ชื่อรางวัล/ผลงาน คุรุสดุดี ประจำปี 2556
หน่วยงานที่ให้รางวัล กระทรวงศึกษาธิการ
ปี พ.ศ.ที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2556
.............................................................................................
1. สภาพปัญหา แนวคิด หรือแรงจูงใจในการดำเนินการ
ปัจจุบันสังคมไทยกำลังประสบกับวิกฤตการณ์ด้านคุณธรรมและจริยธรรมอย่างสูงสังคม เกิดความแตกแยก เกิดความไม่เท่าเทียมกัน มีการใช้กำลังอย่างไร้มนุษยธรรมในการระงับข้อพิพาท มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงเป็นที่แจ้งประจักษ์ทุกระดับทั้งในวงราชการและภาคเอกชน (ธานินทร์ กรัยวิเชียร, 2551, หน้า 1) เป็นที่ทราบกันดีว่าเข็มทิศในการพัฒนาประเทศไทยผ่านแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินับตั้งแต่ฉบับที่ 1 ในช่วงปี พ.ศ. 2504-2509 และแผนพัฒนาฯ ฉบับต่อๆ มาอีกหลายฉบับนั้น ล้วนมีจุดมุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสมัยใหม่เป็นด้านหลัก ทำให้ละเลยการพัฒนาทางด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณภาพชีวิตของคนในชาติไป (วิภาษ ทองสุทธิ์, 2551, หน้า 2-3) คนไทยทั้งปวงล้วนมีความปรารถนาอย่างเดียวกันคือต้องการอยู่ในสังคมที่ดีงาม และมีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน สังคมที่ดีงามและอำนวยประโยชน์สุขร่วมกันต้องเป็นสังคมที่มีจิตสำนึกทางคุณธรรมและจริยธรรมสูง สังคมที่เอาเงินเป็นตัวตั้งโดยขาดจิตสำนึกทางคุณธรรมและจริยธรรมจะนำไปสู่ ความเสื่อมเสียทางศีลธรรมอย่างหนัก ความขัดแย้ง ความรุนแรง และวิกฤตการณ์ต่างๆ (ประเวศ วะสี, 2549, หน้า 3) ประเด็นด้านคุณธรรม จริยธรรมเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสำคัญเรียกร้องและคาดหวังต่อบุคลากรภาครัฐทุกฝ่ายในฐานะที่เป็นผู้มีอำนาจทางการปกครอง รวมทั้งมีหน้าที่ให้บริการ ดูแลอำนวยความสะดวก ให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน และความสงบร่มเย็นของประเทศชาติ ปัญหาด้านคุณธรรม จริยธรรม ในภาครัฐ ส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อเกียรติภูมิของข้าราชการ ภาพลักษณ์การเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้มีคุณธรรม จริยธรรม รวมถึงความเชื่อมั่นที่ประชาชนมีต่อภาครัฐ (สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, 2551, หน้า 4)
คุณธรรมจริยธรรมเป็นบทบัญญัติของความดีความงามของบุคคลที่ส่งผลต่อการประพฤติดี ประพฤติชอบ สังคมใดที่ประกอบด้วยบุคคลที่มีคุณธรรมจริยธรรม สังคมนั้นก็จะมีความสุขร่มเย็น องค์การทางการศึกษาก็เป็นสังคมหนึ่งที่ต้องการบุคคลที่มีคุณธรรมจริยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้บริหารการศึกษาหรือผู้บริหารสถานศึกษาที่ต้องมีคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งไม่ใช่มีพฤติกรรมที่ยึดกรอบกฎหมายอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องประพฤติปฏิบัติให้อยู่ในกรอบคุณธรรมและจริยธรรมที่ดีงามตามปทัสถานของสังคมที่ได้รับการยอมรับ นอกจากนี้คุณธรรมจริยธรรมยังเป็นองค์ประกอบสำคัญองค์ประกอบหนึ่งที่จะช่วยสร้างศรัทธา สร้างแรงจูงใจให้เกิดความสามัคคีร่วมมือกันปฏิบัติงานเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ร่วมงานในองค์การ และบุคคลทั่วไปจะเกิดความเชื่อมั่น เชื่อถือและศรัทธาในตัวผู้นำและองค์การจนได้รับความไว้วางใจในที่สุด (ประทวน บุญรักษา. ออนไลน์.2556) ผู้บริหารปฏิบัติหน้าที่ของตนเองอย่างซื่อสัตย์สุจริตและมีความยุติธรรมบริหารงานอย่างมีคุณธรรมจริยธรรมย่อมผลักดันให้การศึกษามีความเจริญก้าวหน้าอย่างมีคุณภาพ
