ชื่อรางวัล/ผลงาน โรงเรียนดีศรีตำบล 2556
หน่วยงานที่ให้รางวัล กระทรวงศึกษาธิการ
ปี พ.ศ.ที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2556
.............................................................................................
1.สภาพปัญหา แนวคิด หรือแรงจูงใจในการดำเนินการ
สถานการณ์และสภาพปัญหาของชาติ ในปัจจุบันเป็นที่ประจักษ์โดยทั่วกันแล้วว่าการที่ประเทศมุ่ง
พัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและการเงินเพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินและการคลังของประเทศอย่างมากส่งผลให้เกิดการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและความเจริญทางด้านวัตถุอย่างเห็นได้ชัด ทิศทางของ การพัฒนานั้นก็มิได้เป็นไปอย่างยั่งยืนและครอบคลุมทั้งด้านคนและวัตถุ เพราะการพัฒนาประเทศ โดยมุ่งความเจริญทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เน้นเรื่องวัตถุอุปกรณ์อย่างรวดเร็ว โดยขาดความสมดุลกับการพัฒนาทางด้านจิตใจของคนให้มีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่ดี ได้ก่อให้เกิดปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนในประเทศจำนวนมาก ผลของการพัฒนา เหล่านี้ จึงเป็นที่มา ของปัญหาสังคมปัจจุบันที่จะทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นอนาคต ของประเทศชาติกำลังประสบปัญหาสังคมหลายด้านที่รุมล้อมคุกคามเด็กเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ทำให้หลงผิดและมีพฤติกรรมที่เบี่ยงเบน ขาดระเบียบวินัยฯ ละทิ้งค่านิยมความเป็น ไทย และขาดคุณธรรม เป็นปัญหาสังคมที่ควรแก้ไขเป็นการเร่งด่วน
จากสภาพสังคมในปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและหลากหลายอันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสารต่างๆ แพร่หลายอย่างรวดเร็วทำให้แนวคิด วิถีชีวิต ค่านิยมของบุคคลในสังคมเกิดความเปลี่ยนแปลง เบี่ยงเบนไปจากหลัก ศีลธรรม จริยธรรมที่ดีงาม ตามหลักธรรมของพุทธศาสนา กลับชื่นชมวัฒนธรรมตะวันตก ที่เน้นการ บริโภควัตถุต่างๆ จนเกิดความสับสน ระบบสังคมที่เคยดีงามของไทยได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้ อันสืบเนื่องมาจากการให้ความสำคัญ ในด้านเศรษฐกิจซึ่งเป็นการพัฒนาทางด้านวัตถุมากกว่า พัฒนาสังคมในด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะการพัฒนาทางด้านจิตใจจึงทำให้เกิดปัญหาความย่อหย่อนของคุณธรรมจริยธรรม มีการประพฤติปฏิบัติที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม ยังส่งผล ไปยังปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย อาทิ เกิดปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ปัญหายาเสพติด และปัญหาหย่าร้าง ปัญหา นักเรียนตีกัน ปัญหาการรักร่วมเพศ การหลงมัวเมาในอบายมุข การปล่อยตัวปล่อยใจ ขาดระเบียบวินัย ไร้ทิศทางของชีวิต ฟุ่มเฟือย และอื่น ๆ อีกมากมาย หากปล่อยไว้จะเป็น ผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศด้วย
ผลจากการพัฒนาประเทศในระยะผ่านมาโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจทำให้เกิดการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจในอัตราสูง มีความก้าวหน้าทางวัตถุและเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างรวดเร็ว ประกอบกับอิทธิพล จากวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามามีบทบาทในสังคมไทย ทำให้เกิดปัญหาสังคมที่สลับซับซ้อน ระบบสังคมที่เคย
ดีงามของไทยได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจเป็น การพัฒนา ทางด้านวัตถุมากกว่าพัฒนาสังคมในด้านอื่นๆ โดยเฉพาะการพัฒนาทางด้านจิตใจ จึงทำให้เกิดปัญหา ความย่อหย่อนของคุณธรรม จริยธรรม มีการประพฤติปฏิบัติที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม การขาดคุณธรรมจริยธรรม ทำให้เกิดปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ปัญหายาเสพติด และปัญหาอื่น ๆ อีกมากมาย หากปล่อยไว้จะเป็นผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศด้วย
การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของคนไทยในสังคมให้เป็นคนดี จึงเป็น เรื่องที่จำเป็น เพราะ คนในสังคมต่างเรียกร้องในเรื่องคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมไทยแม้เป็น เรื่องที่มีความยากเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นกระบวนการที่มีความสลับซับซ้อน และมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มากมาย ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้พิจารณาถึงความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการ ในเรื่องการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งเป็นเครื่องมือในการกำหนดความสงบสุขของสังคมไทย (ผลงานวิจัย ข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ในเอกสาร – 2486 ที่แนบ) ได้วิเคราะห์แล้ว พบว่า สังคมใดมีผู้เพียบพร้อม ด้วยคุณธรรมจริยธรรม สังคมนั้นจะมีแต่ความสงบสุข ในขณะเดียวกัน หากคนในสังคมใดมีความ บกพร่อง ด้านจิตใจ ขาดคุณธรรมและจริยธรรม แม้สังคมนั้นจะมีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ก็หาความสงบ สุขได้ยาก สรุปภาพรวมของปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นกับคนในชาติทุกกลุ่มเป้าหมาย นับวันจะรุนแรงและทวีคูณมากขึ้น ที่มีผลต่อประเทศและสังคมไทยโดยรวม
ระบบการศึกษาก็เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่ใช้ในการพัฒนามนุษย์ที่มีค่าสูงสุดในโลก ถ้ามนุษย์มีคุณภาพสูง มนุษย์จะเป็นผู้สร้างโลก รักษาโลกและทำให้โลกเจริญมั่นคง ในทางตรงกันข้ามถ้ามนุษย์ไม่ได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพแล้ว มนุษย์จะเป็นผู้ทำลายโลก ทำลายสิ่งแวดล้อม และท้ายที่สุดจะทำลายตนเอง ดังนั้นระบบการศึกษาจึงเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการจัด เนื้อหาสาระ และกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในทำนองเดียวกันการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ.2552-2561) ได้มีการกำหนดหลักการการพัฒนาการศึกษาไว้ทั้งด้านคุณภาพ โอกาส และการมีส่วนร่วม โดยกำหนดกรอบและสาระสำคัญของการศึกษา และการเรียนรู้ที่ต้องการปฏิรูปอย่างเร่งด่วน 4 ประการหลัก คือ 1) พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ให้เป็นกำลังที่มีคุณภาพ มีทักษะความรู้พื้นฐานที่จำเป็น มีสมรรถนะ ความรู้ ความสามารถ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ที่เป็นผู้เอื้ออำนวยการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เป็นวิชาชีพที่มีคุณค่า มีระบบ กระบวนการผลิต และพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง 3) พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ โดยพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาทุกระดับ และทุกประเภท สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ และ 4) พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ มุ่งเน้นการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน มีความโปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2553, หน้า 2) ในการนี้รัฐบาลได้จัดให้มีโครงการโรงเรียนประจำตำบลขึ้น เพื่อให้เป็นสถานศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับเด็กในชนบทท้องถิ่นและเป็นที่ยอมรับของชุมชนและท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ให้โรงเรียนในชนบทระดับตำบล เป็น “โรงเรียนคุณภาพ” มีความพร้อมและความเข้มแข็งทั้งด้านวิชาการ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การพัฒนาสุขภาพอนามัย การเรียนรู้อาชีพ และกิจกรรมบริการชุมชนอย่างมีคุณภาพ โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมและเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ มีความเชื่อมั่น ศรัทธาและส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนดังกล่าว นำไปสู่การลดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง การสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน โดยโรงเรียนและชุมชนสามารถ จัดกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ เพื่อบริการและเชื่อมความสัมพันธ์กับชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ นำไปสู่ภาพความสำเร็จของโรงเรียนดีประจำตำบลที่ว่า “โรงเรียนน่าอยู่ ครูดี นักเรียนมีคุณภาพ ชุมชนร่วมใจ ใช้ประโยชน์ร่วมกัน”
การสร้างคุณธรรม จริยธรรมในสถานศึกษามีสถานศึกษาเป็นจำนวนมากที่ได้ละเลย หรือขาดความเข้มแข็งในการที่จะรักษาหรือส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของบุคลากร ทั้งที่เป็นผู้สอนและผู้เรียน ทั้งนี้เพราะมีการมุ่งเน้นการผลิตคนให้มีความรู้เป็นปริญญาชนมากกว่าปัญญาชน หรือบางแห่งผลิตคนแต่เป็นคนที่ไม่มีความรู้ ความสามารถเพียงพอ มีแต่วุฒิการศึกษาเป็นเครื่องประดับเท่านั้น หรือผลิตคนที่มีความรู้แต่ขาดคุณธรรมและจริยธรรม หรือมีทัศนคติและค่านิยมที่ผิด ๆ จนทำให้คนในสังคมวัดคุณค่ากันที่ผลประโยชน์ การมุ่งหาสิ่งตอบสนองความต้องการของตนเองอย่างขาดคุณธรรมประจำใจ มีความฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย การเอาเปรียบซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ยังได้ให้ความเห็นว่าการแก้ไขหรือสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา ครูอาจารย์มีส่วนสำคัญในการนำและการสร้างคุณธรรมจริยธรรม เพราะเป็นเรื่องภายในจิตใจที่สะท้อนออกมาเป็นพฤติกรรมภายนอก ครูจึงควรเป็นแบบอย่างที่ดี ครูจะต้องสร้างจิตใจที่มีความเมตตากรุณาต่อนักเรียน การสอนทุกครั้งจะต้องสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมและทักษะชีวิต ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาของนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ ครูต้องหมั่นหาบทความรายงานการวิจัยงานเขียนเรื่องราว หรืออาจสร้างบทความที่ดีที่สร้างคุณธรรมจริยธรรมให้แก่สังคม และนำมาเผยแพร่ให้กับนักเรียนในห้องเรียน หรือติดบอร์ดเพื่อให้มีการอ่านอย่างทั่วถึงอยู่เสมอ ครูต้องการรณรงค์ ส่งเสริมยกย่อง ประกาศให้รางวัลแก่ผู้เรียนหรือคนในสังคมที่ทำความดี ความงาม มีคุณธรรมจริยธรรมเป็นที่ยกย่องและเป็นแบบอย่าง ขณะเดียวกันนักเรียนที่ขาดคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม ครูจะต้องให้อภัยและให้โอกาสสนับสนุนให้นักเรียนคนนั้นกลับตัวกลับใจเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเสียใหม่อย่างอดทนอดกลั้นและทุ่มเท (เพ็ชรี รูปะวิเชตร์,2547)
จากเหตุผลดังกล่าวโรงเรียนวัดปราโมทย์ (พิศสะอาดราษฎร์อำรุง) ได้ให้ให้ความสำคัญ ของการปลูกฝังสร้างสรรค์คุณธรรม จริยธรรม ให้กับนักเรียนทุกคน ด้วยเชื่อว่า สภาพวิกฤตปัญหาต่าง ๆ ในสังคมปัจจุบันมีสาเหตุมาจากคนใน สังคมขาดศีลธรรม ขาดคุณธรรม จริยธรรม ในการอยู่ร่วมกัน เป็นสำคัญ และเห็นว่าสถาบันครอบครัวและสถาบันการศึกษา ต้องมีส่วนรับผิดชอบเป็นพื้นฐานโดยตรง จึงได้มุ่งมั่นตั้งใจในการดำเนินการปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรมให้กับนักเรียนโดยผ่านกระบวนการและกิจกรรมที่หลากหลาย ด้วยความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย เด็กนักเรียนของวัดปราโมทย์ (พิศสะอาดราษฎร์อำรุง) ทุกคนจะต้องได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
2. วิธีดำเนินการ
วิธีดำเนินการของโรงเรียนวัดปราโมทย์ (พิศสะอาดราษฎร์อำรุง) ในการดำเนินการ โรงเรียนดีประตำบล โดยใช้หลักการทำงานตามวงจรเดมิ่ง (The Deming Cycle) ดังนี้
2.1 P (Plan) ขั้นวางแผน
2.1.1 ร่วมกันวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของผู้เรียน ครู โรงเรียน ชุมชนผู้ปกครอง ตลอดผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ศึกษา ค้นคว้าหาวิธีการแก้ปัญหาและพัฒนา
2.1.2 จัดประชุมครู เพื่อสร้างความตระหนักและเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 หลักสูตรสถานศึกษา และตามจุดเน้น ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายทั้งผู้เรียน ครู ผู้ปกครอง โรงเรียนและชุมชน
2.1.3 วางแผนการดำเนินงานตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทุกฝ่าย โดยการนำทฤษฎีการพัฒนานิสัย ผ่านห้าห้องชีวิต เริ่มจาก 10 กิจวัตรความดี มาสอนทั้งในและนอกห้องเรียน เริ่มจากกำหนดกิจกรรมในแต่ละห้องของที่บ้านและโรงเรียน โดยสอนสอดแทรก ในชั่วโมงเรียน จัดสอนชั่วโมงซ่อมเสริม จัดครูเข้าสอน เชิญวิทยากรจากสถานีตำรวจภูธรบางคนที เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านปราโมทย์ องค์การบริหารส่วนตำบลบางสะแก พระภิกษุ จากวัดปราโมทย์เตรียมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จัดทำเอกสารประกอบการจัดกิจกรรม ซักซ้อม ทำความเข้าใจชี้แจงเป้าหมายของกิจกรรม เด็กดี...อยู่ที่ไหนก็ทำความดี สู่ชุมชนและให้ครูผู้สอนทราบ
2.2 D (Do) ขั้นดำเนินการ
2.2.1 ครูผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณหนูนิสัยดี
2.2.2 ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามเอกสารประกอบการจัดกิจกรรม ดังนี้
การปฏิบัติกิจกรรม แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 การเริ่มต้นกิจกรรม
1) ครูผู้สอนกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียนรู้ เช่นจากประสบการณ์ของผู้เรียน จากเรื่องที่เรียนรู้ในโรงเรียนและที่บ้านหรือจากแหล่งเรียนรู้ที่นักเรียนสนใจ จากเอกสารหรือสื่อต่าง ๆ
2) ครูผู้สอนในแต่ละห้องเลือกและกำหนดนักเรียนดีศรีตำบล บ้านดี ศรีตำบล เพื่อเป็น
ต้นแบบในการดำเนินกิจกรรม
3) ครูผู้สอน ให้ความรู้และฝึกกิจกรรมพัฒนานิสัยผ่านห้าห้องชีวิตที่ต้องปฏิบัติทั้งที่บ้านและโรงเรียน โดยบุคคลสามารถปรับเปลี่ยน พัฒนานิสัยได้ หากทำซ้ำๆ ต่อเนื่องในชีวิตประจำวัน โดยอาศัยแม่บท การพัฒนานิสัย (อริยมรรคองค์ 8) ผ่าน ห้าห้องชีวิต อันได้แก่ ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องอาหาร ห้องแต่งตัว ห้องทำงาน เพื่อนำไปสู่ กิจกรรม เด็กดี...อยู่ที่ไหนก็ทำความดี
ระยะที่ 2 การพัฒนาโครงงาน
1) ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนกำหนดประเด็นปัญหาในหัวข้อกิจกรรมที่แต่ละกลุ่มเลือก
ที่แต่ละกลุ่มเลือก เช่น การเลือกเป็นตัวแทนสาธิตและฝึกปฏิบัติกิจกรรมห้องอาหารตลอดสัปดาห์ รายงานผลการปฏิบัติ กลุ่มอื่นๆก็เลือกฝึกและปฏิบัติห้องนอน ห้องน้ำ ห้องทำงาน ห้องแต่งตัว (ในโรงเรียนจะเป็นห้องเรียน ห้องสมุด ห้องอาหาร ห้องน้ำ หน้าเสาธง)
2) ครูผู้สอน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติเบื้องต้นมาตอบคำถามที่เป็นประเด็นปัญหาโดยผู้เรียนทดสอบด้วยการลงมือปฏิบัติ จนค้นพบคำตอบของประเด็นปัญหาแสดงว่าเป็นไป ตามจุดประสงค์ที่ตั้งขึ้น แล้วให้ผู้เรียนสรุปองค์ความรู้ที่ค้นพบจากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง เช่นห้องนอน (ห้องพัฒนานิสัยรักบุญ กลัวบาป ปลูกฝังให้มี สัมมาทิฐิ 10 ประการ ) กิจวัตรที่ต้องทำ คือ ก่อนนอนต้องสวดมนต์ กราบพระ สมาทานศีล 5 และนั่งสมาธิ 5-15 นาที หลังจากตื่นนอนเก็บที่นอน สวดมนต์ กราบพระ สมาทานศีล 5 และนั่งสมาธิ หมั่นดูแลรักษาความสะอาด ไม่นำสัตว์เลี้ยงไปเลี้ยงในห้องนอน ตกแต่งห้องให้สวยงามพอเหมาะ มีอากาศถ่ายเทได้ดี ฯลฯ โดยสอดแทรก เทคนิค 6 P (P-Positive Thinking การมีทัศนคติ ที่เป็นบวก P-Peaceful Mind การมีจิตใจที่สงบ P-Patient การมีความอดทน P-Punctual )
3) เชิญวิทยาการจากสถานีตำรวจภูธรบางคนที ครู Dare มาให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน จากยาเสพติด ฝึกความเป็นระเบียบ และมีวินัย มาร่วมให้ความรู้ทุกสัปดาห์ ซึ่งเป็นโครงการที่ดีที่จัด เพื่อเฝ้าระวังลูกหลานเยาวชน ให้ห่างไกลยาเสพติด
4) เชิญวิทยากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนบ้านปราโมทย์ ให้ความรู้และเฝ้าระวังโรคต่าง ๆ เช่นยาเสพติด ไข้เลือดออก การเฝ้าระวังการมีเพศสัมพันธ์ ( ฝึกให้นักเรียนมีความอด P-Patient ) รอเวลา อันสมควร
5) จัดอบรมคุณธรรม จริยธรรม สุดสัปดาห์ ในทุกเช้าวันศุกร์ ในชั่วโมงแรกตอนเช้า (การมีจิตใจ ที่สงบ P-Patient การมีความอดทน P-Punctual การเป็นคนตรงต่อเวลา P-Polite การเป็นคนสุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน ) และฐานฝึกในแต่ละสัปดาห์ เพื่อฝึกและปฏิบัติกิจกรรมต่างๆให้เกิดเป็นนิสัยที่ดี โดยแบ่งเป็นฐานสำคัญ 5 ฐาน ให้นักเรียนทุกคนได้ฝึกจริงจนกลายเป็นคนมืออาชีพ ( P-Professional)
5.1 ฐานห้องนอน
5.2 ฐานห้องน้ำ
5.3 ฐานห้องแต่งตัว
5.4 ฐานห้องอาหาร
5.5 ฐานห้องทำงาน
ระยะที่ 3 ขั้นรวบรวมสรุป
เป็นขั้นสุดท้ายของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกิจกรรม 5 ห้องชีวิต กับการพัฒนานิสัย
1) เมื่อแต่ละกลุ่มผู้เรียนค้นพบคำตอบของปัญหาแล้ว ครูผู้สอนต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ให้ผู้เรียนได้นำความรู้ที่ได้ฝึกจริงทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน ครูผู้สอนประเมินผล และบอกจุดเด่น ข้อบกพร่องจุดวิธีการแก้ไขและพัฒนาต่อยอด ในการจัดกิจกรรมต่อไป
2) ครูผู้สอน (มรรคมีองค์ 8) เป็นที่ปรึกษาและกระตุ้นให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติ จนเกิดเป็นนิสัย
3) กำหนดวันจัดกิจกรรมการเข้าค่ายประจำปีการศึกษา ประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
4) ผู้เรียนที่ถูกคัดสรรเป็นนักเรียนดีศรีตำบลของแต่ละห้อง และ บ้านดีศรีตำบล นำมาจัดนิทรรศการเผยแพร่ เปิดโอกาสให้ผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
5) คณะกรรมการประเมินกิจกรรมซึ่งแต่ละชุดประกอบด้วย ตัวแทนครู ตัวแทนนักเรียน ตัวแทนผู้ปกครองประเมินกิจกรรมที่ผู้เรียนได้คัดสรรแล้วและคัดเลือกที่เป็นเลิศที่สุดแห่งปี
6) ครูผู้สอนส่งเสริมผู้เรียนที่มีความสามารถเข้าร่วมประกวดมารยาท และเด็กดีศรีตำบล
3.3 C (Check) ขั้นตรวจสอบ
3.1.1 ครูผู้สอนประเมินผลการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยน
เรียนรู้ของทุกฝ่าย โดยการสอนและฝึกกิจกรรมพัฒนานิสัยผ่านห้าห้องชีวิตทั้งในและนอกห้องเรียนไปใช้ และรายงานต่อผู้บริหารสถานศึกษา
3.1.2 สอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครอง ชุมชนและผู้มาร่วมในงานต่อการจัดการศึกษา
และฝึกกิจกรรมพัฒนานิสัยผ่านห้าห้องชีวิต อันนำไปสู่ เด็กดี...อยู่ที่ไหนก็ทำดี ของโรงเรียน
3.1.3 สอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการเรียนรู้ด้วย ห้าห้องชีวิตกับการพัฒนานิสัย
3.1.4 ประเมินผลความสำเร็จที่เกิดจากการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการมีส่วนร่วม
ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทุกฝ่าย โดยการจัดการเรียนกานสอน ห้าห้องชีวิตกับการพัฒนานิสัยทั้ง
ในและนอกห้องเรียน
3.1.5 ประเมินความพึงพอใจของผู้บริหารโรงเรียนจากโรงเรียนต่างๆ,ตัวแทนจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หน่วยงานราชการ องค์กรต่างๆ ตลอดจนผู้สนใจที่มาร่วมกิจกรรมเข้าค่ายอบรมพุทธบุตร
คุณธรรมนำชีวิตประจำปีการศึกษา
3.2 A (Action) ขั้นปรับปรุงและพัฒนา
3.2.1 นำผลการประเมินมาประมวลผล สรุปผล ปรับปรุงและพัฒนาผลงาน ใช้การมีส่วนร่วม ในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ผลการประเมิน และการวางแนวทางพัฒนาร่วมกันเพื่อมุ่งไปสู้เป้าหมายที่ดี ตามหลัก SMARTER (S–specific ชัดเจน เจาะจง M- measurable วัดได้ ประเมินผลได้ A- acceptable ผู้ปฏิบัติ ยอมรับและเต็มใจทำ R- realistic อยู่บนพื้นฐานความจริง ไม่เพ้อฝัน T- time frame มีกรอบระยะเวลา E – extending เป็นเป้าหมายที่ท้าทายความสามารถ R – Rewarding คุ้มกับ การปฏิบัติ ) จนสมบูรณ์รายงานต่อผู้บริหารโรงเรียน
ขั้นตอนของการจัดทำผลงาน ห้าห้องชีวิต กับการพัฒนานิสัย "เด็กดี....อยู่ที่ไหนก็ทำดี"
1. วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ
2. ศึกษารวบรวมข้อมูลในด้านการบริหารจัดการเรียนรู้
3. วิเคราะห์ด้านผู้เรียน
4. จัดกิจกรรมการเรียนรู้
5. ผ่านเกณฑ์เป้าหมายหรือไม่
- ไม่ผ่าน.............ปรับปรุงแก้ไข
- ผ่าน...................พัฒนา
6. คิดค้นผลงานห้าห้องชีวิตกับการพัฒนานิสัย "เด็กดี.....อยู่ที่ไหนก็ทำดี"
7. ใช้รูปแบบจัดการเรียนรู้ที่เน้นการมีส่วนร่วม โดยการใช้ห้าห้องชีวิตพัฒนานิสัย
8. ประเมินและประมวลผลการนำไปใช้
9. ผ่านเกณฑ์เป้าหมายหรือไม่
- ไม่ผ่าน.......ปรับปรุงแก้ไข
- ผ่าน.............ส่งเสริมพัฒนาต่อยอด
10. รายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารโรงเรียน
3. ผลที่เกิดจากการดำเนินงาน
จากการที่โรงเรียนวัดปราโมทย์ (พิศสะอาดราษฎร์อำรุง) ได้พัฒนาและดำเนินโครงการโรงเรียนดี ศรีตำบล เกิดผลดังนี้
3.1 ผลที่เกิดกับนักเรียน
3.1.1 นักเรียนนำความรู้ ประสบการณ์ที่ได้รับมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนและชีวิตประจำวัน ส่งผลให้นักเรียนได้รับรางวัล ดังนี้
1) เด็กหญิงกัญญานุช ฮวดลิ้ม เด็กชายปรินทร์ บุญประเสริฐ และ เด็กหญิงวนิดา ขมสวัสดิ์ ได้รับรางวัลเกียรติบัตรเหรียญทอง กิจกรรมทำน้ำพริก ผัดสดเครื่องเคียง ระดับชั้น ป.4-6 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคกลางและภาคตะวันออก ครั้งที่ 61 ปีการศึกษา 2554 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2) เด็กหญิงกนกวรรณ แย้มชาลี ได้รับรางวัลเกียรติบัตรเหรียญทอง กิจกรรมท่องอาขยาน ทำนองเสนาะ ระดับชั้น ป.4-6 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคกลาง และภาคตะวันออก ครั้งที่ 61 ปีการศึกษา 2554 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3) เด็กหญิงอาทิตยา อ่วมอรุณ และ เด็กชายศุภชัย ขมสวัสดิ์ ได้รับรางวัลเกียรติบัตรเหรียญทอง กิจกรรมสังคมศึกษาฯ มารยาทไทย ระดับชั้น ป.1-3 การแข่งขันทักษะทางวิชาการ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน เพื่อคัดเลือกตัวแทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม ปีการศึกษา 2555
4) เด็กชายณัฐพล นิลเพชร ได้รับรางวัลเกียรติบัตรเหรียญทอง กิจกรรม ปฐมวัย (สร้างภาพ ฉีก ตัด ปะ) การแข่งขันทักษะทางวิชาการ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน เพื่อคัดเลือกตัวแทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม ปีการศึกษา 2555
5) เด็กหญิงวนิดา ขมสวัสดิ์ ได้รับรางวัลเกียรติบัตรเหรียญทอง กิจกรรมการประกวดโครงงานคุณธรรม ระดับชั้น ป.4-6 การแข่งขันทักษะทางวิชาการ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน เพื่อคัดเลือกตัวแทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม ปีการศึกษา 2556
6) เด็กหญิงสุภานัน ธนบัตร ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง โครงการ Hi-Q ทดสอบความสามารถ ทางวิชาการระดับนานาชาติ ภาคเรียนที่ 2/2556 จากศูนย์บัณฑิตหลักสูตรเร่งรัด เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2557
3.1.2 นักเรียนมีศีลธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมที่ดีงาม
3.1.3 นักเรียนมีวิจารณญาณ รู้จักรับผิดชอบชั่วดี กลั่นกรองวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารอย่างมีเหตุผล และปฏิบัติในทางที่ถูกต้อง
3.2 ผลที่เกิดกับครูและบุคลากร
1) ผู้บริหารเป็นผู้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปสู่ความเป็นโรงเรียนดี ศรีตำบล
2) ผู้บริหาร ครูและบุคลากรเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านคุณธรรม จริยธรรม
3.3 ผลที่เกิดกับโรงเรียน
1) โรงเรียนผ่านการพัฒนาประเมินเพื่อพัฒนาและรับรองต้นแบบโรงเรียนดี ศรีตำบล ในปี 2556
2) โรงเรียนได้รับยกย่อง ชมเชย และสร้างความศรัทธา ความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครอง ชุมชน ท้องถิ่น
3.4 ผลที่เกิดกับชุมชน
1) ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนดี ศรีตำบลอย่างเต็มที่ ทั้งในด้านแนวคิด แรงงาน ทุนทรัพย์ ให้โรงเรียนมีความก้าวหน้า สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงานของหน่วยงานภายนอกให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
3.5 ผลที่เกิดกับสังคมและประเทศชาติ
ยั่งยืน
1) โรงเรียนและแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน เป็นสถานที่มาศึกษา ดูงานของโรงเรียนอื่น ๆ
2) สังคมตามแนวชายแดนมีความสงบสุขด้วยการนำหลัก คุณธรรมนำความรู้และการปฏิบัติ มาใช้
4. แนวคิดในการพัฒนาต่อไป
4.1 ดำรงรักษาสภาพการเป็นโรงเรียนดี ศรีตำบล และพัฒนาต่อยอดต่อไป
4.2 พัฒนาและดำเนินการส่งเสริมการเป็นโรงเรียนดี ศรีตำบลต่อไป
4.3 ขยายผลการดำเนินงานไปสู่ชุมชนและโรงเรียนอื่น ๆ ด้วยการร่วมมือกับภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง