ชื่อเรื่อง การดำเนินการศึกษาตามอัธยาศัยในศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทย
ของแม่ครูราตรี ศรีวิไล อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
ผู้วิจัย บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
อาจารย์ที่ปรึกษา ดร.โกศล ศรีสังข์
ปริญญา ศษ.ม. สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีที่พิมพ์ พ.ศ. 2554
บทคัดย่อ
การวิจัยแบบผสมผสานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องต่อการดำเนินการศึกษาตามอัธยาศัยในศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยของแม่ครูราตรี ศรีวิไล อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาชีวประวัติและผลงานของแม่ครูราตรี ศรีวิไลโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดตั้ง และการดำเนินการตามอัธยาศัยในศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยของแม่ครูราตรี ศรีวิไล และ 3) เพื่อศึกษาหาแนวทางอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยถิ่นอีสาน (หมอลำ) ในการดำเนินการวิจัยได้ศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยได้สำรวจ สัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ จากแม่ครูราตรี ศรีวิไลเอง และบุคคลที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง โดยคอมพิวเตอร์และการพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องต่อการดำเนินการศึกษาตามอัธยาศัยในศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยของแม่ครูราตรี ศรีวิไล พบว่า ความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทย ของแม่ครูราตรี ศรีวิไล มีต่อการดำเนินการในระดับมากถึงมากที่สุดทั้งโดยภาพรวมและในรายด้าน เมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่า มีการดำเนินการสูงสุดใน ด้านองค์กร และการบริหารจัดการ รองลงมาได้แก่ ด้านผู้เรียน ด้านผลกระทบต่อสังคม และด้านที่ดำเนินการต่ำสุด คือ ด้านงบประมาณ
2. ชีวประวัติและผลงาน แม่ครูราตรี ศรีวิไล เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2495 ที่อำเภอโกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม เดิมชื่อ ราตรีสวัสดิ์ อุ่นทะยา ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น ราตรีศรีวิไล และใช้นามสกุลตามสามีคุณวิชิต บงสิทธิพร มีลูกด้วยกันสองคน หลังจบประถมศึกษาปีที่ 4 แล้วเรียนการศึกษานอกโรงเรียน และศึกษาสูงขึ้นไปเรียนจนจบปริญญาโท และกำลังศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาดุริยางค์ศิลป์ ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งแต่เยาว์แม่ครูราตรี ศรีวิไล ในวัยเด็กสาว แม่ครูราตรี ศรีวิไล ได้ศึกษาวิชาชีพหมอลำกลอน การแต่งกลอนลำ จากบิดา มารดา พี่ชาย และพี่สาว เธอมีพรสวรรค์ และแรงบันดาลใจสูงส่ง จนยึดเป็นอาชีพตลอดมา ปีพ.ศ. 2529 แม่ครูราตรี ศรีวิไลได้เป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นหมอลำกลอนประยุกต์ (หมอลำซิ่ง) ขึ้น จนเป็นที่รู้จักกันไปทั่วประเทศ และได้สร้างผลงานอย่างมากมาย ทั้งในเชิงทำมาหากิน และในการช่วยเหลือทางราชการในโครงการรณรงค์ส่งเสริมต่าง ๆ ของรัฐ ให้ไปแสดงช่วยงานสาธารณในโครงการรณรงค์ส่งเสริมวัฒนธรรม และเผยแพร่ข่าวสารบ้านเมืองเพื่อช่วยเหลือสังคมในด้านต่าง ๆ ปีพ.ศ. 2547 แม่ครูราตรี ศรีวิไลได้ก่อตั้งศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น โดยมีความมุ่งมั่นที่จะอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคม เนื้อหาสารของการดำเนินการศึกษาตามอัธยาศัยในศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยของแม่ครูราตรี ศรีวิไล ประกอบไปด้วย 6 ประการได้แก่ 1) ด้านองค์กรและการบริหารจัดการ 2) ด้านบุคลากร 3) ด้านงบประมาณ 4) ด้านผู้เรียน 5) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และ 6) ด้านผลกระทบต่อสังคม
3. แนวทางในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยถิ่นอีสาน (หมอลำ) พบว่า 1) ภูมิปัญญาอีสาน
(หมอลำ) เป็นศิลปะที่ประชาชนรัก ชื่นชม หวงแหน และสนใจเรียนอยู่ไม่ขาดสาย เพราะเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของตน 2) แต่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงค่านิยมของสังคม และวัฒนธรรม ผู้ห่วงใยจำเป็นต้องมีการปรับประยุกต์ ทั้งด้านรูปแบบการสื่อสาร และเนื้อหา ของหมอลำให้ทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน 3) ที่ศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยของ แม่ครูราตรี ศรีวิไล และที่อื่น ควรตั้งศูนย์ข้อมูล และให้บริการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง โดยรัฐให้การสนับสนุน ด้านงบประมาณ 4) ทางการควรให้เกียรติและกำลังใจ กับศิลปินที่ทุ่มเท เช่น แต่งตั้งแม่ครูราตรี ศรีวิไลเป็นศิลปินแห่งชาติ เป็นต้น
TITLE The Administration of Informal Education at Maekru Ratree Srivilais
Thai Wisdom Learning Center in Khon Kaen
AUTHOR Boonjan Jomsriprasert
ADVISOR Dr. Koson Srisang
DEGREE M. Ed. MAJOR Educational Administration
UNIVERSITY North Eastern University YEAR 2011
ABSTRACT
The objectives of this mixed methods research were 1) to study the opinions of people involved on the administration at of informal education at Maekru Ratree Srivilais Thai Wisdom Learning Center in Muang district, Knon Kuen province, 2) to study the life and work of Maekru Ratree Srivilai especially the establishment and the administration of her Thai wisdom Learning Center in Khon Kaen, and 3) to seek ways to conserve Thai-Isan local wisdom (maw lam). The research was conducted by way of literature and related research review, opinions survey and in-depth interviews. Quantitative data were analyzed by computer and qualitative data were descriptively analyzed.
The research findings were as follows:
1. On the opinions of people involved in Maekru Ratree Srivilai Wisdem Learning Center on the administration of this informal education center, the following findings were made: On the whole and by aspects the ratings were high and highest. By aspects, organization and management ranked the highest followed by the aspects of learners, impact on society and the aspect of budget took the bottom place.
2. Life and work: Maekru Ratree Srivilai was born on January 2, 2495 in Kosumphisai district, Mahasrakham province. Born Ratreesawat Ountaya, she took on new name Ratreesrivilai Bongsitthiparn, using the last name of her husband, Khan Wichit. After finishing grade 4 she continued non-formal education until the Matters degree level at Maha Sarakham University with music arts major. She is currently enrolled in a doctoral program in the same field at the same university. In her youth, she studied the arts of maw lam and maw lum composing from her fatter, mother, brothers and sisters. Her talents and keen interests brought her fame and gave hera professivion. In 2529 Makru Ratree Srivilai ereated maw lam Klon prayuk (modernized maw lam) or otherwise known as maw lam sing which became nationally popular. In terms of work, she has achieved a great deal, both as profession and as service to the nation, performing for the benefits of all kinds of charities and national social campaigns. In 2547 Maekru Ratree Sivilai started a Wisdom Learning Center in Khon Kaen with the sole determination to conserve Thai local wisdom in the face of rapid social changes The contents of the administration of informal education at Maekru Ratree Sivilais Thai Wisdom Learning Center consisted of 6 aspects, namely, 1) organization and administration, 2) personnel, 3) budget, 4) learners, 5) teaching and learning activities and 6) impacts on society .
3. With regards to guidelines to conserve Thai-Isan local wisdom (maw lam), the following snggestions were found: 1) Maw lam is the identify arts of Isan people, beloved and entertaining as well as concerned for its survival. 2) Technological advancement and basic changes in social and cultural values people concerned must adapt both the media presentation and the contents of maw lam so as to meet the current needs of the public; 3) Data and information center should be set up with government subsidy at Maekru Ratree Svivilai Wisdom Learning Center in order to collect and store the wealth of maw lam for the benefits of the pubtic; 4) Official authorities should honor and reward artists who have dedicated for the cause of maw lam as already happened; and this research shows that Maekru Ratree Srivilai should be next on the list of national artists