ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
เผยแพร่รางวัลสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเ

ชื่อรางวัล/ผลงาน สถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการ

ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปี 2556

หน่วยงานที่ให้รางวัล กระทรวงศึกษาธิการ

ปี พ.ศ.ที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2558

.............................................................................................

1.สภาพปัญหา แนวคิด หรือแรงจูงใจในการดำเนินการ

"เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัส ชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชายไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ (จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา และปรียานุช พิบูลสราวุธ,2552) เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียงหมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมี ผลกระทบใด ๆ อันเกิดจาก การเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรู้ ความรอบคอบ และ ความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อ การรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และ ความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้

1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติคนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และ เป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา

2. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

3. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ พร้อมๆ กันดังนี้

3.1 ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

3.2 ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึง ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

3.3 การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และ การเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

4. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ

4.1 เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

4.2 เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วยความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียรใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

5. แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

หลักสูตรเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการศึกษาที่จะบ่งบอก รายละเอียดเกี่ยวกับเป้าหมาย ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ซึ่งจะเป็นกรอบ ทิศทางและแนวทางในการเตรียมที่จะพัฒนาคน ของประเทศ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งหวังให้ผู้เรียน มีความสมบูรณ์ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา อีกทั้งมีความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับ การดำรงชีวิตและมีคุณภาพได้ตามมาตรฐานสากล (กระทรวงศึกษาธิการ. 2553 ) หลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงกับ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 มีเป้าหมายการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 การจัดการศึกษาตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง คือการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชน รู้จักใช้ชีวิตที่พอเพียงเห็นคุณค่าของทรัพยากรต่าง ๆ ฝึกการอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และแบ่งปัน มีจิตสำนึก รักษ์สิ่งแวดล้อม และเห็นคุณค่าของวัฒนธรรม ค่านิยม เอกลักษณ์ ของความเป็นไทย

การจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กำหนดเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ ในสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ มาตรฐาน ส 3.1 เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ โดยในแต่ละช่วงชั้นกำหนดขอบเขตการบูรณาการหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ไว้ดังนี้

ช่วงชั้นที่ 1 เน้นให้เด็กใช้ชีวิตพอเพียงระดับตัวเองและครอบครัว รู้จักช่วยเหลือตนเองและรู้จักช่วยเหลืองานในครอบครัว แบ่งปันสิ่งของให้เพื่อน ช่วยเหลือเพื่อน รู้จักวิเคราะห์รายรับ-รายจ่ายของตนเอง สอนให้เด็กเห็นคุณค่าของสิ่งของ ตระหนักถึงคุณค่าของเงินทอง จะได้ฝึกนิสัยประหยัด ฝึกจิตสำนึกและนิสัยพอเพียง

ช่วงชั้นที่ 2 ฝึกให้เด็กรู้จักประยุกต์ใช้หลักความพอเพียงในโรงเรียนและมีส่วนร่วม ในการสร้างความพอเพียงระดับโรงเรียนและชุมชนใกล้ตัว โดยเริ่มจากการสำรวจทรัพยากรต่าง ๆ ในโรงเรียนและชุมชน มีส่วนร่วมในการดูแล บำรุงรักษาทรัพยากรต่าง ๆ ทั้งด้านวัตถุ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญา วัฒนธรรมและรวบรวมองค์ความรู้มาเป็นข้อมูลในการเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนและการเห็นคุณค่าของการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง

ช่วงชั้นที่ 3 ประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับชุมชน มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆของชุมชน สามารถสำรวจและวิเคราะห์ความพอเพียงระดับต่าง ๆ และในมิติต่าง ๆ ทั้งทางวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมในชุมชนใกล้ตัว เห็นคุณค่าของการใช้หลักพอเพียง ในการพัฒนาชุมชน และสามารถนำหลักการพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของแต่ละคน จนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่ความพอเพียงได้ในที่สุด

ช่วงชั้นที่ 4 เตรียมคนให้เป็นคนที่ดี สามารถทำประโยชน์ให้กับสังคมและประเทศชาติได้ โดยเน้นเข้าใจความพอเพียงระดับประเทศและการพัฒนาประเทศภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ เช่น การวิเคราะห์สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศหรือการศึกษาสถานการณ์สิ่งแวดล้อม สภาพปัญหาด้านสังคม เป็นต้น

โรงเรียนวัดปราโมทย์ (พิศสะอาดราษฎร์อำรุง) จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษารู้จักความพอเพียง ปลูกฝัง อบรม บ่มเพาะให้นักเรียนมีความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม โดยสอดแทรกแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เพื่อสอนให้นักเรียนรู้จักการใช้ชีวิตได้อย่างสมดุล ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เห็นคุณค่าของทรัพยากรต่างๆ รู้จัก อยู่ร่วมกับผู้อื่น รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และแบ่งปัน มีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม และเห็นคุณค่า ของวัฒนธรรมค่านิยม ความเป็นไทย ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงต่างๆ รู้ว่าตนเองเป็นองค์ประกอบหนึ่งในสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมของโลก การกระทำของตนย่อมมีผลและเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมในโลกที่ตนเองเป็นสมาชิกอยู่ด้วย จึงได้พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนโดยใช้แนวทางพัฒนาของสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรมการเรียนรู้ขึ้นและการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง)

2. วิธีดำเนินการ

วิธีดำเนินการของโรงเรียนวัดปราโมทย์ (พิศสะอาดราษฎร์อำรุง) ในการดำเนินการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้หลักการทำงานตามวงจรเดมิ่ง (The Deming Cycle) การมีส่วนร่วม (Participation) ของครู นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ชุมชน ฯลฯ ซึ่งการดำเนินงานสถานศึกษาแบบอย่างจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) โดยจำแนกเป็น 5 ด้าน ดังนี้

1) ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา มี 4 องค์ประกอบ

องค์ประกอบที่ 1 นโยบาย

1.1 มีนโยบายน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา

และบูรณาการในแผนปฏิบัติงานประจำปี

1.2 ดำเนินการตามนโยบาย และแผนปฏิบัติงานประจำปีที่น้อมนำหลักปรัชญา

ของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา

1.3 ติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายและแผนปฏิบัติการประจำปี ที่น้อมนำ

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา

1.4 นำผลการติดตามมาพัฒนา นโยบาย/แผนงาน/โครงงาน ขับเคลื่อนหลักปรัชญา

ของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา

องค์ประกอบที่ 2 วิชาการ

2.1 มีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

2.2 ดำเนินการตาม แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการ

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้

2.3 ติดตามผล แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้

2.3 นำผลการติดตามไปพัฒนา แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ด้านวิชาการที่ส่งเสริม

การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้

องค์ประกอบที่ 3 งบประมาณ

3.1 มีการวางแผนการบริหารจัดการงบประมาณของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3.2 ดำเนินการตามแผนงบประมาณของสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3.3 ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนงบประมาณของสถานศึกษาตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง

3.4 นำผลการติดตามมาพัฒนาและปรับปรุง การบริหารจัดการงบประมาณ

ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

องค์ประกอบที่ 4 บริหารงานทั่วไป

4.1 บริหารอาคารสถานที่และจัดการแหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4.2 ประสานสัมพันธ์กับชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้าง

คุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของผู้เรียน

2) ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มี 4 องค์ประกอบ ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 หน่วยการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1.1 มีหน่วยการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามมาตรฐานการเรียนรู้

1.2 มีการนิเทศ/ติดตาม/ประเมินผล การนำหน่วยการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจ

พอเพียงไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

1.3 มีการศึกษา/วิเคราะห์/วิจัย เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

องค์ประกอบที่ 2 การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้

2.1 มีแผนจัดการเรียนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มสาระ การเรียนรู้ต่าง ๆ ตามมาตรฐานการเรียนรู้

