ชื่อเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรเพิ่มเติม เรื่อง อาหารพื้นบ้านในท้องถิ่นที่กำลังจะสูญหาย
โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างเป็นองค์ความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5
ผู้วิจัย นางชื่นจิต บิลโอะ ตำแหน่ง ครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
สถานที่ทำงาน โรงเรียนยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ปีที่ทำการศึกษา ปีการศึกษา 2556
.
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรเพิ่มเติม เรื่อง อาหารพื้นบ้านในท้องถิ่นที่กำลังจะสูญหาย โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างเป็นองค์ความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) พัฒนาหลักสูตรเพิ่มเติม เรื่อง อาหารพื้นบ้านในท้องถิ่นที่กำลังจะสูญหาย โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างเป็นองค์ความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5 3) ทดลองใช้หลักสูตรเพิ่มเติม เรื่อง อาหารพื้นบ้านในท้องถิ่นที่กำลังจะสูญหาย โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างเป็นองค์ความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) ประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตรเพิ่มเติม เรื่อง อาหารพื้นบ้านในท้องถิ่นที่กำลังจะสูญหาย โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างเป็นองค์ความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เกี่ยวกับผลการเรียนรู้ เรื่อง อาหารพื้นบ้านในท้องถิ่นที่กำลังจะสูญหาย และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรเพิ่มเติม เรื่อง อาหารพื้นบ้านในท้องถิ่นที่กำลังจะสูญหาย โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างเป็นองค์ความรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี จำนวนนักเรียน 33 คน ใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลัง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ หลักสูตรเพิ่มเติม เรื่อง อาหารพื้นบ้านในท้องถิ่นที่กำลังจะสูญหาย โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างเป็นองค์ความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 เรื่อง แบบทดสอบท้ายเรื่องของหลักสูตรเพิ่มเติม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการใช้หลักสูตรเพิ่มเติม แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรเพิ่มเติม เรื่อง อาหารพื้นบ้านในท้องถิ่นที่กำลังจะสูญหาย โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างเป็นองค์ความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (Dependent t-test)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า นักเรียนและผู้เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญและต้องการให้มีการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับอาหารพื้นบ้านในท้องถิ่นที่กำลังจะสูญหาย โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างเป็นองค์ความรู้ คาดหวังให้นักเรียนมีความรู้ ได้ศึกษาเรื่องราวแหล่งเรียนรู้ในชุมชนของตนเอง มีทักษะความสามารถในการประกอบอาหารพื้นบ้าน และร่วมกันอนุรักษ์สืบทอดวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ดำรงไว้สืบต่อไป โดยมีครูและผู้อยู่ในท้องถิ่นร่วมจัดการเรียนรู้และประเมินผล
2. ผลการพัฒนาหลักสูตร พบว่า หลักสูตรประกอบด้วย แนวคิด หลักการ จุดหมาย ผลการเรียนรู้ คำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชา ขอบข่ายสาระการเรียนรู้ เวลาเรียน แนวทางการจัดการเรียนรู้ สื่อการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้
3. ผลการหาประสิทธิภาพ (E1 / E2) จากการทดลองใช้หลักสูตรเพิ่มเติม เรื่อง อาหารพื้นบ้านในท้องถิ่นที่กำลังจะสูญหาย โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างเป็นองค์ความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า มีค่าประสิทธิภาพด้านกระบวนการและด้านผลลัพธ์ (E1/E2) เท่ากับ 83.55/84.24
4. ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยหลักสูตรเพิ่มเติม เรื่อง อาหารพื้นบ้านในท้องถิ่นที่กำลังจะสูญหาย โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างเป็นองค์ความรู้ หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของการเรียนรู้เท่ากับ 0.65 แสดงว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 0.65 หรือคิดเป็นร้อยละ 65
5. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อหลักสูตรเพิ่มเติม เรื่อง อาหารพื้นบ้าน
ในท้องถิ่นที่กำลังจะสูญหาย โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างเป็นองค์ความรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด