ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้เกมการละเล่นของไทยเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคม
ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1/1 โรงเรียนบ้านปะนาเระ(รัฐอุทิศ) จังหวัดปัตตานี
ผู้รายงาน วิภาวี วิเชียรรัตน์
ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญ โรงเรียนบ้านปะนาเระ (รัฐอุทิศ) จังหวัดปัตตานี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1
ปีที่ทำการศึกษา พ.ศ.2557
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้จุดมุ่งหมายของการศึกษาดังนี้1)เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ก่อนและหลังเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการละเล่นของไทย 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่1 โรงเรียนบ้านปะนาเระ(รัฐอุทิศ) กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประชากร คือ นักเรียนชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี ซึ่งกำลังเรียนอยู่ชั้นอนุบาลปีที่1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนบ้านปะนาเระ(รัฐอุทิศ) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 จำนวน 2 ห้องเรียน 60 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1/1 โรงเรียนบ้านปะนาเระ( อุทิศ)จำนวน 24 คน เป็นการสุ่มแบบเจาะจง ซึ่งผู้รายงานเป็นครูประจำชั้น ระยะเวลาดำเนินการ ในภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2557 ใช้เวลา 24 วัน ระหว่างวันที่ 11 พฤศจิกายน 2557 ถึงวันที่14 มกราคม 2558 รวม 8 สัปดาห์สัปดาห์ละ3 วันวันละ 40 นาที รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ 1) เกมการละเล่นของไทย จำนวน 24 เกม 2) แผนการจัดประสบการณ์การละเล่นของไทย เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมจัดในกิจกรรมกลางแจ้ง จำนวน 24 แผน และ3) แบบทดสอบทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ซึ่งประกอบด้วย การเป็นผู้นำ ผู้ตาม มีความสามัคคีเล่นร่วมกับผู้อื่นได้ การรู้จักการช่วยเหลือ แบ่งปัน การปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดได้ มีความสุข สนุกสนานในการเล่นเกมการละเล่นของไทยซึ่งผู้รายงานสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาค่าเฉลี่ย( )ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)ค่าเฉลี่ยร้อยละ และค่า t-test
ผลการศึกษาพบว่า
1. ทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ได้แก่ ก่อนและเหลังการจัดกิจกรรมโดยใช้เกมการละเล่นของไทยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.1 โดยพฤติกรรมหลังจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรม
2.ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการใช้เกมการละเล่นของไทยเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่1 พบว่า ระดับความพึงพอใจ อยู่ในระดับ พอใจมาก ร้อยละ 100
แผนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคม
โดยใช้เกมการละเล่นของไทยในกิจกรรมกลางแจ้ง ชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนบ้านปะนาเระ(รัฐอุทิศ) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557
สาระการเรียนรู้ สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก หน่วยการเรียนรู้ อาหารดีมีประโยชน์
เรื่อง ข้าว (เกมรีรีข้าวสาร)
แผนที่ 1 สอนวัน ที่ 10 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2557 เวลา 10.30 น. 11.00 น.
1.สาระสำคัญ
การเล่นเกมรีรีข้าวสารเป็นการละเล่นของเด็กไทยสมัยก่อนประเภทหนึ่ง นิยมเล่นกลางแจ้งกันเป็นกลุ่มใหญ่ ไม่มีอุปกรณ์การเล่น แต่มีกติกา และวิธีการเล่นที่สนุกสนาน ส่งเสริมความร่วมมือ มีน้ำใจรู้จักการช่วยเหลือ แบ่งปัน การยอมรับกติกา คำร้อง จังหวะของคำร้อง ว่องไว มีไหวพริบที่จะต้องพยายามเล่น เพื่อไม่ให้ถูกตัดออกจากการเล่น
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนเป็นผู้นำ ผู้ตาม ในการเล่นเกมได้
2. นักเรียนมีความสามัคคี เล่นร่วมกับผู้อื่นได้
3. นักเรียนมีน้ำใจรู้จักการช่วยเหลือ แบ่งปัน
4. นักเรียนปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดได้
5. นักเรียนมีความสุข สนุกสนาน
3. สาระการเรียนรู้
3.1 สาระที่ควรรู้
การเล่นเกมรีรีข้าวสารเป็นการละเล่นของเด็กไทย นิยมเล่นกลางแจ้ง เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมในด้านการเป็นผู้นำ ผู้ตาม ความสามัคคี เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ มีน้ำใจ รู้จักการช่วยเหลือและแบ่งปัน การปฏิบัติตามข้อตกลง กฎกติกาในการเล่น เด็กมีความสุข สนุกสนานในการเล่น
3.2 ประสบการณ์สำคัญ
ด้านร่างกาย
-การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่อย่างคล่องแคล่ว ว่องไว
-การเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อหลบหลีกเอาตัวรอดจากการจับด้วยไหวพริบ
ด้านอารมณ์ - จิตใจ
-ร่วมกิจกรรมด้วยความสุข สนุกสนาน
ด้านสังคม
-การเป็นผู้นำ ผู้ตาม ในการเล่นเกม
-ความร่วมมือสามัคคี เล่นเกมร่วมกับผู้อื่นได้
-การมีน้ำใจรู้จักช่วยเหลือ แบ่งปัน
-ปฏิบัติตามข้อตกลงของการเล่นได้
ด้านสติปัญญา
-สามารถบอกชื่อเกมและกติกาการละเล่นรีรีข้าวสารได้
-การตอบคำถาม กล้าซักถาม และแสดงความคิดเห็นในการเล่นเกมรีรีขาวสารได้
-การฝึกพูดคำร้อง จังหวะคำร้องในบทร้องประกอบการละเล่นรีรีข้าวสารได้
4. กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
4.1 นักเรียนดูวิดีโอ การละเล่นของไทยเกมรีรีข้าวสาร ในบทประกอบการเล่นภาพยนตร์ เรื่อง
ศรีธนญชัย โดยครูเปิดใช้อินเทอร์เน็ต ผ่านเว็บบราวเซอร์ google chrome
4.2 ครูและนักเรียนร่วมสนทนาซักถามเกี่ยวกับ คำร้องประกอบการละเล่น และร่วมร้องคำร้อง ตามบทร้องประกอบการเล่นเกมรีรีข้าวสาร ในภาพยนตร์ภาพยนตร์เรื่อง ศรีธนญชัย
คำร้อง
รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก
เลือกท้องใบลาน เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน
คดข้าวใส่จาน พาลเอาคนข้างหลังไว้
4.3 ครูให้เด็กเข้าแถวเดินเป็นระเบียบไปยังลานกว้างหน้าเสาธง ยืนเป็นวงกลม และอบอุ่นร่างกาย โดยทำท่ากายบริหาร ดังนี้
- หมุนไหล่ 10 ครั้ง
- วิ่งอยู่กับที่ 10 ครั้ง
- กระโดดตบ 10 ครั้ง
ขั้นสาธิต
4.4 ครูสาธิตวิธีการเล่นเกมรีรีข้าวสาร
4.4.1 ครูหาอาสาสมัครเป็นผู้นำการละเล่น จำนวน 2 คน ยืนหันหน้าเข้าหากัน โน้มตัวประสานมือกันเป็นซุ้มเหนือศีรษะ
4.4.2 ผู้เล่นคนอื่นๆใช้มือเกาะไหล่กันเป็นแถวตอน
4.4.3 ผู้เล่นคนหัวแถวจะก้มหัวเดินลอดใต้ซุ้ม พร้อมร้องบทร้องประกอบการเล่นเกมรีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก เลือกทองใบลาน เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน คดข้าวใส่จาน พานเอาคนข้างหลังไว้
4.4.4 นักเรียนที่เป็นซุ้มลดมือลงกักคนสุดท้ายไว้เมื่อถึงประโยคที่ว่า พานเอาคนข้างหลังไว้ ซึ่งคนสุดท้ายที่ถูกกักตัวได้จะต้องออกจากการเล่นไปทีละคน
ขั้นปฏิบัติ
