ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค SQ4R ประกอบแบบฝึก
ทักษะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
ผู้วิจัย นางอุไรภรณ์ กองไธสง
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
สถานศึกษา โรงเรียนเลิงแฝกประชาบำรุง อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม
ปีที่พิมพ์ ๒๕๕๙
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ๑)พัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค SQ4R ประกอบแบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๒)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค SQ4R ประกอบแบบฝึกทักษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนและ๓)ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้วยการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค SQ4R ประกอบแบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ กลุ่มตัวอย่างในการทำวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนเลิงแฝกประชาบำรุง อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ จำนวน ๓๖ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่๑)แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน ๑๕ แผนๆละ ๒ ชั่วโมง ๒)แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ จำนวน ๓ ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านจับใจความ เป็นแบบทดสอบปรนัย ๔ ตัวเลือก จำนวน ๓๐ ข้อ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวการสร้างและหาคุณภาพแบบอิงเกณฑ์และ๔)แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค SQ4R ประกอบแบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยมีดังนี้
๑. แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค SQ4R ประกอบแบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ ๘๔.๗๒/๘๓.๑๕
๒. ผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค SQ4R ประกอบแบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑
๓. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค SQ4R ประกอบแบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ที่พัฒนาขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = ๔.๗๑,S.D. = ๐.๔๘)