บริหารตนเป็นแบบอย่างที่ดีเป็นผู้ที่ให้ความสำคัญต่อการประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ในทุกด้าน ทั้งด้านความเก่งความดีและความมีสุขภาพสมบูรณ์ ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ในฐานะที่มีหน้าที่เป็นผู้นำในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยยึดหลักว่า จะพัฒนา ใครเขาต้องพัฒนาตัวเราก่อน นอกจากนี้การพัฒนาตน ให้มี ภูมิรู้ ภูมิธรรมและภูมิฐาน ยังช่วยให้ผู้บริหาร ได้รับความเชื่อถือศรัทธา จากครู ผู้เรียน ผู้ปกครองและ ชุมชน ทำให้การบริ หารได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย และประสบความสำเร็จสูงขึ้น (หวน พินธุพันธ์. 2549 : 38) ผู้บริหารพึงสำรวจตนเอง เตือนตนเองอยู่เสมอไม่หลงทางสิ่งที่ผิด อาศัยความถูกใจตนเองเป็นใหญ่โดยลืมหลักความถูกต้องตามธรรม ซึ่งสังคมสมัยปัจจุบันนี้เจริญไปด้วย วัตถุนิยมที่อาจทำให้ผู้บริหารหลงใหลเห็นแก่ตัว เป็นแบบอย่างที่ไม่ดีต่อสังคม ปัจจุบันสังคมได้ให้ความสำคัญวัตถุมากกว่า คุณค่าทางจิตใจและคุณธรรม จริยธรรม ทำให้ผู้นำหรือ ผู้บริหารทุกระดับต้องปรับกระบวนทัศน์และวิธีคิดใหม่ เนื่องจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมอาจส่งผลทา ให้การเสริมสร้าง และพัฒนาจิตสำนึกในด้านคุณธรรมและจริยธรรมขาด ความสมบูรณ์ซึ่งการปลูกฝังหรือสร้างจิตสำนึกในด้าน คุณธรรมนั้นจะต้องมีการพัฒนา อย่างสม่ำเสมอและ ต่อเนื่อง (สถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ. ออนไลน์. 2556) คุณธรรมและจริยธรรมมีความสำคัญมาก ผู้บริหารทุกคนทุกระดับจะต้องมี โดยเฉพาะผู้บริหาร สถานศึกษา เพื่อช่วยให้การบริหารงานในสถานศึกษา ราบรื่น บรรลุจุดมุ่งหมายถ้าผู้บริหารสถานศึกษาขาด คุณธรรมและจริยธรรมจะไม่เป็นที่ยอมรับของ ผู้ใต้บังคับบัญชาขาดความศรัทธาในตัวผู้บริหาร การ บริหารงานต้องยึดกฎระเบียบของทางราชการ สิ่งต่างๆ เหล่านี้เราสามารถพัฒนาไดด้วยการศึกษาหาความรู้เพื่อเป็นบันไดสู่ความสำเร็จในชีวิต มีความมั่นคงในอาชีพ มี ความเป็นอยู่ที่สบายกว่าคนอื่น ได้รับการยกย่องนับถือ (อนันตชัย พงศ์สุวรรณ. 2547 : 14) ดังนั้นการบริหารงาน ผู้บริหารจะต้องมีคุณธรรมจริยธรรมในการครองตน การครองคน การครองงาน
พุทธทาสภิกขุให้ความสำคัญกับอาชีพของครูมากโดยกล่าวยกย่องว่า ครูคือ ผู้ยกดวงวิญญาณของมนุษย์ให้สูงขึ้นมา ๆ โดยวิธีต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นจนปลาย หรืออย่างน้อยก็เป็นมัคคุเทศก์ทางวิญญาณ ซึ่งเรียกได้ว่า ครูบาอาจารย์เป็นผู้มีพระคุณเหนือเกล้าเหนือเศียร ครูมีพระคุณยิ่งกว่าบิดามารดา ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าบิดามารดายังไม่ได้ยกสถานะทางวิญญาณ บิดามารดาเพียงแต่ให้กำเนิดชีวิตมาและยกสถานะ ทางวิญญาณของเด็กเป็นส่วนน้อย ส่วนหน้าที่ยกดวงวิญญาณของเด็กจนดวงวิญญาณของเด็กของเยาวชนสูงสุดเท่าที่จะสูงได้เพราะครูบาอาจารย์เป็นผู้รับผิดชอบ พุทธทาสภิกขุ (2543 : 202) มีความเห็นว่า ครูจะต้องนำทางวิญญาณเพื่อให้ วิญญาณเดินถูกทางอยู่เสมอ ส่วนหนังสือครูก็สอนควบคู่กันไป เพราะจำเป็นสำหรับเรื่องอื่น ๆ ต่อไปในชีวิต หนังสือเป็นสื่อแต่ไม่ใช่เรื่องสำคัญและไม่ใช่เรื่องจำเป็นเฉพาะหน้า เหมือนเรื่องของพระธรรม โดยเฉพาะโลกุตตรธรรมที่เป็นความหมายใหญ่ คือ ความไม่ เห็นแก่ตัว ครูจะต้องสอนความไม่เห็นแก่ตัวทุกกระเบียดนิ้ว สอนด้วยปากบ้าง ทำให้ดูบ้าง ทำทุก ๆ ทาง ให้เกิดความรู้สึก ที่เป็นธรรม ครูต้องเป็นผู้นำทางวิญญาณให้แก่เด็ก ๆ แม้ กระทั่งเด็กทารก เช่น การสอนเด็กอนุบาลในโรงเรียน ถ้าเด็กอนุบาลร้องไห้เพราะทำ ตุ๊กตาตกแตกหรือสอบไล่ตก ครูก็สอนให้เด็กรู้ว่า อย่าร้องไห้ เพราะในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดที่ว่าตนจะได้ไปตามต้องการของตนทุกอย่าง ทุกสิ่งทุกอย่างต้องเป็นไปตามธรรมชาติ เป็นไป ตามกฎเกณฑ์ เป็นต้น การสอนอย่างนี้เป็นเรื่องการสอนปรมัตถธรรม เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้แก่เด็ก ในชั้นอนุบาล อีกทั้งครูต้องสอนเด็ก ๆ ไม่ให้กลัวผี ไม่ให้กลัวจิ้งจก ตุ๊กแก ไส้เดือน เพราะเป็นความโง่เขลา ถ้าพ่อแม่กลัวผี เด็กต้องไม่กลัว ครูต้องสอนเด็กไม่ ให้รู้จักกลัวอย่างไม่มีเหตุผล เพราะเป็นความโง่เขลา ในเรื่องการประพฤติปฏิบัติตนของครู พุทธทาสภิกขุ (2521 : 118) แนะแนวให้ ในหัวใจของครูที่มีอุดมคตินั้น จะต้องมีปัญญากับเมตตาเต็มแน่นอยู่ในหัวใจ ปัญญา คือ วิชาความรู้ความสามารถในหน้าที่ที่จะส่องแสงสว่าง ให้แก่ศิษย์ ส่วนเมตตา คือ ความรัก ความเอ็นดู กรุณาต่อศิษย์ของตนเหมือนกับว่า เป็นลูกของตน คุณธรรมสองประการนี้จะต้องเต็มเปี่ยมอัดอยู่ในหัวใจของครูประเภทที่ยึดถืออุดมคติตามหลักพุทธศาสนาซึ่งเป็น เครื่องชี้ให้เห็นว่า ค่าของครูมีมากเพียงใด และค่าของครูจะตั้งอยู่ในฐานะของปูชนียบุคคล ไม่ใช่ลูกจ้าง ครูที่ละเลยอุดมคติจะกลายเป็นลูกจ้างซึ่งในหัวใจไม่มีอะไรเลย นอกจาก พุทธทาสภิกขุกับการแนะแนวทางการดำเนินชีวิต 187 วารสารมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ต้องการรับค่าจ้างหรือเงินเดือน และหนักเข้าก็คดโกงเวลาเอาเปรียบในหน้าที่การงานของตน เพราะเห็นแก่ตน เพราะปราศจากปัญญาและเมตตา ในประเด็นเดียวกัน พุทธทาสภิกขุ (2521 : 146) เน้นย้ำให้ครูพิจารณาตรวจ สอบตนเองดูว่า ครูเป็นผู้นำทางวิญญาณจริงหรือไม่ เป็นผู้ยกสถานะทางวิญญาณของสัตว์ในโลกให้สูงขึ้นจริงหรือไม่ ค่าของครู เป็นปูชนียบุคคล ไม่ใช่ลูกจ้าง อาชีพครูไม่ใช่เรือจ้าง ครูคู่กันอยู่กับการศึกษา เป็นผู้ประศาสน์การศึกษา ครูจะต้องทำตนให้มีการศึกษาอยู่ที่เนื้อที่ตัว ให้ศิษย์เคารพครู ให้รักครูยิ่งกว่าพ่อแม่ ให้กลัวครูยิ่งกว่าพ่อแม่ ในที่สุดครูก็จะนำเด็กไปได้ในแนวทางตามที่ครูต้องการทุกประการ พุทธทาสภิกขุ (2543 : 25) ได้แนะแนวต่อไปอีกว่า ครูทุกคนต้องรับผิดชอบ ต่อหน้าที่ทุกระดับ กล่าวคือ เป็นบุตรที่ดีของบิดามารดา เป็นศิษย์ที่ดี ของครูบาอาจารย์ เป็นเพื่อนที่ดีของเพื่อน เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ และเป็นสาวกที่ดีของพระศาสดา แล้วแต่ว่าจะถือศาสนาใด ถ้านับถือศาสนาพุทธ ก็เป็นพุทธมามกะที่ดีของพระพุทธเจ้า
สำนักงานคุรุสภา ผู้กำหนดข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ ของวิชาชีพ พ.ศ.2548 มีบทบาทในการควบคุม สอดส่องจรรยามรรยาทและวินัยของสมาชิกคุรุสภา รวมทั้งสรรหาครูที่มีจรรยามรรยาทดีเด่น เพื่อรับ เข็มคุรุสดุดี มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 จนถึงปัจจุบันโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1) ยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ
2) เพื่อเสริมสร้างศรัทธาและความเชื่อถือในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
3) เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพที่ได้รับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ คุรุสดุดี เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา (สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา, 2555) จรรยาบรรณในวิชาชีพครู เป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้างเกียรติภูมิ และศักดิ์ศรี ให้ได้รับการยกย่อง เชื่อถือศรัทธา จากสังคม แบบแผนพฤติกรรม ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพครู มี ดังนี้
1. จรรยาบรรณต่อตนเอง ครูต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ โดยต้องประพฤติ การประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังนี้ ประพฤติตนเหมาะสมกับสถานภาพและเป็นแบบอย่างที่ดี ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตตามประเพณี และวัฒนธรรมไทย ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จอย่างมีคุณภาพ ตามเป้าหมายที่กำหนด ศึกษา หาความรู้ วางแผนพัฒนาตนเอง พัฒนางาน และสะสมผลงานอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนค้นคว้า แสวงหา และนำเทคนิคด้านวิชาชีพที่พัฒนาและก้าวหน้าเป็นที่ยอมรับมาใช้แก่ศิษย์และผู้รับบริการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่พึงประสงค์
2. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ครูต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิก ที่ดีขององค์กรวิชาชีพ โดยต้องประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังนี้ แสดงความชื่นชมและศรัทธาในคุณค่าของวิชาชีพ รักษาชื่อเสียงและปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ ยกย่อง และเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานในวิชาชีพให้สาธารณชนรับรู้ อุทิศตนเพื่อความก้าวหน้าของวิชาชีพ ปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริตตามกฎ ระเบียบ และแบบแผนของทางราชการ เลือกใช้หลักวิชาที่ถูกต้อง สร้างสรรค์เทคนิค วิธีการใหม่ๆ เพื่อพัฒนาวิชาชีพ ใช้องค์ความรู้หลากหลายในการปฏิบัติหน้าที่ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิกในองค์การตลอดจนเข้าร่วมกิจกรรมของวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพ อย่างสร้างสรรค์
3. จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ ครูต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า ครูต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัย ที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญ ทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์และผู้รับบริการ และครูต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบโดยต้องประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังนี้ ให้คำปรึกษาหรือช่วยเหลือศิษย์และผู้รับบริการ ด้วยความเมตตากรุณาอย่างเต็มกำลังความสามารถและเสมอภาค สนับสนุนการดำเนินงานเพื่อปกป้อง สิทธิเด็ก เยาวชน และผู้ด้อยโอกาสตั้งใจ เสียสละ และอุทิศตนในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้ศิษย์และผู้รับบริการได้รับการพัฒนาตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจของแต่ละบุคคล ส่งเสริมให้ศิษย์และผู้รับบริการสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองจากสื่ออุปกรณ์ และแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย ให้ศิษย์ และผู้รับบริการ มีส่วนร่วมวางแผนการเรียนรู้ และเลือกวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมกับตนเอง ตลอดจนเสริมสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ศิษย์และผู้รับบริการด้วยการรับฟังความคิดเห็นยกย่อง ชมเชย และให้กำลังใจ อย่างกัลยาณมิตร
4. จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ โดยพึงประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรมดังนี้ เสียสละ เอื้ออาทร และให้ความช่วยเหลือผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ตลอดจนมีความรัก ความสามัคคี และร่วมใจกันผนึกกำลังในการพัฒนาการศึกษา
5. จรรยาบรรณต่อสังคม ครูพึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยพึงประพฤติและละเว้นการประพฤติ ตามแบบแผนพฤติกรรม ดังนี้ ยึดมั่น สนับสนุน และส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นำภูมิปัญญาท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรมมาเป็นปัจจัยในการจัดการศึกษา ให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ศิษย์เกิดการเรียนรู้และสามารถดำเนินชีวิต ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนเป็นผู้นำในการวางแผนและดำเนินการเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพัฒนาเศรษฐกิจภูมิปัญญาท้องถิ่น และศิลปวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อม
ส่วนแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา มีดังนี้
1. จรรยาบรรณต่อตนเอง ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอโดยต้องประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังนี้ ประพฤติตนเหมาะสมกับสถานภาพและ เป็นแบบอย่างที่ดี ศึกษา ค้นคว้า ริเริ่มสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนาวิชาชีพอยู่เสมอ ส่งเสริมและพัฒนาครูในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ สร้างผลงานที่แสดงถึงการพัฒนาความรู้ และความคิดในวิชาชีพจนเป็นที่ยอมรับ ตลอดจนส่งเสริมการปฏิบัติงานโดยมีแผนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบันและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
2. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ โดยต้องประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังนี้
แสดงความชื่นชมและศรัทธาในคุณค่าของวิชาชีพ รักษาชื่อเสียงและปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ ยกย่อง และเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานในวิชาชีพให้สาธารณชนรับรู้ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต ตามกฎ ระเบียบ และแบบแผนของทางราชการ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ และใช้ความรู้ความสามารถ ในการพัฒนาครูและบุคลากร สนับสนุนการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับ การพัฒนาครู การเรียนการสอน และ การบริหารสถานศึกษา ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรได้ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย และนำเสนอผลงาน ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ ตลอดจนเข้าร่วม ส่งเสริม และประชาสัมพันธ์กิจกรรมของวิชาชีพ หรือองค์กรวิชาชีพอย่างสร้างสรรค์
3. จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า ผู้บริหารสถานศึกษาต้องส่งเสริมให้เกิด การเรียนรู้ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงาม แก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจาและจิตใจ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจอารมณ์และสังคมของศิษย์และผู้รับบริการ และผู้บริหารสถานศึกษาต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์ จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ โดยต้องประพฤติและละเว้นการประพฤติ ตามแบบแผนพฤติกรรม ดังนี้ ปฏิบัติงานหรือให้บริการอย่างมีคุณภาพ โดยคำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน ของผู้รับบริการ ส่งเสริมให้มีการดำเนินงานเพื่อปกป้องสิทธิเด็ก เยาวชน และผู้ด้อยโอกาส บริหารงาน โดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี รับฟังความคิดเห็นที่มีเหตุผลของศิษย์และผู้รับบริการ ให้ครู และบุคลากร มีส่วนร่วมวางแผนการปฏิบัติงานและเลือกวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมกับตนเอง เสริมสร้าง ความภาคภูมิใจให้แก่ศิษย์และผู้รับบริการ ด้วยการรับฟังความคิดเห็นยกย่อง ชมเชย และให้กำลังใจ อย่างกัลยาณมิตร ตลอดจนให้ศิษย์และผู้รับบริการได้มีส่วนร่วมในการเสนอแนวคิด หรือวิธีการที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพ
4. จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ผู้บริหารสถานศึกษา พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ โดยพึงประพฤติและละเว้น การประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังนี้ ริเริ่มสร้างสรรค์ในการบริหารเพื่อให้เกิดการพัฒนาทุกด้านต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา ใช้ระบบคุณธรรมในการพิจารณาผลงานของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ มีความรัก ความสามัคคี และร่วมใจกัน ผนึกกำลังในการพัฒนาการศึกษา ตลอดจนยอมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
5. จรรยาบรรณต่อสังคม ผู้บริหารสถานศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยพึงประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังนี้ ยึดมั่น สนับสนุน และส่งเสริม การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือในทางวิชาการหรือวิชาชีพแก่ชุมชน ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อให้ศิษย์และผู้รับบริการเกิดการเรียนรู้และสามารถดำเนินชีวิต ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนเป็นผู้นำในการวางแผนและดำเนินการเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พัฒนาเศรษฐกิจภูมิปัญญาท้องถิ่น และศิลปวัฒนธรรม
