ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดคูหาสวรรค์)
อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก สำนักการศึกษาเทศบาลนครพิษณุโลก
ชื่อผู้ศึกษา นางอุมาพร สวนเศรษฐ
ปีที่วิจัย ๒๕๕๘
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเขียน เชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ให้ได้ตาม เกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนจากการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖/๑ โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดคูหาสวรรค์) อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก สำนักการศึกษาเทศบาลนครพิษณุโลก ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ จำนวน ๑ ห้อง รวมทั้งสิ้น ๓๕ คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ จำนวน ๕ เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยประสิทธิภาพ (E1/E2) หาค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. และ t-test Dependent
อภิปรายผล
จากการพัฒนาการเรียนการสอน โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีประเด็นที่จะนำมาอภิปรายดังนี้
๑. จากผลการศึกษา พบว่า แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ ๘๓.๔๓/๘๑.๗๙ หมายความว่านักเรียน
ได้คะแนนเฉลี่ยจากการทำกิจกรรมแบบฝึกระหว่างเรียน ในแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์
ทั้ง ๕ เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ ๑๗ แผน คิดเป็นร้อยละที่นักเรียนทำได้ถูกต้องเท่ากับ ๘๓.๔๓
และนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์จากการเรียนหลังจากเรียนจบ
ทุกเล่ม คิดเป็นร้อยละที่ผู้เรียนแต่ละคนได้ถูกต้องเท่ากับ ๘๑.๗๙ แสดงว่าแบบฝึกทักษะการเขียน
เชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์นั่นเป็นเพราะแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์เป็นสื่อที่น่าสนใจ ทำให้นักเรียนมีความสนใจและตั้งใจที่จะปฏิบัติกิจกรรมที่มีการสร้างอย่างมีประสิทธิภาพตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ และผ่านการทดลองใช้กับนักเรียน เพื่อปรับภาษาและรูปแบบจึงทำให้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
๒. ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการใช้แบบฝึกทักษะ
การเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ พบว่า ค่าเฉลี่ยของนักเรียนจากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หลังเรียนสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
๓. ด้านความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ พบว่ามีค่าเฉลี่ย ๔.๓๒ อยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากแบบฝึกที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเริ่มจากกิจกรรมที่ง่ายไปหายาก มีแบบฝึกและกิจกรรมที่หลากหลาย มีภาพประกอบ มีการวางรูปแบบที่ดี สามารถศึกษาค้นคว้าได้ด้วยตนเอง ทำให้นักเรียนเกิดความสนใจ เพลิดเพลิน และมีความสุขในการทำแบบฝึกการเขียนเชิงสร้างสรรค์