ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กลอนค่านิยม ๑๒ ประการของคนไทย เป็นสื่อ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและการอ่านจับใจความ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
ชื่อผู้วิจัย เรณู ชิดเชื้อ
ปีที่ศึกษา ๒๕๕๗
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กลอนค่านิยม ๑๒ ประการของคนไทย เป็นสื่อเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กลอนค่านิยม ๑๒ ประการของคนไทย เป็นสื่อเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ๒) เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กลอนค่านิยม ๑๒ ประการของคนไทย เป็นสื่อ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ๓) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กลอนค่านิยม ๑๒ ประการของคนไทย เป็นสื่อเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ๔) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กลอนค่านิยม ๑๒ ประการของคนไทย เป็นสื่อเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (Research and Development) ซึ่งผู้วิจัยได้แบ่งขั้นตอนการวิจัยเป็น ๔ ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ ๑ การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : R๑) ขั้นตอนที่ ๒ การออกแบบและพัฒนารูปแบบการสอน (Design and Development : D๒) ขั้นตอนที่ ๓ นำรูปแบบการเรียนการสอนไปใช้ (Implement : R๒) และขั้นตอนที่ ๔ ประเมินผลรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กลอนเป็นสื่อ (Evaluation : D๒) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ๑) กลอนประกอบการสอนค่านิยม ๑๒ ประการของคนไทย สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ ๓ ที่ผู้วิจัยแต่งขึ้น จำนวน ๑๓ กลอน ๒) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กลอนค่านิยม ๑๒ ประการของคนไทย เป็นสื่อ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๑๓ แผน ๓) แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านออกเสียงและการอ่านจับใจความ ก่อนเรียนและหลังเรียน และ ๔) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กลอนค่านิยม ๑๒ ประการของคนไทย เป็นสื่อเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนเทศบาล ๖ (วัดตันตยาภิรม ) เทศบาลนครตรัง ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๗ จำนวน จำนวน ๒๙ คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน ๑๓ แผน รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กลอนค่านิยม ๑๒ ประการของคนไทย เป็นสื่อ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและการอ่านจับใจความ ๑ เล่มใช้เวลา ๑๓ ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน ๓ ฉบับ มีความเชื่อมั่นแต่ละฉบับ ฉบับที่ ๑ เท่ากับ ๐.๘๖๓ ฉบับที่ ๒ เท่ากับ ๐.๘๗๖และฉบับที่ ๓ เท่ากับ ๐.๘๖๙ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลอนค่านิยม ๑๒ ประการของคนไทย เป็นสื่อ จำนวน 10 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๙๔๗ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่า ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย สองค่าจากกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว (t-test for Paired Samples) ผลการวิจัยพบว่า
สรุปผลการวิจัย
จากการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กลอนค่านิยม ๑๒ ประการของคนไทย เป็นสื่อ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ สามารถสรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้
ตอนที่ ๑ ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กลอนค่านิยม ๑๒ ประการของคนไทย เป็นสื่อ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กลอนค่านิยม ๑๒ ประการของคนไทย เป็นสื่อเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โดยการศึกษาข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนพบปัญหาในการอ่านออกเสียงและการอ่านจับใจความ ดังนี้
๑. สาเหตุของความผิดพลาดในการอ่าน
๑.๑ สาเหตุของความผิดพลาดในการอ่านออกเสียง
-จากตัวนักเรียน เด็กทั่วไปมีวุฒิภาวะแตกต่างกัน เด็กบางคนอาจมีความบกพร่องทางสติปัญญา อารมณ์ สายตาผิดปกติ อวัยวะในการรับฟังผิดปกติ อวัยวะการออกเสียงผิดปกติ
-จากตัวครู ครูส่วนมาก ไม่เป็นแบบอย่าง ที่ถูกต้องแก่เด็ก และขาดการฝึกที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่องให้เด็ก