ชื่อเรื่อง รายงานการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรื่อง เมฆและการเกิดเมฆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้ศึกษา นางวิภาพร สวัสดิภาพ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
สถานศึกษา โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กาฬสินธุ์ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
ปีที่ศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรื่อง เมฆและการเกิดเมฆ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรื่อง เมฆและการเกิดเมฆ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรื่อง เมฆและการเกิดเมฆ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรื่อง เมฆและการเกิดเมฆ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนกาญจนาภิเษก วิทยาลัย กาฬสินธุ์ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 23 คน ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) แบบแผนที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบ One group pre-test post-test design เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรื่อง เมฆและการเกิดเมฆ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรื่อง เมฆและการเกิดเมฆ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เมฆและการเกิดเมฆ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) แบบประเมินความ พึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละและการทดสอบด้วยสถิติ t-test แบบ Dependent sample
ผลการศึกษา พบว่า
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรื่อง เมฆและการเกิดเมฆ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 86.13/89.28 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้
2. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เมฆและการเกิดเมฆ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้ศึกษาได้พัฒนาและสร้างขึ้น มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6574 ซึ่งหมายถึง หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เมฆและการเกิดเมฆ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แล้ว นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น เท่ากับ 0.6574 หรือคิดเป็นร้อยละ 65.74 ทั้งนี้เป็นค่าที่สูงกว่าสมมติฐาน 0.50 ที่ได้ตั้งไว้
3. ผลการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรื่อง เมฆและการเกิดเมฆ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (x̄= 26.78) มีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ ( x̄=20.61)
4. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรื่อง เมฆและการเกิดเมฆ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจในระดับมาก ( x̄= 4.20, S.D. = 0.74)