ชื่อเรื่อง การวิจัยเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่องดนตรีไทย
สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลนาดี
ผู้วิจัย ศุภฤกษ์ จันทร์ดาประดิษฐ์
ปีที่ทำการวิจัย 2556 - 2557
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นรายวิชาเพิ่มเติม เรื่องดนตรีไทย สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลนาดี 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นรายวิชาเพิ่มเติม เรื่องดนตรีไทย สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลนาดี 3) เพื่อทดลองใช้หลักสูตรท้องถิ่นรายวิชาเพิ่มเติม เรื่องดนตรีไทย สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลนาดี และ 4) เพื่อประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรท้องถิ่นรายวิชาเพิ่มเติม เรื่องดนตรีไทย สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลนาดี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในทดลองของการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับประถมศึกษา ปีการศึกษา 2557 จำนวน 474 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นรายวิชาเพิ่มเติม เรื่องดนตรีไทย สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลนาดี พบว่า หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้กระจายอำนาจใหทองถิ่นและสถานศึกษาพัฒนาหลักสูตร โดยหน่วยงานระดับทองถิ่นจะตองจัดทํากรอบหลักสูตรระดับทองถิ่น สำหรับให้สถานศึกษาใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนในเรื่องเกี่ยวกับทองถิ่น โดยแบ่งประเภทรายวิชาเป็นรายวิชาพื้นฐาน และรายวิชาเพิ่มเติม ซึ่งเปนรายวิชาที่สถานศึกษาแตละแหง สามารถเปดสอนเพิ่มเติม เพื่อใหสอดคลองกับจุดเนน ความตองการของผูเรียนและทองถิ่น หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลนาดี ได้จัดทำรายวิชาเพิ่มเติม สอดคล้องกับจุดเน้นของท้องถิ่น โดยจัดให้มีรายวิชาเพิ่มเติมเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมไทย เรื่องดนตรีไทย ซึ่งในตำบลนาดีมีศิลปะการแสดงโขนสดและดนตรีไทยที่มีชื่อเสียงมายาวนาน ควรที่ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบไป
2. ผลการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นรายวิชาเพิ่มเติม เรื่องดนตรีไทย สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลนาดี พบว่า หลักสูตรท้องถิ่นรายวิชาเพิ่มเติม เรื่องดนตรีไทย สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลนาดี มีเป้าหมายให้นักเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะการแสดงดนตรีไทย ประกอบตามหัวข้อต่างๆ คือ 1) แนวคิด 2) หลักการ 3) จุดหมาย 4) ผลการเรียนรู้ 5) คำอธิบายรายวิชา 6) โครงสร้างรายวิชา 7) ขอบข่าย 8) เวลาเรียน 9) แนวทางการจัดการเรียนรู้ 10) สื่อการจัดการเรียนรู้ 11) การวัดและประเมินผล 12) หน่วยการเรียนรู้ และหลักสูตรมีความเหมาะสมและสอดคล้อง สามารถนำไปทดลองใช้ได้
3. ผลการทดลองใช้หลักสูตรท้องถิ่นรายวิชาเพิ่มเติม เรื่องดนตรีไทย สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลนาดี พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาให้ความเห็นชอบในการใช้หลักสูตรฯ ครูและผู้เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจ สามารถจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ และจัดกิจกรรม การเรียนรู้ได้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ และเป็นไปตามขั้นตอนการทดลองใช้หลักสูตรฯ
4. ผลการประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรท้องถิ่นรายวิชาเพิ่มเติม เรื่องดนตรีไทย สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลนาดี พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ชอบเรียนดนตรีไทย ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรฯ อยู่ในระดับดีมากทุกด้าน ฝ่ายบริหารโรงเรียน ครู กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ผู้นำในท้องถิ่น และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีความคิดเห็นว่าควรสอนการแสดงดนตรีไทย โดยการให้นักเรียนได้ฝึกหัดการแสดงกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำให้นักเรียนได้เห็นคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งตำบลนาดีมีคณะโขนสด ดนตรีไทย ที่มีชื่อเสียง ทำการแสดง สืบทอดกันมาอย่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน และการให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาสอนการแสดงดนตรีไทย ให้แก่นักเรียน เป็นการช่วยอนุรักษ์ศิลปะการแสดงดนตรีไทย ให้คงอยู่คู่กับตำบลนาดี จังหวัดสมุทรสาคร ตลอดไป