ชื่อเรื่อง การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ3 R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นางมยุรา บุญช่วย
โรงเรียน โรงเรียนเทศบาล 4 (อมร สะเพียรชัย อุทิศ) เทศบาลเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่วิจัย 2557
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อการศึกษาผลการจัดกิจกรรมการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ3 R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ให้นักเรียนจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 75ขึ้นไป(3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ3 Rกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2โรงเรียนเทศบาล 4 (อมร สะเพียรชัย อุทิศ) สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2557จำนวน30คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย(1)แผนการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ3 R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2(2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (3)แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ3 R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสรุปความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า
1.ผลการจัดกิจกรรมการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้วิธีการสอนแบบ
SQ3 R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2ขั้นสำรวจ นักเรียนอ่านเนื้อเรื่องอย่างคร่าว การสำรวจ คำศัพท์ ประโยคและ รูปภาพประกอบ จดจำเรื่องราว แล้วจึงบันทึกลงในสมุดทำให้ได้ข้อมูลและรายละเอียด ขั้นตั้งคำถาม ฝึกตั้งคำถาม โดยเขียนเป็นภาษาไทยก่อน จากนั้นจึงเรียบเรียงเป็นประโยคภาษาอังกฤษ ใช้คำถามง่ายๆ สามารถใช้คำถามซึ่งได้จากที่ครูยกตัวอย่างคำถามไว้ให้เป็นแนวทาง ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนหาคำตอบไปด้วยในขณะเดียวกัน โดยใช้กิจกรรมกลุ่ม แบ่งหน้าที่กันส่งผลให้ นักเรียนก็มีคำตอบได้ในทันที ขั้นอ่าน อ่านอย่างละเอียด แล้วค้นหาความหมายของคำศัพท์ โดยใช้วิธีคาดเดาจากบริบทของข้อความ สามารถจับใจความได้รวมทั้งใช้บริบทของข้อความ ทำความเข้าใจเนื้อเรื่อง ตรวจสอบคำตอบที่คาดเดาไว้เปรียบเทียบคำตอบที่ได้คาดเดาไว้ก่อนหน้านี้ ขั้นจดจำ โดยการคาดเดาจากรูปภาพ บริบทข้อความ การขีดเส้นเน้นข้อความทำให้จดจำเนื้อเรื่องได้ ซึ่งช่วยให้สามารถหาคำตอบได้รวดเร็วขึ้น สามารถจับใจความสำคัญของเรื่องและสรุปเรื่องที่อ่านได้ขั้นทบทวน สามารถสรุปเรื่องที่อ่านจากบทความได้ สามารถตรวจคำตอบกับเพื่อน ส่งผลให้นักเรียนมีผลการประเมินด้านการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์สูงขึ้น และนักเรียนที่มีผลการประเมินไม่ผ่านเกณฑ์ ลดลง
2 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยร้อยละ 80ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยร้อยละ 80.4ซึ่งเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือร้อยละ 75ขึ้นไป
3 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ3 R โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.54