เผยแพร่ผลงาน Best Practice กิจกรรมลดเวลาเรียน
1. ชื่อผลงาน : กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ มาตราพาเพลิน
2. ชื่อผู้นำเสนอผลงาน : นางสาวนิภาพร เสาอินทร์ ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย
นางสาวอรกัญญา เอมเสม ตำแหน่ง ครูอัตราจ้าง
ที่อยู่ : โรงเรียนชุมชนวัดไทรน้อย สพป.นนทบุรี เขต 2
3. หลักการเหตุผล/ความเป็นผล
กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบาย ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครองและครูมีความสุขในการเรียนการสอน โรงเรียนชุมชนวัดไทรน้อย ได้เห็นถึงความสำคัญ ของนโยบาย จึงเข้าร่วมเป็นโรงเรียนนำร่อง และได้ดำเนินการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ 4 H โดยประกอบด้วย Head (กระบวนการคิด) Heat (จิตใจ) Hand (ปฏิบัติ) Health (สุขภาพ) ในทุกระดับชั้น ซึ่งในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้จัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ครบทั้ง 4H ผ่านการจัดกิจกรรมโดยใช้เกมบันไดงูและนำมาตราตัวสะกดมาประยุกต์ ซึ่งนักเรียนจะได้รับทั้งความรู้และมีความสุขควบคู่ไปพร้อมกัน
4. วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักเรียนรู้และเข้าใจมาตราตัวสะกดตรงตามมาตรา
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถอ่านเขียนสะกดคำได้ถูกต้อง
3. เพื่อให้นักเรียนรู้จักคำที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
4. เพื่อให้นักเรียนมีความสุขในการเรียนและเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
5. แนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
การจัดกิจกรรมลดลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ มาตราพาเพลิน สอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เกมเป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นเกมที่มีลักษณะการเล่นเพื่อการเรียนรู้ Play to learning มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในขณะการเล่นเกมหรือหลังการเล่นเกม และยังได้สนุกควบคู่ไปพร้อมกัน ทำให้เนื้อหาการเรียนที่ยาก เปลี่ยนเป็นง่ายต่อการเรียนรู้
6. การดำเนินงาน/ กระบวนการ/ วิธีปฏิบัติ
การจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ มาตราพาเพลิน เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมโดยการลงมือทำ นักเรียนเกิดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด จะทำให้นักเรียนเกิดการพัฒนา ดังนี้
1. ด้านความรุ้
นักเรียนรู้และเข้าใจมาตราตัวสะกด ตรงตามมาตราและสามารถอ่านเขียนสะกดคำได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้นักเรียนสามารถรู้จักคำที่หลายหลายมากยิ่งขึ้น
2. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
2.1. ความสมารถด้านการคิด นักเรียนได้ใช้การคิดวิเคราะห์ เพื่อสร้างองค์ความรู้ และใช้ความคิดสร้างสรรค์ ในการคิดผสมคำที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
2.2. ความสามารถในการสื่อสาร นักเรียนใช้ภาษาในการถ่ายทอดความคิดของตนเองออกมา โดยการที่คิดคำสะกดด้วยมาตราต่างๆ แล้วพูดออกมาในระหว่างการเล่นเกม
2.3. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต นักเรียนสามารถเรียนรู้การอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและยอมรับคำตัดสินรู้แพ้รู้ชนะ
3. ด้านคุณลักษณะ
3.1. มุ่งมั่นในการทำงาน นักเรียนมีความรับผิดชอบในการทำสมุดเล่มเล็ก สามารถทำเสร็จตรงตามเวลาที่กำหนดและผลงานออกมาสวยงาม
3.2. ใฝ่เรียนรู้ นักเรียนสนใจเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มีการซักถามและตอบคำถามครูอยู่เสมอ
3.3. มีวินัย นักเรียนมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย และส่งงานตรงเวลาที่กำหนด
4.4. ความซื่อสัตย์ นักเรียนมีความซื่อสัตย์เมื่อเล่นเกมนักเรียนไม่คดโกงผู้ร่วมเล่นคนอื่น
5.5. รักความเป็นไทย นักเรียนอ่านและเขียนภาษาไทยได้ถูกต้อง และเหมาะสม
7. แผนการดำเนินงาน/ระยะเวลาในการดำเนินงาน
ระยะที่ 1 ประชุมวางแผน และรวบรวมข้อมูล การจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ร่วมกันของคณะครู
ระยะที่ 2 ชี้แจงนโยบายกับผู้ปกครองและนักเรียนให้ทราบ
ระยะที่ 3 ปฏิบัติตามแผนกิจกรรมที่ได้วางไว้
ระยะที่ 4 ประเมินความพึงพอใจ เพื่อปรับปรุงในกิจกรรมต่อไป
8. ผลการปฏิบัติงาน
การจัดกิจกรรมลกเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ มาตราพาเพลิน พบว่า นักเรียนได้รับความรู้และความสนุกสนาน นอกจากนี้นักเรียนเกิดทักษะทั้ง 4 H ซึ่งด้านที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จะได้รับการพัฒนามากที่สุด คือ ด้านการพัฒนาสมองและการพัฒนาความคิด (Head) นักเรียนสามารถคิดคำที่สะกดด้วยมาตราต่างๆได้อย่างสร้างสรรค์ นำคำที่นักเรียนรู้จักมาจัดกลุ่มว่าอยู่ในมาตราตัวสะกดมาตราใด นอกจากนี้นักเรียนได้รับการพัฒนาสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ในกระบวนการจัดการเรียนรู้
ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน ต่อการจัดกิจกรรม มาตราพาเพลินจากการประเมินความพึงพอใจ ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 22 คน คิดเป็น 100.00 ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดกิจกรรม มาตราพาเพลิน อยู่ในระดับมากที่สุด 10 คน คิดเป็นร้อยละ 45.45 อยู่ในระดับมาก 10 คน คิดเป็นร้อยละ 45.45 อยู่ในระดับน้อย 2 คน คิดเป็นร้อย 9.0 อยู่ในระดับน้อยที่สุด 0 คน คิดเป็นร้อย 0
9. ปัจจัยที่ทำให้วิธีการประสบผลสำเร็จ
- ด้านการบริหารจัดการ ผู้บริหารสถานศึกษาได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
- ด้านการจัดการเรียนการสอน ครูมุ่งเน้นการพัฒนานักเรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข ควบคู่กับการเรียนรู้โดยยึดหลักการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- ด้านสื่อและเทคโนโลยี ครูได้จัดทำสื่อและหาสื่อที่มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนและสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนแต่ละช่วงวัย
- ด้านการประสานชุมชน ได้เผยแพร่ผลงาน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ และการสัมภาษณ์ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
10. บทเรียนที่ได้รับ
นักเรียนได้รับการพัฒนาความรู้เรื่องมาตราตัวสะกด นอกจากนี้ได้รับการพัฒนาสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้วย