บทสรุป
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นโนรา เพื่อการเรียนรู้
อย่างมีความสุขของนักเรียน โรงเรียนวัดบ้านพร้าว ปีการศึกษา 2557
ผู้รายงาน นายธงชัย โชติช่วง
ปีที่รายงาน 2559
การประเมินโครงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นโนราเพื่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียน โรงเรียนวัดบ้านพร้าว ปีการศึกษา 2557 ในการประเมินครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์
เพื่อประเมินโครงการด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการดำเนินงาน
และด้านผลผลิต โดยประยุกต์รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ตรวจสอบโครงการ และพัฒนาโครงการด้วยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตามลักษณะของโครงการที่ดี
โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน จำนวน 89 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า
5 ระดับ จำนวน 10 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) และการหาค่าความเชื่อมั่น (- Coefficient) ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ พบว่า โดยภาพรวม และรายด้านประกอบด้วย ด้านความต้องการจำเป็นของโครงการ ด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ และด้านความเป็นไปได้ของโครงการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านประกอบด้วย ด้านบุคลากรในการดำเนินงาน ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่ และด้านการบริหารจัดการและหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านประกอบด้วย ด้านการวางแผนการดำเนินงาน ด้านการดำเนินการจัดกิจกรรมโครงการ และด้านการประเมิน สรุป และรายงานผลโครงการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ พบว่า
4.1 ผลการประเมินความคิดเห็นของครูที่มีต่อผลการดำเนินโครงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นโนราเพื่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียน โรงเรียนวัดบ้านพร้าว
ปีการศึกษา 2557 พบว่า โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการประเมินความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อผลการดำเนินโครงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นโนราเพื่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียน โรงเรียนวัดบ้านพร้าว
ปีการศึกษา 2557 พบว่า โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลการประเมินความคิดเห็นของครูที่มีต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุข
ของนักเรียน โรงเรียนวัดบ้านพร้าว ปีการศึกษา 2557 พบว่า โดยภาพรวมมีความคิดเห็น
อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการประเมินความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุข
ของนักเรียน โรงเรียนวัดบ้านพร้าว ปีการศึกษา 2557 พบว่า โดยภาพรวมมีความคิดเห็น
อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5 ผลการประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นโนราเพื่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียน โรงเรียนวัดบ้านพร้าว ปีการศึกษา 2557 พบว่า โดยภาพรวมมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.6 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นโนราเพื่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียน โรงเรียนวัดบ้านพร้าว ปีการศึกษา 2557พบว่า โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.7 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐานที่มีต่อโครงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นโนราเพื่อการเรียนรู้อย่างมีความสุข
ของนักเรียน โรงเรียนวัดบ้านพร้าว ปีการศึกษา 2557 พบว่า โดยภาพรวมมีความพึงพอใจ
อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
5. ด้านข้อเสนอแนะในการประเมินโครงการ พบว่า
5.1 ด้านสภาวะแวดล้อม ควรกำหนดการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นโนรา
ให้เป็นนโยบายระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ควรมีการชี้แจงนโยบายของโครงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นโนราเพื่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ทุกฝ่ายได้รับทราบอย่างทั่วถึง รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุน ให้เกิดความร่วมมือระหว่างโรงเรียน
กับผู้ปกครองและชุมชน ในการส่งเสริมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นโนรา ควรมีการกระตุ้นผู้ปกครองและชุมชนให้ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นโนรา อย่างต่อเนื่องและจริงจัง ควรมีการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้ปกครอง ชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่นปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อช่วยระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับแหล่งที่มาและความต้องการจำเป็นในการดำเนินโครงการ
5.2 ด้านปัจจัยเบื้องต้น นอกจากบุคลากรของสถานศึกษา ควรเชิญบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นโนรา โดยตรงสำหรับเป็นวิทยากรพิเศษถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียน ควรส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการพัฒนาด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นโนรา เพื่อนำมาใช้ในการปฏิบัติงานโครงการ ควรขอรับการสนับสนุนงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์
สื่อ เอกสาร เครื่องดนตรี เครื่องแต่งกายโนรา จากหน่วยงานต้นสังกัด และจากหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อช่วยสืบสานประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น ควรกำหนดขอบข่าย ขั้นตอนการดำเนินงานและปฏิบัติตามปฏิทินการดำเนินงานแต่ละกิจกรรมให้ครบถ้วนตามองค์ประกอบการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นโนรา นอกจากนี้ ควรจัดกิจกรรมระดมทุนเพื่อจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ เพิ่มเติม นอกจากนั้น โรงเรียนควรมีการพัฒนาครู นักเรียนแกนนำ ให้มีความรู้ และทักษะ
ในการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นโนรา
5.3 ด้านกระบวนการ ควรมีการแต่งตั้งหรือมอบหมายผู้รับผิดชอบงานแต่ละกิจกรรมให้เหมาะสม ตรงกับความรู้ความสามารถ มีการประชุมร่วมกันระหว่างผู้กำหนดนโยบาย
กับผู้ปฎิบัติตามโครงการ ควรเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการกำหนดกรอบการดำเนินงาน ควรส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวประวัติความเป็นมา เครื่องแต่งกาย
หรือเครื่องดนตรีของศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นโนรา ควรส่งเสริมและพัฒนาให้นักเรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติงานจริง เช่น เป็นวิทยากรโนรารุ่นเยาว์ให้ความรู้เกี่ยวกับโนราแก่เพื่อน
และรุ่นน้อง ควรส่งเสริมการแสดงออกด้านโนราของนักเรียนต่อสาธารณชน รวมทั้งควรมีการนิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงานแต่ละกิจกรรม โดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสม และเปิดโอกาสให้บุคลากรหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ร่วมในการนิเทศ ติดตาม อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำผลที่ได้มาวิเคราะห์
และประเมินผลในการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง
5.4 ด้านผลผลิต ควรมีจัดกิจกรรเรียนรู้เพื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นโนรา
ทุกชั้นเรียน ควรสนับสนุนให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถ และแสดงออกด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นโนราเพิ่มขึ้น ควรปลูกฝังความรู้ ทักษะ และความสามารถ พร้อมกับการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นโนรา ควรปลูกฝังให้นักเรียนเห็นคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นโนรา มุ่งมั่นในการฝึกซ้อม
และใช้เวลาฝึกซ้อมนอกเหนือจากเวลาเรียนปกติ ควรปลูกฝัง ให้นักเรียนตระหนัก มีเจตคติที่ดี
ต่อการสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นโนรา รวมทั้งครูและบุคลากรต้องเสียสละในการฝึกซ้อมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นโนราให้กับนักเรียน