ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning:
BBL) พัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย นางจารีย์ ขุนชำนาญ ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล ๑บ้านจะบังติกอ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองปัตตานี
จังหวัดปัตตานี
ปีที่วิจัย 2557
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน(Brain-Based Learning: BBL)
พัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผู้วิจัยใช้วิธีดำเนินการวิจัยในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐาน(bbl) เพื่อพัฒนาการอ่านคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐาน(Brain-Based Learning: BBL) พัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐาน(Brain-Based Learning: BBL) พัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐาน(Brain-Based Learning: BBL) พัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐาน(Brain-Based Learning: BBL) พัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๑บ้านจะบังติกอ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๑บ้านจะบังติกอ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ที่ได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มจากประชากร เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือสำรวจข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล ๑บ้านจะบังติกอ จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการ 1 คน หัวหน้าฝ่ายวิชาการ จำนวน 1 คน ครูผู้สอนภาษาไทยระดับประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 2 คน รวม 10 คน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐาน(Brain-Based Learning: BBL) พัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 16 แผน ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องของหลังสูตร (IOC) ระหว่าง 0.67 1.00 แสดงว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐาน(Brain-Based Learning: BBL) พัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3 มีคุณภาพ มีความเหมาะสมในการนำไปทดลองใช้ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอน ได้แก่ แบบทดสอบการอ่านเพื่อการเข้าใจ แบบสังเกตพฤติกรรมและแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องของรูปแบบการเรียนการสอน (IOC) ระหว่าง 0.67 1.00 ดำเนินการเก็บข้อมูลทุกขั้นตอนด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า
จากการดำเนินการตามขั้นตอนการวิจัยที่ได้นำเสนอ สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning : BBL) พัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประกอบ 5 ขั้นตอน ดังนี้
1.1 ขั้นที่ 1 ขั้นวิธีเพื่อการผ่อนคลาย (Approach to relaxation) หมายถึง การ
ตื่นตัวที่ผ่อนคลายเป็นการลดความกลัวในตัวผู้เรียนและเสริมบรรยากาศที่ท้าทายการเรียนรู้ภาวะที่ผ่อนคลาย เป็นสมาธิช่วยในการปรับคลื่นสมอง
1.2 ขั้นที่ 2 ขั้นการบริหารสมอง (Operation to Brain-Gym) หมายถึง การบริหาร
และออกกำลังสมอง หรือ Brain Gym เพื่อช่วยให้สมองทั้งด้านซ้ายและสมองด้านขวาทางานประสานกันได้ดี
1.3 ขั้นที่ 3 ขั้นการถ่ายโยงการเรียนรู้ (Transfer of learning) หมายถึง การนำสิ่ง
เรียนรู้แล้วไปใช้ในสถานการณ์ใหม่
1.4 ขั้นที่ 4 การลงมือปฏิบัติ (Action Finding) หมายถึง การปฏิบัติตามลำดับ
ขั้นตอนของวิธีการแก้ปัญหาที่ได้วางแผนไว้
1.5 ขั้นที่ 5 การประเมินผล (Assessment Finding) หมายถึง การนำเสนอผลที่ได้จากลงมือปฏิบัติมาอธิบาย หรือแสดงว่าเป็นวิธีการที่สามารถใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และมีประโยชน์อย่างไร
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning : BBL) พัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
(มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.00- 4.80) และความคิดเห็นของครูต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning : BBL) พัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลประเมินโดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 2.70, S.D. = 0.47)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning : BBL) พัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 การทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า คะแนนเต็ม 30 คะแนน นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน 15.50 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 51.67 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน 24.55 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 81.83 แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning : BBL) พัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทำให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจเพิ่มขึ้น
4. ผลการประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning : BBL) พัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้
1) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า คะแนนเต็ม 30 คะแนน นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน 16.06 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 53.55 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน 25.26 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 84.19 ซึ่งไม่น้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัย
2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning : BBL) พัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก