ชื่อเรื่อง รายงานการใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้ ชุดจดจำมาตราตัวสะกดไทย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางพเยาว์ ซัง
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ โรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด เทศบาลเมืองพัทลุง
ปีที่ศึกษา 2558
บทคัดย่อ
รายงานการใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้ ชุดจดจำมาตราตัวสะกดไทย กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อสร้างเอกสารประกอบการเรียนรู้ ชุดจดจำมาตราตัวสะกดไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพ (E1/E2) ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้คือ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ ชุดจดจำมาตราตัวสะกดไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้ โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้ ชุดจดจำมาตราตัวสะกดไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
1) เอกสารประกอบการเรียนรู้ ชุดจดจำมาตราตัวสะกดไทย จำนวน 9 เล่ม 2) แบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ()
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) และวิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียน (Pretest) และหลังเรียน (Posttest) ด้วยค่าที t - test (Dependent)
ผลการวิจัยมีดังนี้
1. การสร้างเอกสารประกอบการเรียนรู้ชุดจดจำมาตราตัวสะกดไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 9 เล่ม ปรากฏผลการวัดค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 89.70/90.33 แสดงว่าเอกสารประกอบการเรียนรู้ชุดจดจำมาตราตัวสะกดไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) ตามเกณฑ์มาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ คือ 80/80 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ชุดจดจำมาตราตัวสะกดไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้ ชุดจดจำมาตราตัวสะกดไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด