ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านท่ามะกา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2
ชื่อผู้รายงาน นางสาวจิดาภา ใจห่อ
ปีที่รายงาน 2557
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านท่ามะกา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) ประเมินผลโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านท่ามะกา ด้วยรูปแบบการประเมินแบบซิปป์(CIPP Model)
2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครู นักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมตามโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านท่ามะกา ประชากรในการศึกษา ประกอบด้วย ครูโรงเรียนบ้านท่ามะกา จำนวน 29 คน นักเรียน 252 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม(Check list) และแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale)สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ (frequency) ร้อยละ (percentage)ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
1. ด้านสภาพแวดล้อม ผลการประเมินโครงการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งการนิเทศจากหน่วยงานภายนอกมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ โครงสร้างของการนิเทศภายใน และค่าเฉลี่ยน้อยสุด คือคือ โครงสร้างของโครงการ
2. ด้านปัจจัยพื้นฐานเบื้องต้น ผลการประเมินระดับความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาค่าเฉลี่ยน้อย ดังนี้ คือด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านการวางแผนดำเนินโครงการ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณดำเนินโครงการ และด้านอาคารสถานที่
3. ด้านกระบวนการ ผลการประเมินระดับความคิดเห็นที่มีต่อด้านประเมินกระบวนการในการดำเนินการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การดำเนินงานตามแผน รองลงมาคือ การบริหารกระบวนการนิเทศภายใน และการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการ ตามลำดับ
4. ด้านผลผลิตผลการประเมินระดับความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารกระบวนการนิเทศภายใน ด้านประเมินกระบวนการในการดำเนินการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านผู้เรียนรองลงมา คือ ด้านผู้บริหารและด้านครูผู้สอน ตามลำดับ
5. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนส่วนใหญ่มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ กิจกรรมการสอนของครูทำให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข รองลงมา มีจำนวน 2 ข้อ ที่เท่ากัน คือ ครูวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงและเสมอภาค ซึ่งเท่ากันกับการสอนของครูทำให้นักเรียนเข้าใจในบทเรียนและจดจำได้นาน และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ นักเรียนได้รับการเสริมแรงให้ค้นหาคำตอบแก้ปัญหาด้วยตนเองและมีการ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามลำดับ
6. ความพึงพอใจของกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อโครงการนิเทศภายในของโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ เกี่ยวกับนักเรียน รองลงมา คือ และเกี่ยวกับครูผู้สอน เกี่ยวกับโรงเรียน ตามลำดับ
6.1 ด้านเกี่ยวกับครูผู้สอน โดยภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือการนิเทศภายในโรงเรียนทำให้ครูเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน รองลงมา คือ การนิเทศภายในโรงเรียนทำให้ครูมีความกระตือรือร้นมากขึ้น กับการนิเทศภายในทำให้ครูมีการพัฒนา ปรับปรุงตนองอย่างต่อเนื่องเท่ากัน
6.2 ด้านเกี่ยวกับนักเรียน โดยภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งค่าเฉลี่ยสูงสุด คือการนิเทศภายในทำให้ครูมีการพัฒนา ปรับปรุงตนเองอย่างต่อเนื่อง รองลงมา คือการนิเทศภายในโรงเรียนควรดำเนินการนิเทศกับครูทุกคน ซึ่งเท่ากับ การนิเทศภายในโรงเรียนส่งผลให้ครูมีการปรับปรุงและพัฒนาตนเองในด้านการเรียนการสอน
6.3 ด้านเกี่ยวกับโรงเรียน โดยภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ นักเรียนได้รับการดูแลเอาใจใส่จากครูมากขึ้น รองลงมา คือ นักเรียนเอาใจใส่ในการเรียนและขยันทำงานที่เกี่ยวข้องกับการเรียนมากขึ้น
7. ข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการประเมินในส่วนที่เกี่ยวกับผลกระทบของโครงการนิเทศภายใน เพื่อให้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลทำให้กระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนและควรมีการประเมินผลการดำเนินงานโครงการนิเทศภายในเป็นระยะ เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาให้ดีขึ้น