2.2 คุณภาพของแผนจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ

2.3 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มสาระ การเรียนรู้ต่าง ๆ

2.4 ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญา

ของเศรษฐกิจพอเพียง

องค์ประกอบที่ 3 สื่อและแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3.1 จัดหา/ผลิต/ใช้/เผยแพร่ สื่อการเรียนรู้ เพื่อบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนการสอน

3.2 จัดทำ/พัฒนา/เผยแพร่ แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3.3 ใช้แหล่งเรียนรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน ที่ส่งเสริมการเป็นอยู่อย่างพอเพียงของผู้เรียน

องค์ประกอบที่ 4 การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ

4.1 จัดทำเครื่องมือ และ วัดและประเมินผลที่หลากหลาย และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4.2 ใช้วิธีการวัดผลและประเมินผลที่หลากหลาย และสอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4.3 รายงานผลการประเมิน และนำมาปรับปรุง/พัฒนา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4.4 จัดแสดง/เผยแพร่/ประกวด/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลงานของนักเรียน ที่เกิดจากการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้

3) ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มี 3 องค์ประกอบ ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

1.1 มีกิจกรรมแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน เพื่อสนับสนุนการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1.2 จัดกิจกรรมแนะแนวให้ผู้เรียนได้รู้จักการวางแผนชีวิตของตนเองได้อย่างสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1.3 มีระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้สามารถ แก้ปัญหา/พัฒนาตนเองได้อย่างสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1.4 ติดตามผล การจัดกิจกรรมแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1.5 นำผลการติดตามมาใช้พัฒนาการจัดกิจกรรมแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

องค์ประกอบที่ 2 กิจกรรมนักเรียน

. 2.1 มีแผนงาน/โครงการส่งเสริมกิจกรรมนักเรียนให้อยู่อย่างพอเพียง

2.2 จัดกิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาดหรือผู้บำเพ็ญประโยชน์ สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2.3 ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งชุมนุม/ชมรม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2.4 มีการประยุกต์ใช้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น/วัฒนธรรม/หลักคำสอนทางศาสนา ในการจัดกิจกรรมนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2.5 ติดตามผลการจัดกิจกรรมนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2.6 นำผลการติดตามมาปรับปรุง/พัฒนา กิจกรรมนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

องค์ประกอบที่ 3 กิจกรรมเพื่อสังคมและสาะรณประโยชน์

3.1 มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดจิตอาสา และมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3.2 ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา หรือพัฒนาสถานศึกษา/ชุมชน ด้านเศรษฐกิจหรือสังคมหรือสิ่งแวดล้อมหรือวัฒนธรรม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3.3 ติดตามผลการดำเนินกิจกรรม เพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ของผู้เรียน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3.4 นำผลการติดตามมา ปรับปรุง/พัฒนา การดำเนินกิจกรรม เพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ของผู้เรียน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4. ด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา มี 2 องค์ประกอบ ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การพัฒนาบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1.1 . มีแผนงาน/โครงการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และตระหนักในคุณค่าของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1.2 จัดการประชุม/อบรม/สัมมนา/ศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่

1.3 ส่งเสริมให้บุคลากรแสวงหาความรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อย่างสม่ำเสมอ

1.4 จัดกิจกรรมส่งเสริมการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติภารกิจหน้าที่ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แก่บุคลากรของสถานศึกษา

องค์ประกอบที่ 2 การติดตามและขยายผล

2.1 ติดตามผลการดำเนิน โครงการ/กิจกรรมพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2.2 นำผลการติดตามมาปรับปรุง/พัฒนาการดำเนินโครงการ/กิจกรรมพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2.3 ขยายผลและเผยแพร่ ผลการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ของบุคลากร ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

5. ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ มี 4 องค์ประกอบ ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 สถานศึกษา

1.1 คุณลักษณะของสถานศึกษาพอเพียง

องค์ประกอบที่ 2 ผู้บริหารสถานศึกษา

2.1 คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาพอเพียง

องค์ประกอบที่ 3 บุคลากรของสถานศึกษา

3.1 บุคลากรของสถานศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3.2 บุคลากรจัดการทรัพยากรและดำเนินชีวิตด้านเศรษฐกิจ อย่างสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3.3 บุคลากรอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตนเพื่อส่วนรวมและสาธารณประโยชน์

3.4 บุคลากรรู้จักใช้และจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ต่างๆ

3.5 บุคลากรดำเนินชีวิตอย่างมีฐานรากทางวัฒนธรรม และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม จากกระแสโลกาภิวัตน์

องค์ประกอบที่ 4 ผู้เรียน

4.1 ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามมาตรฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ของแต่ละระดับชั้นปีการศึกษา

4.2 ผู้เรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านวัตถุ/เศรษฐกิจ

4.3 ผู้เรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านสังคม

4.4 ผู้เรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านสิ่งแวดล้อม

4.5 .ผู้เรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านวัฒนธรรม

3. ผลที่เกิดจากการดำเนินงาน

3.1 ผลที่เกิดกับนักเรียน

1) นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามมาตรฐานการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละระดับชั้น

2) นักเรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านวัตถุ/ เศรษฐกิจ มีวินัยในการใช้จ่าย มีการออมทรัพย์ตามศักยภาพ เป็นแบบอย่างในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และมีส่วนร่วมในการดูแลการใช้ประโยชน์จากสาธารณะสมบัติอย่างประหยัดและคุ้มค่า

3) นักเรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านสังคม ดำเนินชีวิตประจำวันโดยไม่เบียดเบียน สร้างความเดือดร้อนให้กับตนเองและผู้อื่น เป็นแบบอย่างในการแบ่งปัน ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้กับบุคคลอื่น ทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคม

4) นักเรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านสิ่งแวดล้อม เป็นแบบอย่างในการมีความรู้ ความเข้าใจ เห็นความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างประหยัดและคุ้มค่า มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชน

5) นักเรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านวัฒนธรรม เป็นแบบอย่างในการเห็นคุณค่าและภูมิใจในวัฒนธรรมไทย ทั้งด้านภาษา การแต่งกาย ประเพณี ศาสนาและประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการสืบทอด สืบสาน รักษาวัฒนธรรมไทยและมรดกของชุมชน สังคมและของชาติ

6) นักเรียนได้รับการยอมรับ การยกย่องชมเชย ได้รับรางวัลจากการประกวดแข่งขันเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ด้านคุณธรรม จริยธรรม

3.2 ผลที่เกิดกับครูและบุคลากร

1) ผู้บริหารได้รับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ “คุรุสดุดี” ประจำปี 2556 ในการให้การสนับสนุนจัดกิจกรรมส่งเสริมให้แก่ศิษย์เกิดการเรียนรู้ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2) ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องในหลักหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติอย่างมีเหตุผล พอประมาณกับศักยภาพของตน และสภาพแวดล้อมรวมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีสามารถรับกับความเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ และเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้คุณธรรมนำความรู้ในการดำเนินชีวิต

3) ครูและบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจความหมายที่ถูกต้องของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4) ครูและบุคลากรเป็นแบบอย่างในการวางแผนและมีวินัยในการใช้จ่าย ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่สุรุ่ยสุร่ายมีการออมทรัพย์ตามศักยภาพ เป็นแบบอย่างในการใช้ทรัพยากร สาธารณะสมบัติอย่างประหยัดและคุ้มค่า

5) ครูและบุคลากรเป็นแบบอย่างในการมีวินัยในตนเอง ดำเนินชีวิตโดยไม่ทำความเดือดร้อนให้กับตนเองและผู้อื่น มีอุปนิสัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่น บริจาคทำบุญอย่างสม่ำเสมอและทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม

6) ครูและบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจ เห็นความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างประหยัดและคุ้มค่า มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชน

7) ครูและบุคลกรเป็นแบบอย่างในการเห็นคุณค่าและภาคภูมิใจในวัฒนธรรมไทย ทั้งด้านภาษา การแต่งกาย ประเพณี ศาสนาและประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของท้องถิ่นและประเทศชาติ มีส่วนร่วมในการสืบทอด รักษาและรณรงค์ให้โรงเรียน ชุมชน สืบทอด สานต่อ รักษาวัฒนธรรมไทยและมรดกของชาติ

3.3 ผลที่เกิดกับโรงเรียน

1) โรงเรียนมีความสะอาด เป็นระเบียบ ร่มรื่น ปลอดภัยเอื้อต่อการเรียนรู้ในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2) โรงเรียนมีวัฒนธรรมองค์กรในด้านการแบ่งปัน สามัคคี ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน

3) โรงเรียนเป็นแกนนำในการอนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น

4) โรงเรียนมีกิจกรรม แหล่งเรียนรู้และสื่อที่นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารจัดการ และดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

5) โรงเรียนได้รับรองให้เป็นสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรมการเรียนรู้ขึ้นและ การบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง)

3.4 ผลที่เกิดกับชุมชน

1) ชุมชน มีความรู้ความเข้าใจในความหมายและหลักการสำคัญของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2) ชุมชนดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

3) ชุมชนให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของโรงเรียนในการขับเคลื่อนปรัชญาของ

เศรษฐกิจพอเพียง

4) ชุมชนได้รับการยกย่องด้านการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

5) ประชาชนในชุมชนร่วมมือกันพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการประกอบอาชีพเพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนและประชาชนในชุมชน

3.5 ผลที่เกิดกับสังคมและประเทศชาติ

1) นักเรียน ครูและบุคลากรและประชาชนได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เกิดผลในเชิงประจักษ์ ได้ร่วมกันแสดงออกถึงความจงรักภักดี ความศรัทธาในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

2) ประสบการณ์จากการดำเนินงานสร้างคุณลักษณะ อยู่อย่างพอเพียง ด้วยการน้อมนำแนวพระราชดำริตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางปฏิบัติ เป็นเครื่องยืนยันถึงคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่ในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่จะสามารถนำพาความอยู่เย็นเป็นสุขมาสู่สังคมไทยได้อย่างยั่งยืน

3) โรงเรียนและแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน เป็นสถานที่มาศึกษาดูงานของโรงเรียนอื่น ๆ

4) สังคมตามแนวชายแดนมีความสงบสุขด้วยการนำหลัก คุณธรรมนำความรู้และการปฏิบัติ มาใช้

4. แนวคิดในการพัฒนาต่อไป

4.1 ดำรงรักษาสภาพการเป็นสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการพัฒนาบุคลากรที่มีอยู่ และที่ย้ายมาปฏิบัติหน้าที่ให้มีความรู้ ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เกิดแนวคิดและการร่วมมือในการคงสภาพและพัฒนาต่อยอดต่อไป

4.2 เสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคีเครือข่าย ความร่วมมือเพื่อการระดมทรัพยากร และแนวคิดในการพัฒนาสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง

4.3 ขยายผลการดำเนินงานไปสู่ชุมชนและสถานศึกษาอื่น ๆ ด้วยการร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบลองค์กรพัฒนาภาคเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน

โพสต์โดย ลี : [18 ก.พ. 2559 เวลา 14:09 น.]
อ่าน [5496] ไอพี : 171.5.247.20
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โพสต์โดย

คุณ -

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 11,736 ครั้ง
นักเรียน ม.2 ประดิษฐ์ หุ่นยนต์ล้างเครื่องปรับอากาศแบบอัตโนมัติ เน้นประหยัดเวลา ประหยัดเงิน
นักเรียน ม.2 ประดิษฐ์ หุ่นยนต์ล้างเครื่องปรับอากาศแบบอัตโนมัติ เน้นประหยัดเวลา ประหยัดเงิน

เปิดอ่าน 23,527 ครั้ง
การฝึกทักษะการพูดและฟังภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิภาพ
การฝึกทักษะการพูดและฟังภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิภาพ

เปิดอ่าน 33,093 ครั้ง
ประโยชน์ของ "ขมิ้นต้น"
ประโยชน์ของ "ขมิ้นต้น"

เปิดอ่าน 10,995 ครั้ง
"เดอะ เกรท ไฟร์วอลล์" กรณีศึกษา "อินเทอร์เน็ต เกตเวย์" จากจีน
"เดอะ เกรท ไฟร์วอลล์" กรณีศึกษา "อินเทอร์เน็ต เกตเวย์" จากจีน

เปิดอ่าน 14,148 ครั้ง
การประยุกต์ใช้ ADSL
การประยุกต์ใช้ ADSL

เปิดอ่าน 36,814 ครั้ง
รับชมย้อนหลัง ระบบลงทะเบียนและติดตามประเมินผลครูผู้เข้ารับการพัฒนา (การเบิกค่าใช้จ่ายในการเข้าอบรม)
รับชมย้อนหลัง ระบบลงทะเบียนและติดตามประเมินผลครูผู้เข้ารับการพัฒนา (การเบิกค่าใช้จ่ายในการเข้าอบรม)

เปิดอ่าน 10,462 ครั้ง
สร้างความรู้ใหม่ คือหัวใจปฏิรูปการศึกษา : เสรี พงศ์พิศ
สร้างความรู้ใหม่ คือหัวใจปฏิรูปการศึกษา : เสรี พงศ์พิศ

เปิดอ่าน 10,311 ครั้ง
ยก เฟซบุ๊ก เป็นบริษัทที่ดีที่สุดในสหรัฐ
ยก เฟซบุ๊ก เป็นบริษัทที่ดีที่สุดในสหรัฐ

เปิดอ่าน 50,208 ครั้ง
ประโยชน์ของดวงอาทิตย์
ประโยชน์ของดวงอาทิตย์

เปิดอ่าน 16,959 ครั้ง
เม็ดแมงลัก สมุนไพรเด็ด ช่วยให้หุ่นสวย สุขภาพดี
เม็ดแมงลัก สมุนไพรเด็ด ช่วยให้หุ่นสวย สุขภาพดี

เปิดอ่าน 22,460 ครั้ง
นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เปิดอ่าน 91,107 ครั้ง
เมื่อภาษาไทยไม่มีสระไม่เว้นวรรค ดูซิว่าอ่านยากขนาดไหน?
เมื่อภาษาไทยไม่มีสระไม่เว้นวรรค ดูซิว่าอ่านยากขนาดไหน?

เปิดอ่าน 11,643 ครั้ง
วิธีห่อของขวัญอย่างง่าย ต้อนรับ วันปีใหม่ 2558 ที่กำลังจะมาถึงนี้
วิธีห่อของขวัญอย่างง่าย ต้อนรับ วันปีใหม่ 2558 ที่กำลังจะมาถึงนี้

เปิดอ่าน 56,130 ครั้ง
คลิปเด็กฝรั่งท่อง ก.ไก่จนจบ น่ารักมากครับ
คลิปเด็กฝรั่งท่อง ก.ไก่จนจบ น่ารักมากครับ

เปิดอ่าน 14,217 ครั้ง
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก 17 ประการ
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก 17 ประการ

เปิดอ่าน 82,164 ครั้ง
ความสำคัญของงานกราฟิก
ความสำคัญของงานกราฟิก
เปิดอ่าน 12,491 ครั้ง
ดาวน์โหลด! คู่มือการปฏิบัติงานคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
ดาวน์โหลด! คู่มือการปฏิบัติงานคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
เปิดอ่าน 26,274 ครั้ง
คู่มือการบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ของ กศจ.(เอกสารประกอบการประชุม VDO Conference)
คู่มือการบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ของ กศจ.(เอกสารประกอบการประชุม VDO Conference)
เปิดอ่าน 15,505 ครั้ง
อวสาน Hotmail ไมโครซอฟท์เปิดตัว Outlook.com แล้ว
อวสาน Hotmail ไมโครซอฟท์เปิดตัว Outlook.com แล้ว
เปิดอ่าน 13,855 ครั้ง
อาหารมงคลรับปีใหม่-สมุนไพรไล่หนาว
อาหารมงคลรับปีใหม่-สมุนไพรไล่หนาว

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