ชื่อรายงาน รายงานประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่องสารรอบตัว
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
โรงเรียนบ้านเกาะหมี
อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ชื่อผู้รายงาน นางมริสา เพ็ชรขาว
ตำแหน่ง ครูชำนาญการ
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านเกาะหมี อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ปีที่ทำการรายงานปีการศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การรายงานประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนรู้ เรื่อง สารรอบตัวกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์ของการรายงาน1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนรู้ เรื่อง สารรอบตัว กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 2)เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีต่อการใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่องสารรอบตัว กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1และ3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่องสารรอบตัว กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1เครื่องมือที่ใช้รายงานประกอบด้วย1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องสารรอบตัว กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1จำนวน 6 แผนจัดการเรียนรู้ 2)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องสารรอบตัวกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 100 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่องสารรอบตัว กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1จำนวน 15 ข้อ ประชากรที่ใช้ในการรายงานจำนวน 20 คนเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เท่ากับ 81.10/84.67 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดให้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องสารรอบตัวกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เท่ากับ 3.57แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนร้อยละ35.70
3. ความพึงพอใจเอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่อง สารรอบตัว กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ด้านรูปแบบของเอกสารประกอบการเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.58 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.39ด้านกระบวนการเรียนรู้มีความพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.36ด้านความรู้ความเข้าใจ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.70 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.42