4.5 นักเรียนทดลองเล่นเกมการละเล่นรีรีข้าวสาร และเล่นจริง 2 3 ครั้ง โดยมีครูคอยแนะนำอย่างใกล้ชิด
4.5.1 ความสนุกสนานของเกมรีรีข้าสาร เมื่อเด็กๆเล่น ร้องคำร้องถึงประโยคว่า พานเอาคนข้างหลังไว้ ผู้เล่นที่เป็นซุ้มประตู จะลดมือลงอย่างรวดเร็ว เพื่อกักผู้เล่นคนสุดท้ายที่อยู่ในช่องนั้นไว้ ส่วนผู้เล่นที่จะถูกกักต้องรีบมุดหัวให้ต่ำด้วยความว่องไวเพื่อให้รอดพ้นจากการถูกกักตัวด้วยไหวพริบและความสนุกสนาน ว่องไว
4.5.2 ครูคอยดูแลให้เด็กได้เล่นเกมการละเล่นตามกติกา และเด็กได้พัฒนาทักษะทางสังคม ทุกคนเล่นได้อย่างปลอดภัย มีความสุข สนุกสนาน
ขั้นสรุป
4.6 สนทนา ซักถามเด็กเกี่ยวกับการเล่น เกมการละเล่นรีรีข้าวสาร
4.6.1 นักเรียนชอบเล่นเกมการละเล่นรีรีข้าวสารหรือไม่
4.6.2 ทำไมถึงชอบหรือไม่ชอบเพราะอะไร
4.6.3 นักเรียนรู้จักข้าวเปลือกและข้าวสารหรือไม่ ข้าวมีประโยชน์อย่างไร(ครูอธิบายเพิ่มเติมให้เด็กฟังอีกครั้ง)
4.7.ให้นักเรียนทำความสะอาดร่างกาย ล้างมือหลังเล่นเกมเสร็จแล้ว
4.8 ครูให้นักเรียนเข้าแถวเดินเข้าห้องเรียนอย่างเป็นระเบียบ
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปการเล่นเกมรีรีข้าวสาร ที่ฝึกให้ผู้เล่นมีแคล่วคล่อง ว่องไว และได้พัฒนาทักษะทางสังคมทั้ง 5 ด้านคือการเป็นผู้นำ ผู้ตาม ความร่วมมือสามัคคี เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ การมีน้ำใจรู้จักช่วยเหลือแบ่งปัน การปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดได้ และมีความสุข สนุกสนาน
5.สื่อการเรียนการสอน
5.1 นักเรียน
5.2 สถานที่ลานกว้างหน้าเสาธง
5.3 วิดีโอ การละเล่นของเด็กไทยเกมรีรีข้าวสาร และบทร้องประกอบการละเล่น
5.4 คู่มือเกมการละเล่นของไทย
6.การวัดผลประเมินผล
1.สามารถเป็นผู้นำ ผู้ตาม ในการเล่นเกมการละเล่นรีรีข้าวสารได้
2.มีความสามัคคี สามารถเล่นเกมการละเล่นรีรีข้าวสารร่วมกันได้
3.มีน้ำใจ สามารถช่วยเหลือ แบ่งปัน ระหว่างการเล่นเกมการละเล่นรีรีข้าวสารได้
4.สามารถเล่นเกมการละเล่นรีรีข้าวสารได้ถูกต้องตามข้อตกลงที่กำหนด
5.มีความสุข สนุกสนาน ในการเล่นเกมรีรีข้าวสาร
7.เกณฑ์การประเมิน
หมายเหตุ เกณฑ์การแปลผลของคุณลักษณะระดับพฤติกรรม ใช้เกณฑ์ดังนี้
ช่วงคะแนน แปลความหมาย
2.51-3.00 ดีมาก
2.00-2.50 ดี
1.00-1.99 พอใช้
เกณฑ์การประเมิน
ผ่าน ได้คะแนนตั้งแต่ 2.00 ขึ้นไป
8.บันทึกผลหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
8.1 จำนวนผู้เรียน
... คน ไม่มา
. คน คือเลขที่
.
8.2 พฤติกรรมของนักเรียน
.
8.3 การดำเนินการจัดประสบการณ์ของครูดำเนินการตามแผนการจัดประสบการณ์การละเล่นของไทย
8.4 สรุปผลการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนจากการสอนการเล่นเกมการละเล่นของไทย เกมรีรีข้าวสาร พบว่า นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินดังนี้
- ระดับคุณภาพดีมาก จำนวน 5 คน ร้อยละ 20.83
- ระดับคุณภาพดี จำนวน 15 คน ร้อยละ 62.50
- ระดับคุณภาพพอใช้ จำนวน 4 คน ร้อยละ 16.67
8.5 แนวทางการให้ความช่วยเหลือผู้ไม่มาเรียน
..
8.6 ปัญหาที่พบและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
.
ลงชื่อ ..............................................ผู้บันทึก
(นางวิภาวี วิเชียรรัตน์)
10 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2557
9.ภาคผนวก
คำร้อง
รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก
เลือกท้องใบลาน เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน
คดข้าวใส่จาน พาลเอาคนข้างหลังไว้