ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
รายวิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ เรื่องปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาและธรณีประวัติ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางยุพากร ศรีโลห้อ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนพิบูลมังสาหาร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
ปีการศึกษา2557
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ รายวิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ เรื่องปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาและธรณีประวัติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ รายวิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ เรื่อง ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาและธรณีประวัติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 52) สร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ รายวิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 3) ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ รายวิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ รายวิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/11โรงเรียนพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (ClusterRandom Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม จำนวนนักเรียน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แบบสำรวจความต้องการจำเป็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ต่อการจัดการเรียนการสอน รายวิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ 2) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โรงเรียนพิบูลมังสาหาร 3) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 4) คู่มือครูประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 6) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ 7) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย(x ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบที (ttest)แบบ Dependent
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า นักเรียนมีความสนใจในการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์รายวิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ เรื่อง ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา และธรณีประวัติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เนื่องจากนักเรียนต้องการเรียนโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้และทำกิจกรรมกลุ่ม สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นสำคัญในการจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์เห็นด้วยกับการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่จะนำมาพัฒนาศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
2) ผลการหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์รายวิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ เรื่อง ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา และธรณีประวัติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5จำนวน 7 ชุด มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.15/84.26 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ค่าประสิทธิภาพที่กำหนดไว้คือ 80/80
3) ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์รายวิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ เรื่อง ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา และธรณีประวัติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า
3.1 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์รายวิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ เรื่อง ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา และธรณีประวัติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1 ที่กำหนดไว้
3.2 ผลการเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์รายวิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ เรื่อง ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาและธรณีประวัติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2 ที่กำหนดไว้
4) ผลการประเมินผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์รายวิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ เรื่อง ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาและธรณีประวัติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์รายวิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ เรื่อง ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาและธรณีประวัติ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅= 4.37, S.D.= 0.21)