ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา
และพลศึกษา(พลศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้ศึกษา นายมรุตม์ รักษาธรรม ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
โรงเรียนเทศบาลมาบตาพุด สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองมาบตาพุด
ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง
ปีที่ศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะกีฬา
ฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (พลศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (พลศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (พลศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนเทศบาลมาบตาพุด สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองมาบตาพุด
ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบฝึกเสริมทักษะกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (พลศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะกีฬาฟุตซอล จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคำนวณสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยโดยใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกเสริมทักษะกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
(พลศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคุณภาพมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.83 / 84.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (พลศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกเสริมทักษะกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (พลศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.69 )