ชื่อเรื่อง รายงานการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด การใช้ภาษามหาสนุก
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้รายงาน นางสาวธารี กอเด็ม
โรงเรียน บ้านหัวถนน อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ปีการศึกษา 2557 ภาคเรียนที่ 1
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้าง และพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด การใช้ภาษามหาสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 2) ศึกษาเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์การอ่านในด้านการใช้ภาษาก่อน และหลังการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด การใช้ภาษามหาสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด การใช้ภาษามหาสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มประชากรที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน บ้านหัวถนน อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ คู่มือครูการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด การใช้ภาษามหาสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีแผนจัดการเรียนรู้ 32 แผน รวมเวลาทั้งหมด 32 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 ข้อ เป็นแบบปรนัย 3 ตัวเลือก หนังสือส่งเสริมการอ่านชุด การใช้ภาษามหาสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 เล่ม และแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 1 ฉบับ ผลการทดลองประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่านชุด การใช้ภาษามหาสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การศึกษาปรากฏผลดังนี้ (1) หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด การใช้ภาษามหาสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 87.39 / 85.11 (2) ผลสัมฤทธิ์การอ่านในด้านการใช้ภาษา พัฒนาขึ้นร้อยละ 41.11 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.81 และ (3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือส่งเสริมการอ่าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.89 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.39
ชื่อเรื่อง กระบวนการเรียนรู้พัฒนาทักษะการสื่อสารโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสาวธารี กอเด็ม
ตำแหน่ง ครูโรงเรียนบ้านหัวถนน
ปีที่วิจัย ปี พ.ศ. 2555-2557
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาทักษะการสื่อสาร
2. เพื่อออกแบบรูปแบบกระบวนการเรียนรู้พัฒนาทักษะการสื่อสารโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)
3. เพื่อทดลองใช้รูปแบบกระบวนการเรียนรู้พัฒนาทักษะการสื่อสารโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)
4. เพื่อประเมินและพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนรู้พัฒนาทักษะการสื่อสารโดยใช้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)
กลุ่มเป้าหมาย
1. การศึกษาสภาพปัญหาทักษะการสื่อสาร
1.1 ครูวิชาการของโรงเรียน ในเครือข่ายโรงเรียนปริก อำเภอสะเดา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 7 คน
1.2 ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียน ในเครือข่ายโรงเรียนปริก อำเภอสะเดา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 จำนวน 7 คน
1.3 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับผลการประเมินทักษะการสื่อสารได้แก่
1.3.1 รายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนบ้านหัวถนน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ปีการศึกษา 2555
1.3.2 รายงานการพัฒนาจุดเน้น ของโรงเรียนบ้านหัวถนน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ปีการศึกษา 2555
1.3.3 รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของโรงเรียนบ้านหัวถนน สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ปีการศึกษา 2555
1.3.4 รายงานผลการสอบ NT ของโรงเรียนบ้านหัวถนน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ปีการศึกษา 2555
1.3.5 รายงานผลการประเมินระบบประกันคุณภาพภายนอกรอบสามของโรงเรียนบ้านหัวถนน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 จากสำนักรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
2. การออกแบบรูปแบบกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)
ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ ผู้วิจัยได้ดำเนินการ
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการตรวจสอบและยืนยันรูปแบบกระบวนการเรียนรู้พัฒนาทักษะการสื่อสารโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)ได้แก่ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ด้านหลักสูตรและเนื้อหา ด้านการสร้างนวัตกรรม ด้านการวัดผลประเมินผล และด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้ที่มีวิทยฐานะระดับเชี่ยวชาญขึ้นไปหรือมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก และผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่
2.1 นางสาวศศิกาญจน์ รัตนศรี ข้าราชการบำนาญ อดีตศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ ด้านการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2
2.2 นางพรรณี ขาวมะลิ ข้าราชการบำนาญ อดีตศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ ด้านการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2
2.3 ดร. เดชกุล มัทวานุกูล อาจารย์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ด้านหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล
2.4 นางจิรฐา แซ่ค่ง ข้าราชการครู วิทยฐานะเชี่ยวชาญ ด้านนวัตกรรม กระบวนการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านคลองแงะ (ชาติบุณยวิทยาคาร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3
2.5 นายบัญญัติ อัตมณีย์ ข้าราชการบำนาญ ปราชญ์ชาวบ้าน
3. การทดลองใช้รูปแบบกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)
3.1 กลุ่มทดลองแบบเดี่ยว (1:1) เป็นการทดลองโดยครู 1 คน ต่อเด็ก 1 คน คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนบ้านหัวถนน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สงขลา เขต 3 ปีการศึกษา 2556 ภาคเรียนที่ 1 ซึ่งเป็นนักเรียนที่เรียนอ่อน จำนวน 1 คน นักเรียนที่เรียนปานกลาง จำนวน 1 คน และนักเรียนที่เรียนเก่ง จำนวน 1 คน รวมทั้งหมด 3 คน
3.2 กลุ่มทดลองแบบกลุ่ม (1:10) เป็นการทดลอง ครู 1 คน ต่อเด็ก 6-12 คน คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนบ้านหัวถนน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สงขลา เขต 3 ปีการศึกษา 2556 ภาคเรียนที่ 2 ซึ่งเป็นนักเรียนที่เรียนอ่อน จำนวน 3 คน นักเรียนที่เรียนปานกลาง จำนวน 3 คน และนักเรียนที่เรียนเก่ง จำนวน 3 คน รวมทั้งหมด 9 คน
3.3 กลุ่มทดลองแบบกลุ่ม (1:100) เป็นการทดลอง ครู 1 คน กับเด็กทั้งชั้น 30-40 คน คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนชุมชนบ้านปาดัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สงขลา เขต 3 ปีการศึกษา 2556 ภาคเรียนที่ 2 ซึ่งเป็นนักเรียนที่เรียนอ่อน เรียนปานกลางและเรียนเก่งคละกัน จำนวน 33 คน
4. การประเมินผลและพัฒนาการใช้รูปแบบกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินและพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญา ท้องถิ่น (Local wisdom) คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนบ้านหัวถนน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลาเขต 3 ปีการศึกษา 2557 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 15 คน
เครื่องมือ
1. การศึกษาสภาพปัญหาทักษะการสื่อสาร
1.1 แบบสอบถามปัญหาทักษะการสื่อสาร
1.2 แบบสังเคราะห์เอกสารเรื่องสภาพปัญหาทักษะการสื่อสาร
1.3 แบบสรุปสภาพปัญหาทักษะการสื่อสาร
2. การออกแบบรูปแบบกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)
ตรวจสอบความเหมาะสมและ ความเป็นไป ได้ของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ
2.1 รูปแบบกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)
2.3 คู่มือการใช้กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)
2.4 หนังสือส่งเสริมทักษะการสื่อสาร ชุด ตำนานท้องถิ่น
3. การทดลองใช้รูปแบบกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)
3.1 คู่มือการใช้กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)
3.2 หนังสือส่งเสริมทักษะการสื่อสาร ชุด ตำนานท้องถิ่น
4. การประเมินผลและพัฒนาการใช้รูปแบบกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)
4.1 คู่มือการใช้กระบวนการเรียนรู้พัฒนาทักษะการสื่อสารโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) กลุ่มสาระภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
4.2 หนังสือส่งเสริมทักษะการสื่อสาร ชุด ตำนานท้องถิ่น
4.3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
4.4 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบกระบวนการเรียนรู้พัฒนาทักษะการสื่อสารโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)
ผลการวิจัย
1. การศึกษาสภาพปัญหาทักษะการสื่อสาร
ด้านทักษะการฟัง การดู พบว่า นักเรียนขาดความคงทนในการฟัง ฟังและดูแล้ว จับใจความไม่ได้ แสดงความคิดเห็นไม่ได้ ด้านทักษะการพูดพบว่า นักเรียนพูดแสดงความต้องการไม่ได้ ขาดทักษะการพูดในสถานการณ์ต่างๆ ขาดทักษะการพูดแสดงความคิดเห็น ด้านทักษะ การอ่านพบว่า นักเรียนขาดทักษะการอ่านจับใจความ การคิดวิเคราะห์ ขาดทักษะการอ่าน สรุปใจความสำคัญ ด้านทักษะการเขียนพบว่า นักเรียนขาดทักษะการเขียนสื่อความ ขาดทักษะการเขียนสรุปความ ขาดทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็น และขาดทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการ
2. การออกแบบรูปแบบกระบวนการเรียนรู้พัฒนาทักษะการสื่อสาร โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไป ได้ของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ
2.1 รูปแบบกระบวนการเรียนรู้พัฒนาทักษะการสื่อสารโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) ผลการประเมินความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด
2.3 คู่มือการใช้กระบวนการเรียนรู้พัฒนาทักษะการสื่อสารโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) ผลการประเมินความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด
2.4 หนังสือส่งเสริมทักษะการสื่อสาร ชุด ตำนานท้องถิ่น ผลการประเมิน ความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด
3. การทดลองใช้รูปแบบกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาทักษะการสื่อสารโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)
ประสิทธิภาพของรูปแบบกระบวนการเรียนรู้พัฒนาทักษะการสื่อสารโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) มีค่า 83.88 / 84.43
4. การประเมินผลและพัฒนาการใช้รูปแบบกระบวนการเรียนรู้พัฒนาทักษะการสื่อสารโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)
4.1 ผลการพัฒนาประสิทธิภาพกระบวนการเรียนรู้พัฒนาทักษะการสื่อโดยใช้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) มีค่า 83.76 / 83.53
4.2 ผลสัมฤทธิ์ทักษะการสื่อสารหลังการใช้รูปแบบกระบวนการเรียนรู้พัฒนาทักษะการสื่อสารโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) เพิ่มขึ้น โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4.3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบกระบวนการ
เรียนรู้โดยพัฒนาทักษะการสื่อสารโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด