ชื่อเรื่อง การประเมินผลโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน โรงเรียนนาทรายวิทยาคม
ผู้ประเมินโครงการ นายประหยัด ปัดถาวะโร
หน่วยงาน โรงเรียนนาทรายวิทยาคม
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินผลโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โรงเรียนนาทรายวิทยาคม ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน โรงเรียนนาทรายวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี โดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน
2) เพื่อเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมก่อนและหลังการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ของนักเรียนโรงเรียนนาทรายวิทยาคม
3) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียนโรงเรียนนาทรายวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี
โดยใช้รูปแบบจำลองชิปป์ (CIPP MODEL) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครู และนักเรียนรวมทั้งสิ้นจำนวน 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย(μ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(σ) และค่า t test โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
สรุปผลการประเมินโครงการ พบว่า
1. ด้านสภาวะแวดล้อม พบว่า ระดับการปฏิบัติโดยรวมทุกข้อ อยู่ในระดับการปฏิบัติ มาก
เรียงอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ 1)เป็นโครงการที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล 2) โครงการสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนตามแนว 3) เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์แก่นักเรียน
2. ด้านปัจจัย พบว่า ระดับการปฏิบัติโดยรวมทุกข้อ อยู่ในระดับการปฏิบัติ มาก
เรียงอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ1)วิทยากรมาให้การอบรมมีความรู้ความสามารถ 2) มีคณะกรรมการดำเนินการที่ชัดเจน 3) ความร่วมมือของบุคลากรในการดำเนินโครงการ
3. ด้านกระบวนการ พบว่า ระดับการปฏิบัติโดยรวมทุกข้อ อยู่ในระดับการปฏิบัติ มาก
เรียงอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ 1)มีการวิเคราะห์และนำผลการประเมินมาพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง 2) มีการวางแผนการดำเนินโครงการ 3) มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม การดำเนินโครงการ
4. ด้านผลผลิต พบว่า ระดับการปฏิบัติโดยรวมทุกข้อ อยู่ในระดับการปฏิบัติ มาก
เรียงอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ 1)มีการวิเคราะห์และนำผลการประเมินมาพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง 2) มีการวางแผนการดำเนินโครงการ 3) มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม การดำเนินโครงการ
4.1 ผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียนก่อนการพัฒนาและหลังการพัฒนา ผลการประเมิน พบว่า
ก่อนการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ระดับการมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยรวมทุกข้อ อยู่ในระดับการปฏิบัติ ปานกลาง เมื่อพิจารณารายข้ออยู่ในระดับการปฏิบัติ ปานกลาง ทุกข้อ เรียงอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ 1) ด้านใฝ่เรียนรู้ 2) ด้านอยู่อย่างพอเพียง 3)ด้านซื่อสัตย์สุจริต
หลังการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ระดับการมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยรวมทุกข้อ อยู่ในระดับการปฏิบัติ มาก เมื่อพิจารณารายข้ออยู่ในระดับการปฏิบัติ มาก ทุกข้อ เรียงอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ 1) ด้านอยู่อย่างพอเพียง 2) ด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 3)ด้านมีจิตสาธารณะ
เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนการประเมินก่อนการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์และหลังการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้วย t test พบค่า t = 11.36 ซึ่งมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงอาจกล่าวได้ว่า ผลสัมฤทธิ์หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างเชื่อมั่นได้ที่ 99% ผลของการวิเคราะห์พออนุมานได้ว่า โครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน มีประสิทธิภาพในการเพิ่มคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนให้สูงขึ้น
5. ด้านผลกระทบ พบว่า ระดับการปฏิบัติโดยรวมทุกข้อ อยู่ในระดับการปฏิบัติ มาก
เรียงอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ 1)สามารถปฏิบัติตนตามลักษณะอันคุณประสงค์ 2) สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปแนะนำคนอื่น 3) สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
6. ผลการประเมินระดับความพึงพอใจต่อกิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ 1) ครูดูแลเอาใจใส่ ในการทำกิจกรรม 2) ความรู้ที่ได้รับหลังเข้าร่วมโครงการ 3)ความเหมาะสมของลำดับขั้นตอนการจัดกิจกรรม