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น เป็นแรงจูงใจที่สำคัญในการสร้างเสริมคุณลักษณะความเป็นครูที่ดี ให้เกิดแก่ครูและบุคลากร ด้วยการใช้ภาวะผู้นำในการเป็นแบบอย่างที่ดี โดยยึดหลักที่ว่า การเป็นแบบอย่าง ที่ดีจะเป็นเครื่องชักนำให้ผู้อื่นทำตาม การที่ผู้บังคับบัญชาจะนำให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีวินัย ตัวผู้บังคับบัญชาเองจะต้องทำตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีเสียก่อน รวมถึงการสร้างศรัทธา ซึ่งความศรัทธาจะนำมา ซึ่งขวัญ กำลังใจ มีความรัก ความร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติงานเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกันได้ ทำให้ผู้ร่วมงานทุกคนในองค์การเกิดความเชื่อถือและเชื่อมั่นในตัวผู้นำ โดยนำระบบคุณธรรม จริยธรรม มาใช้ ในการบริหารจัดการ ตลอดจนได้รับความศรัทธาและยอมรับด้วยคุณธรรมจริยธรรมจากนักเรียน ครู เพื่อนผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บังคับบัญชา กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และชุมชน
2. วิธีดำเนินการ
ผู้รายงานได้ดำเนินการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ ของวิชาชีพ ก่อนที่จะได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ รางวัล คุรุสดุดี ประจำปี 2556 ดังนี้
2.1 การศึกษาเรียนรู้ กระทำได้หลายวิธี ดังนี้
2.1.1 ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้วยการหาความรู้จากการอ่านหนังสือเกี่ยวกับปรัชญาศาสนา วรรณคดีที่มีคุณค่า หนังสือที่เกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม และหลักปฏิบัติตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ.2548 เพื่อใช้ในเป็นกรอบในการประพฤติปฏิบัติตน
2.1.2 อบรมพัฒนาตนเองในด้านวินัย กฎหมาย ระเบียบปฏิบัติที่จำเป็นและเกี่ยวข้อง การการปฏิบัติงาน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ เกิดความตระหนักในการรักษาระเบียบ วินัย กฎหมาย ข้อบังคับ ข้อตกลง กติกาของส่วนรวม ทั้งในระดับหน่วยงาน ชุมชน สามารถปฏิบัติตน ให้คำแนะนำผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง
2.1.3 อบรมพัฒนาตนเองในด้านคุณธรรมจริยธรรม เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในคุณธรรมจริยธรรมสำคัญตามคุณธรรมตามหลักธรรมของศาสนา การปฏิบัติศาสนกิจ การปฏิบัติตนตามขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม คุณธรรมตามแนวพระราชดำรัสปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถประพฤติปฏิบัติตน ให้คำแนะนำแก่บุคคลอื่นได้อย่างถูกต้อง
2.1.4 อบรมเพื่อพัฒนาจิตใจ การปฏิบัติธรรม ฝึกปฏิบัติตนตามหลักพระพุทธศาสนา เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ ทำให้จิตใจได้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกิดปัญญารับรู้ด้วยตนเองอย่างลึกซึ้ง และแท้จริง
2.1.5 พัฒนาตนเองในด้านเทคโนโลยี นวัตกรรมที่หลากหลาย เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนเกิดทักษะในการใช้วิทยาการ เทคโนโลยี เพื่อการปฏิบัติงานและการเข้าถึงแหล่งความรู้ในการพัฒนาตนได้อย่างเหมาะสมตามยุคสมัย ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง สามารถแนะนำผู้อื่นได้ถูกต้อง
2.16 ศึกษาดูงานในสถานศึกษาที่เป็นแบบอย่างในด้านการมีวินัยการรักษาวินัย คุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อเรียนรู้การปฏิบัติ ตลอดจนนำผลของการปฏิบัติในการเป็นแบบอย่าง หรือต้นแบบในด้านการมีวินัยการรักษาวินัย คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ สามารถแบบอย่างและแนะนำผู้อื่นได้
2.17 เข้าร่วมงาน/กิจกรรมกับหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานอื่น เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างเสริมประสบการณ์ สามารถนำมาพัฒนาตนเอง งานที่รับผิดชอบ แสดงศักยภาพให้หน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานอื่นได้เป็นที่ประจักษ์ เพื่อสร้างศรัทธา สร้างความเชื่อมั่นให้กับหน่วยงานของตนเอง
2.1.8 มีความจริงใจในการประพฤติ ปฏิบัติตนตามกรอบจรรยาบรรณของวิชาชีพ ตลอดจน ดำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีของความเป็นครูด้วยการประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ
3. ผลที่เกิดจากการดำเนินงาน
จากการที่ผู้รายงานได้พัฒนาและดำเนินตามด้านคุณธรรม จริยธรรม มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพจนเป็นที่ประจักษ์และได้รับรางวัลยกย่อง เชิดชูเกียรติในครั้งนี้ ส่งผล ดังนี้
3.1 ผลที่เกิดกับนักเรียน
1) นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม สามารถนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้รับรางวัลเกียรติบัตรเหรียญทอง กิจกรรมสังคมศึกษาฯ มารยาทไทย ระดับชั้น ป.1-3 และได้รับรางวัลเกียรติบัตรเหรียญทอง การประกวดโครงงานคุณธรรม ระดับ ป.4-6 การแข่งขันทักษะทางวิชาการ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน เพื่อคัดเลือกตัวแทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม
2) นักเรียนมีความรู้ในเรื่องประชาธิปไตยความเข้าใจและศรัทธารวมถึงการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองที่ดีในวิถีประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ผลการดำเนินงานด้านประชาธิปไตยในโรงเรียน
3) ปีการศึกษา 2556 นักเรียนได้รับทุนการศึกษาจาก กองทุนพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม จำนวน 13 คน และในปีการศึกษา 2557 จำนวน 18 ทุน
3.2 ผลที่เกิดกับครูและบุคลากร
1) ผู้บริหารและบุคลากรได้รับการพัฒนาด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ หนึ่งแสนครู และคุรุสดุดี เป็นต้น
2) ครูและบุคลากรมีความภาคภูมิใจ เกิดขวัญ กำลังใจในการปฏิบัติงาน และได้รับการยอมรับ การยกย่องจากผู้ร่วมงาน หน่วยงาน และสังคม
3) นางปราณี ระจี ได้รับรางวัล หม่อมงามจิตต์บุรฉัตร รางวัลสร้างเสริมคนดี มีคุณธรรม ประจำปี พ.ศ.2557
3.3 ผลที่เกิดกับโรงเรียน
1) เป็นโรงเรียนดี ศรีตำบล ปีการศึกษา 2556 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน
2) โรงเรียนได้รับตราพระราชทาน โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย
3) เป็นสถานศึกษาแบบอย่างจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3.4 ผลที่เกิดกับชุมชน
1) ชุมชนให้การสนับสนุนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาจัดการศึกษาให้กับประชาชนในชุมชน
2) ผู้ปกครอง ชุมชน ท้องถิ่น มีความศรัทธา เชื่อมั่นในการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ และ ส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนเพิ่มขึ้น
3.5 ผลที่เกิดกับสังคมและประเทศชาติ
1) เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตนให้กับผู้ประกอบวิชาชีพครู โดยได้ผลงานที่ได้การยกย่อง เชิดชูเกียรติได้ถูกนำไปเผยแพร่ในวารสารของคุรุสภา สามารถนำไปประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างได้
2) บุคลากรได้รับการยกย่องชมเชย ในด้านการครองตน ครองคน และครองงาน ส่งผลให้ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ หนึ่งแสนครูดี เป็นแบบอย่างที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน
4. แนวคิดในการพัฒนาต่อไป
4.1 ดำรงรักษาสภาพการประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัย มีคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพทางการศึกษา และพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่อง
4.2 ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรได้เข้ารับการพัฒนาด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง