เผยแพร่ผลงาน Best Practice กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
1. ชื่อผลงาน : กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ของเล่นเลียนเสียงจักจั่น
2. ชื่อผู้นำเสนอผลงาน: นางสาวปิยะดา ศรีอินทร์สุทธิ์ ตำแหน่ง ครู
นางสาวศิรินทรา ด้วงเหม ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย
ที่อยู่ โรงเรียนชุมชนวัดไทรน้อย สพป. นนทบุรี เขต 2
3. หลักการเหตุผล/ความเป็นผล
ตามที่รัฐบาลได้มอบนโยบายให้กับกระทรวงศึกษาธิการให้มีการปรับลดเวลาเรียนของเด็กให้น้อยลง เป็นการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โดยให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพิจารณาปรับลดชั่วโมงเรียนของบางวิชาให้น้อยลง แต่ต้องไม่กระทบเนื้อหาหลักที่เด็ก ๆ ควรเรียนรู้ ซึ่งทางโรงเรียนชุมชนวัดไทรน้อย เล็งเห็นความสำคัญของนโยบาย จึงเข้าร่วมเป็นโรงเรียนนำร่อง และเริ่มจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โดยในแต่ละระดับชั้นมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายที่สอดคล้องกับหมวดกิจกรรมตามแนวทางการจัดกิจกรรม ซึ่งระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้จัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ไว้ทั้ง 3 หมวด เพื่อพัฒนานักเรียนให้ครบทั้ง ด้านความคิด ด้านการลงมือปฏิบัติ และด้านสุขภาพ จึงต้องมีการออกแบบกิจกรรมที่สนุกสนานและให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ เพราะเด็กชอบการเรียนรู้ผ่านการเล่น
กิจกรรม ของเล่นเลียนเสียงจักจั่น เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิด การทำงาน การแก้ไขปัญหาภายใต้คุณธรรม และสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่สำคัญนักเรียนเกิดความสุขและสามารถนำไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวัน
4. วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการทำของเล่นทางวิทยาศาสตร์ (ของเล่นเลียนเสียงจักจั่น )ด้วยตนเอง
2. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจถึงหลักการเกิดเสียงตามหลักการทางวิทยาศาสตร์
3. เพื่อให้นักเรียนรู้และตระหนักถึงการนำสิ่งของที่เหลือใช้มากทำให้ประโยชน์ใหม่ได้
4. เพื่อให้นักเรียนเชื่อมโยงองค์ความรู้ในการทำกิจกรรมเข้ากับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
5. เพื่อให้นักเรียนมีสุขต่อการเข้าร่วมกิจกรรมการสร้างของเล่นทางวิทยาศาสตร์
5. แนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
การจัดกิจกรรมได้นำแนวคิดของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นส่งผลให้คนในยุคศตวรรษที่ 21 จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่เพิ่มเติมจากคนในศตวรรษที่ 20 และ 19 โดยเครือข่าย P21 เห็นว่า เด็กและเยาวชนจำเป็นต้องมีทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ซึ่งมีองค์ประกอบคือ 3R4C คือ 3 R ได้แก่ Reading (การอ่าน), การเขียน(Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic) และ 4C ได้แก่ Critical Thinking (การคิดวิเคราะห์) , Communication (การสื่อสาร), Collaboration (การร่วมมือ) และ Creativity (ความคิดสร้างสรรค์) รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี และการบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่ และได้นำกระบวนการเทคโนโลยี เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อสร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการของมนุษย์ กระบวนการเทคโนโลยี ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. กำหนดปัญหาหรือความต้องการ (Identify the problem)
2. รวบรวมข้อมูล (Information gathering)
3. เลือกวิธีการ (Selection)
4. ออกแบบและปฏิบัติการ (Design and making)
5. ทดสอบ (Testing)
6. ปรับปรุงแก้ไข (Modification and improvement)
7. ประเมินผล (Assessment)
6. การดำเนินงาน/กระบวนการ/วิธีการปฏิบัติ
การจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ กิจกรรมของเล่นเลียนเสียงจักจั่น เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ให้นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมโดยการลงมือทำ ตั้งแต่กระบวนการออกแบบ การเตรียมอุปกรณ์ การแก้ไขปัญหาร่วมกัน ทำให้นักเรียนได้เกิดทักษะในการทำงาน ภายใต้การมีคุณธรรม และเกิดองค์ความรู้ใน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย การงานอาชีพและเทคโนโลยีสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
7. แผนการดำเนินงาน/ระยะเวลาในการดำเนินงาน
ระยะที่ 1 ประชุม วางแผน และรวมรวมข้อมูล การจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ร่วมกันของคณะครู
ระยะที่ 2 ชี้แจงนโยบายกับผู้ปกครองและนักเรียนทราบ
ระยะที่ 3 ปฏิบัติตามแผนกิจกรรมที่ได้วางไว้
ระยะที่ 4 ประเมินความพึงพอใจเพื่อปรับปรุงในกิจกรรมต่อไป
8. ผลการปฏิบัติงาน
จากการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ การทำของเล่นเลียนเสียงจักจั่น พบว่า นักเรียนได้เรียนรู้และมีความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิตผ่านการทำงานกลุ่ม โดยครูใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี นักเรียนได้พัฒนาสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในกระบวนการทำงาน ภายใต้คุณธรรมประจำโรงเรียนที่ร่วมกันกำหนด ได้แก่ ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน บนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และนักเรียนมีความสุขในการเรียน
ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดกิจกรรม ของเล่นเลียนเสียง จักจั่น
ผู้ปกครอง จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 จำแนก จำแนกตามความสัมพันธ์กับนักเรียน ส่วนใหญ่ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นบิดา-มารดา จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 76.70 พี่ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 10.00 และปู่-ย่า จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 13.30
จากการประเมินความพึงพอใจ พบว่า ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อต่อการจัดกิจกรรม ของเล่นเลียนเสียง จักจั่น โรงเรียนชุมชนวัดไทรน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.21,  = 0.82) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีข้อที่ในระดับมากที่สุด 3 ข้อ โดยเรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ข้อที่ 5 คือ นักเรียนมีความสนใจและกระตือรือร้นกับกิจกรรม ( = 4.53,  = 0.68) รองลงมา ได้แก่ ข้อที่ 4 คือ ผลงานหรือชิ้นงานช่วยส่งเสริมความรู้ และทักษะการทำงานของนักเรียน ( = 4.40,  = 0.67) และข้อที่ 3 คือ ได้ร่วมชื่นชมกับผลงานหรือชิ้นงานของนักเรียน ( = 4.20,  = 0.76) ตามลำดับ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด และ ข้อที่ 2 คือ มีส่วนร่วมในการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้แก่นักเรียน( = 3.90,  = 1.12)
9. ปัจจัยที่ทำให้วิธีการประสบผลสำเร็จ
- ด้านการบริหารจัดการ ผู้บริหารส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
- ด้านการจัดการเรียนการสอน คณะครูมีความสามัคคี นำการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง
- ด้านสื่อ และเทคโนโลยี จัดหาสื่อได้สอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็ก
- ด้านการประสานชุมชน ได้รับความร่วมมือในการจัดประสบการณ์ส่งเสริมการเรียนรู้เช่น เป็นการเผยแพร่ผลงาน การสัมภาษณ์ผู้ปกครอง
10. บทเรียนที่ได้รับ
ผู้เรียนได้รับการพัฒนาความรู้ สมรรถนะที่สำคัญ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตลอดจนการใช้
กระบวนการทางเทคโนโลยีการทำงานส่งผลให้มีทักษะพื้นฐานที่สำคัญในศตวรรษที่ 21