหมาะสม
อยู่ในระดับมาก ( = 4.46, S.D.= 0.57 )
3. ด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน โดยภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก ( = 4.39, S.D.= 0.03 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ความเหมาะสมของการวางแผนดำเนินงานแต่ละกิจกรรมเป็นไปตามแผนที่วางไว้ มีความเหมาะสม
อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D.= 0.54 )
4. ด้านผลผลิต ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน โดยภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก ( = 4.42, S.D.= 0.02 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักเรียนได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทางวิชาการตามความรู้ ความสามารถ และความถนัดของแต่ละคน มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก ( = 4.47, S.D.= 0.57 )
5. ด้านผลผลิต ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน โดยภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก ( = 4.45, S.D.= 0.02 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผลดีต่อนักเรียน มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก ( = 4.48, S.D.= 0.58)