ชื่อรางวัล/ผลงาน บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย
หน่วยงานที่ให้รางวัล กระทรวงศึกษาธิการ
ปี พ.ศ.ที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2557
.............................................................................................
1.สภาพปัญหา แนวคิด หรือแรงจูงใจในการดำเนินการ
การจัดการศึกษาต้องมุ่งพัฒนาคุณภาพของคน ซึ่งการสร้างคุณภาพของคน ต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฐมวัย เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาการเรียนรู้สูง โดยการแสวงหาประสบการณ์ ที่แปลกใหม่รอบตัวด้วยความอยากรู้อยากเห็น เด็กปฐมวัยเป็นช่วงวัยที่เหมาะกับการปูพื้นฐาน โดยการปลูกฝังคุณลักษณะต่าง ๆ เตรียมความพร้อมและพัฒนาการทุกด้านตามขีดความสามารถ ของเด็ก การส่งเสริมให้เด็กได้รับรู้สิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ต่าง ๆ เป็นพื้นฐานที่จะช่วยให้เด็ก สามารถเผชิญปัญหาด้วยความเข้าใจ มองเห็นแนวทางว่าแต่ละปัญหาจะแก้ไขโดยวิถีทางใด เด็กได้ฝึกคิดในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งทำให้เขาสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ประสบการณ์ ที่เด็กได้รับในช่วงนี้เป็นการพัฒนาทักษะพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้และ การดำรงชีวิตในอนาคต อันจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าสืบต่อไป (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี, 2546 : 21) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 มาตรา 22 ได้กำหนดว่า การจัดการศึกษาต้อง ยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคน มีความสามารถ เรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และยึดว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด เน้นการสอนแบบยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ สำหรับการจัดกระบวนการเรียนการสอนเด็กปฐมวัย ใช้หลักการจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยให้เด็กได้เล่น ได้สัมผัส และลงมือกระทำกิจกรรมด้วยตนเองโดยผ่านกิจกรรมที่เปิดกว้างให้เด็ก ได้มีโอกาสทำกิจกรรมตามความสนใจ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ตามศักยภาพและตอบสนองความแตกต่าง ของแต่ละคน (กระทรวงศึกษาธิการ, 2548 : 21) ผลการประเมินของนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ปีการศึกษา 2551 (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน : 67) พบว่า นักเรียนระดับปฐมวัยมี พัฒนาการด้านสติปัญญาระดับดีร้อยละ 59.17 ซึ่งต่ำกว่าพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ และด้านสังคม ที่มีผลประเมินระดับดีร้อยละ 71.67, 93.86 และ 98.00 ตามลำดับ และ ปีการศึกษา 2553 (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2555 : 56) พบว่า นักเรียนระดับปฐมวัย มีพัฒนาการด้านสติปัญญาในระดับดีร้อยละ 65.53 ซึ่งต่ำกว่าพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ และสังคม ที่นักเรียนระดับปฐมวัยมีผลประเมินในระดับดีร้อยละ 75.23, 92.66, 98.97 ตามลำดับ ทำให้มี ความชัดเจนว่าเราต้องพัฒนาความพร้อมด้านสติปัญญาให้กับ เด็กปฐมวัยเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ เด็กอายุ 3-5 ปีเป็นวัย ที่ร่างกายและสมองของเด็กกำลังเจริญเติบโต เด็กต้องการความรัก ความเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด เด็กวัยนี้มีโอกาสเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า เช่น การเรียนรู้จากการสำรวจ เล่น ทดลอง ค้นพบด้วยตนเอง ได้มีโอกาสคิดแก้ปัญหา เลือกตัดสินใจ ใช้ภาษาสื่อความหมาย คิดริเริ่มสร้างสรรค์ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข (กระทรวงศึกษาธิการ, 2546 : ความนำ) รายงานผล การดำเนินงานโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (กขป.) จัดทำความเห็น และข้อเสนอแนะ แนวทางการปฏิรูปการศึกษา อย่างเร่งด่วน ประเด็นหลักที่ 1 กระบวนการ เรียนรู้ใหม่ : พัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศอื่น และเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งปรับหลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียน การสอนและการประเมินผลในรูปแบบใหม่ ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนตลอดชีวิต (สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา, 2555 : 38) ซึ่งพรพิไล เลิศวิชาได้กล่าวว่าปัจจุบันนักวิจัยได้ค้นพบ ช่วงปฐมวัย เป็นเวลาที่พร้อมที่สุดสำหรับการเรียนรู้ กล่าวคือถ้าได้รับประสบการณ์ที่เหมาะสมในระหว่างเวลา ที่ดีเยี่ยม ก็จะสามารถกระตุ้นให้เด็กกระตือรือร้นในการเรียนรู้โดยเฉพาะสามารถพัฒนาศักยภาพได้ดี โดยการจัดสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ให้เหมาะสมและหลากหลาย (สถาบันวิทยาการการเรียนรู้, 2548 : 86) สอดคล้องกับจันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ ที่กล่าวว่า การเรียนรู้ของเด็กเริ่มจาก ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งที่สัมผัสนำมาเก็บไว้เป็นความทรงจำในสมอง หากผู้ดูแลเด็กเข้าใจและต้องการ ให้เด็กเรียนรู้สิ่งใด ก็ต้องให้เด็กได้สัมผัสประสบการณ์นั้นบ่อย ๆ เป็นกระบวนการกระตุ้นให้ เซลล์สมองเกิดการเชื่อมโยงได้มากที่สุด ซึ่งทำให้สมองสามารถเรียนรู้ได้มากขึ้น และเป็นการเรียนรู้ อย่างมีความสุข ดังนั้น หากเด็กได้รับรู้ความรู้สึก จากประสาทสัมผัสในช่วงของ โอกาสทอง ของการเรียนรู้ (windows of opportunity) แล้วเด็กก็จะสามารถพัฒนาการเรียนรู้ ได้เต็มตามศักยภาพ (สถาบันวิทยาการการเรียนรู้, 2548 : 42) การรับรู้ความรู้สึกจากประสาทสัมผัสด้านต่าง ๆ เป็นทักษะที่เกิดจากประสบการณ์จริง เนื่องจากเด็กสามารถใช้ประสาทสัมผัสต่อวัสดุ รู้จักคุณสมบัติของวัตถุ และปฏิกิริยาโต้ตอบของวัตถุ ในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยตรง การสังเกตที่เด็กได้จากการสัมผัส ชิมรส ดมกลิ่น ฟังเสียง เป็นพื้นฐาน ในการพัฒนาความคิดของเด็ก (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน, 2536 : 90) การที่เด็ก มีโอกาสได้สังเกตและสัมผัสสิ่งต่าง ๆ จะส่งผลให้เกิดการเรียนรู้และรับรู้สิ่งต่าง ๆ โดยใช้ประสาทสัมผัส ทั้ง 5 เป็นขั้นต้นในการฝึกทักษะกระบวนการคิดของเด็กปฐมวัยในการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนจะต้องหาข้อมูลด้วยการลงมือปฏิบัติจริงและไม่ว่าจะเป็นการทำวิจัยในห้องปฏิบัติการทดลอง สำหรับนักเรียนระดับเด็กเล็กก่อนวัยเรียน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นวิธีการหนึ่งของการคิด และการได้มาซึ่งความรู้ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนที่สัมพันธ์กัน ได้แก่ การสังเกต การค้นพบปัญหา หรือข้อสงสัย การหาคำตอบ และการบอกผลให้ผู้อื่นทราบ (ฮาร์แลน, จีนดี, ริฟคิน และแมรีเอส, 2546 : 29) การพัฒนาเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์มีส่วนช่วยพัฒนาศักยภาพ ให้เกิดความมั่นใจในตนเอง และมีความสำคัญต่อเด็กปฐมวัย เป็นการช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยคือช่วยฝึกให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต ช่างสงสัย มีเหตุผล มีความอดทน รายงานผลการดำเนินงานโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย และความคิดริเริ่ม การทำกิจกรรมเด็กจะต้องค้นคว้าอย่างมีระบบ การที่เด็กได้ทำบ่อยครั้ง จะทำให้ เด็กเกิดทักษะอันนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ดีในชีวิตประจำวันได้ (อรุณศรีจันทร์ทรง, 2548 : 7) กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นกระบวนการคิด เป็นกระบวนการทางปัญญา เป็นกระบวนการ ที่ใช้แก้ปัญหา ถ้าครูนำความรู้และวิธีทางวิทยาศาสตร์มาจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับระดับ ความสามารถ สติปัญญา และธรรมชาติของเด็กปฐมวัยแล้ว ก็จะเป็นการพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ ให้เด็กปฐมวัยได้เด็กเป็นนักค้นคว้าเพื่อการเรียนรู้โดยธรรมชาติการหยิบจับ สัมผัส และการสังเกต เป็นวิธีการเรียนวิทยาศาสตร์ พฤติกรรมการเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กคล้ายกับการเรียน ทางคณิตศาสตร์ซึ่งต้องฝึกคิดอย่างมีเหตุผล เช่น การเปรียบเทียบ การจำแนก การหาความสัมพันธ์ ของวัตถุ การเรียนวิทยาศาสตร์จะเน้นการเรียนวิทยาศาสตร์และธรรมชาติรอบตัว ได้แก่ เรื่องพืช สัตว์เวลา ฤดูกาล น้ำ และอากาศ (กุลยา ตันติผลาชีวะ, 2547 : 170)
จากปัญหาและความสำคัญจำเป็นดังกล่าว โรงเรียนวัดปราโมทย์ (พิศสะอาดราษฎร์อำรุง) เป็นหน่วยงาน ในการจัดการศึกษาปฐมวัยที่ให้บริการจัดการศึกษาสำหรับเด็กกลุ่มอายุ 4-5 ปี ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยการพัฒนาเด็กปฐมวัยแบบองค์รวมให้ครอบคลุมพัฒนาการเด็ก ทุกด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา จึงได้ ดำเนินการโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์
2. วิธีดำเนินการ
วิธีดำเนินการของโรงเรียนวัดปราโมทย์ (พิศสะอาดราษฎร์อำรุง) ในการดำเนินการโครงการ บ้านวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย โดยใช้หลักการทำงานตามวงจรเดมิ่ง (The Deming Cycle) ดังนี้
2.1 ประชุมวางแผนเพื่อทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน
2.2. การปฏิบัติ ในการปฏิบัติงานตามโครงการ โรงเรียนได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
1) ประชุมครูเพื่อมอบหมายงาน
2) พัฒนาบุคลากร โดยจัดส่งครูและผู้ปกครองเข้ารับการพัฒนาเพื่อเตรียมเครื่องมือและ
ความพร้อมในการสอนแบบใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ จากวิทยากร
3) ครูปฐมวัยดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามคู่มือครู และสื่อการเรียนรู้
ใน"กล่องนักวิทยาศาสตร์น้อย" ในกล่องจะประกอบไปด้วยใบกิจกรรมการทดลองมีทั้งหมด 60 กิจกรรม การทดลอง โดยมี 6 หมวดประกอบด้วยน้ำ อากาศ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไฟฟ้า แสง สี และการมองเห็น และคณิตศาสตร์ นอกจากนี้ยังมี โดยจะมีเทคนิคการสอนทฤษฏีและหลักการทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ อย่างง่าย พร้อมสมุดบันทึก บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เพื่อบันทึกกิจกรรมต่างๆ ที่นักเรียนปฐมวัยทำในโรงเรียน
4) ครูร่วมกับนักเรียนจัดทำรายงานผลการปฏิบัติกิจกรรม
5) ในระดับครอบครัว จะมีการให้ความรู้ความเข้าใจ แก่ผู้ปกครองให้มีบทบาท
การปลูกฝังนิสัยรักวิทยาศาสตร์ให้แก่ลูกผ่านนิทานและการทดลองอย่างง่ายจากหนังสือ
บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
2.3 การตรวจสอบประเมินผล โรงเรียนได้ดำเนินการประเมินผลการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรม และโดยภาพรวม พบว่านักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมอย่างครบถ้วน และบันทึกผลการปฏิบัติกิจกรรมทุกครั้ง จึงจัดทำรายงานต้อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม เพื่อรองรับการตรวจสอบและประเมินผล ซึ่งคณะกรรมการได้ประเมินผลและให้การรับรอง จนทำให้โรงเรียนได้รับตราพระราชทาน บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
2.4 การปรับปรุงแก้ไข ในการดำเนินงานที่แม้จะประสบความสำเร็จ แต่ก็ยังพบว่ามีปัญหาที่โรงเรียนต้องดำเนินการแก้ไขดังนี้
1) จากการสอบถามผู้ปกครอง พบว่าผู้ปกครองส่วนหนึ่งยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
การทดลองอย่างง่าย โรงเรียนจึงกำหนดที่จะพัฒนาผู้ปกครองในการสอนการทดลองอย่างง่ายให้ผู้ปกครอง ไปดำเนินการที่บ้าน โดยจะต้องพัฒนาในช่วงวันหยุดเพราะผู้ปกครองส่วนหนึ่งต้องประกอบอาชีพทำสวน และรับจ้าง ทำให้ไม่สามารถรับการพัฒนาในช่วงวันปกติได้
2) ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความต้องการให้นักเรียนปฐมวัยเรียนอ่านเขียนในระดับปฐมวัย
โรงเรียนจึงต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้ปกครองให้เข้าใจถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อม ให้เด็กก่อน
3. ผลที่เกิดจากการดำเนินงาน
จากการที่โรงเรียนวัดปราโมทย์ (พิศสะอาดราษฎร์อำรุง) ได้พัฒนาและดำเนินตามโครงการ บ้านวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย เกิดผลดังนี้
3.1 ผลที่เกิดกับนักเรียน
1) นักเรียนมีเจตคติที่ดีในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีทักษะ ในการสังเกต และสามารถคิดได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล
2) นักเรียนนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันในอนาคตได้ประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น
3.2 ผลที่เกิดกับครูและบุคลากร
1) ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจ
2) ครูและบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจ และเทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย
3.3 ผลที่เกิดกับโรงเรียน
1) เป็นโรงเรียนต้นแบบในการจัดกิจกรรมบ้านวิทยาศาสตร์น้อย
1) โรงเรียนได้รับตราพระราชทาน โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย
จัดการ และดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
3.4 ผลที่เกิดกับชุมชน
1) ชุมชนให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของโรงเรียนในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
2) ผู้ปกครอง ชุมชน ท้องถิ่น มีความศรัทธา เชื่อมั่นในการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพในระดับปฐมวัย อันจะส่งผลดีในระดับประถมศึกษาต่อไป
3.5 ผลที่เกิดกับสังคมและประเทศชาติ
1) นักเรียน ครูและบุคลากรและประชาชนได้นำโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
2) ประสบการณ์จากโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยนี้จะเป็นเครื่องยืนยันถึงความเป็นนักวิทยาศาสตร์น้อย ที่จะนำพาประเทศไปสู่ความก้าวไกลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3) เป็นสถานที่มาศึกษาดูงานของโรงเรียนอื่น ๆ
4. แนวคิดในการพัฒนาต่อไป
4.1 ดำรงรักษาสภาพการเป็นโรงเรียนบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย และต่อยอดต่อไป
4.2 จัดประชุมสัมมนาเปิดโอกาสให้บุคลากรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการพัฒนาการจัดกิจกรรมในด้านวิทยาศาสตร์ให้เกิดขึ้นในทุกระดับชั้น
4.3 พัฒนาบุคลากรให้สามารถนำนวัตกรรม เทคโนโลยีที่หลากหลายและทันสมัยที่เกี่ยวข้องกับ โรงเรียนบ้านวิทยาศาสตร์น้อย มาใช้ในการพัฒนาอย่างเต็มที่และอย่างต่อเนื่อง
4.4 ขยายผลการดำเนินงานไปสู่ชุมชนและโรงเรียนอื่น ๆ โดยการร่วมมือกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา