ผู้รายงาน นายฮาหรุน เหมมาน รองผู้อำนวยการโรงเรียนรัตภูมิวิทยา
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2557
--------------------------------------------------------------------------------------------
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาห้องสมุด 3 ดี เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนรัตภูมิวิทยา ปีการศึกษา 2557 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 297 คน กลุ่มตัวอย่างครู จำนวน 59 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 297 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งสิ้น 8 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และและมีข้อคำถามปลายเปิด จำนวน 7 ฉบับ ทุกฉบับผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .712-.948 และแบบบันทึกผลการประเมินมาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน จำนวน 1 ฉบับ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรม SPSS (Statistical Package for the Social Science) for window version 16 ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาห้องสมุด 3 ดี เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียน รัตภูมิวิทยา ปีการศึกษา 2557 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.17 , S.D. = .45) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าในการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาห้องสมุด 3 ดี เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียน รัตภูมิวิทยา ปีการศึกษา 2557 ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.05 , S.D. = .38) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการในการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาห้องสมุด 3 ดี เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียน รัตภูมิวิทยา ปีการศึกษา 2557 ตามความคิดเห็นของครู นักเรียนและผู้ปกครอง โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.01 , S.D. = .32) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพของห้องสมุด 3 ดี ตามโครงการพัฒนาห้องสมุด 3 ดี เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนรัตภูมิวิทยา ปีการศึกษา 2557 จำแนกเป็นได้ดังนี้
4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพของห้องสมุด 3 ดี ตามโครงการพัฒนาห้องสมุด 3 ดี เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนรัตภูมิวิทยา ปีการศึกษา 2557 ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.16 , S.D. = .32) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ตามโครงการพัฒนาห้องสมุด 3 ดี เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนรัตภูมิวิทยา ปีการศึกษา 2557 ตามความคิดเห็นของครู และผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.00 , S.D. = .25) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการดำเนินงาน ตามโครงการพัฒนาห้องสมุด 3 ดี เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียน รัตภูมิวิทยา ปีการศึกษา 2557 ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.19 , S.D. = .39) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาห้องสมุด 3 ดี เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียน รัตภูมิวิทยา ปีการศึกษา 2557 ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.06 , S.D. = .42) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 ผู้รับผิดชอบโครงการ/หัวหน้าโครงการ ควรมีการประชุมวางแผนร่วมกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมมากที่สุด
1.2 ผู้บริหาร/หัวหน้าโครงการควรกำหนดกรอบ บทบาทของบุคลากรแต่ละฝ่ายในการดำเนินงานโครงการให้ชัดเจน
1.3 ผู้บริหารควรให้ความสำคัญ สร้างความตระหนักให้บุคลากรทุกคน ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญของการดำเนินการโครงการ
1.4 โรงเรียนควรมีการวางแผนงบประมาณในการจัดทำโครงการให้ครอบคลุมทั้งระบบและเพียงพอต่อความต้องการ จำเป็น
1.5 ควรจัดกิจกรรมต่าง ๆ โดยการให้นักเรียนมีส่วนร่วมให้มากที่สุด
1.6 ควรมีการพัฒนาห้องสมุดให้มีความพร้อมในการให้บริการอยู่ตลอดเวลาและต่อเนื่อง
1.7 ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ให้มีความต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
2. ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมิน/วิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการศึกษา เปรียบเทียบคุณภาพของห้องสมุดอื่น ๆ ตามเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.2 ควรมีการประเมินโครงการระดับองค์กร/โครงการของฝ่าย/กลุ่มงาน ภายในโรงเรียนโดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model)