การพัฒนาชุดการสอนลดอคติและเปิดกว้างทางการคิด วิชาสังคมศึกษา สาระการเรียนรู้หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นการพัฒนานวัตกรรม การสอนแบบ One Group Pretest Posttest Design มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาชุดการสอนให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา สาระการเรียนรู้หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคมของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและ หลังเรียนด้วยชุดการสอนลดอคติและเปิดกว้างทางการคิด (3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการ คิดคล่อง คิดรอบคอบ คิดแปลกใหม่น่าสนใจ คิดหลากหลาย คิดครอบคลุม และคิดในมุมมองผู้อื่น ของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการสอน และ (4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอน ในประเด็นเปรียบเทียบคุณลักษณะลดอคติและเปิดกว้างทางการคิด ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการสอน และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการสอน
ประชากรในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนศรัทธาสมุทร ที่เรียนวิชาวิชาสังคมศึกษา สาระการเรียนรู้หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย (1) แบบสังเกตพฤติกรรมที่เป็นปัญหาพื้นฐานในการคิดของนักเรียน (2) แบบประเมินคุณภาพของชุดการสอน (3) ชุดการสอนลดอคติ และเปิดกว้างทางการคิด (4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (5) แบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิด (6) แบบประเมินการคิดด้วยตนเอง และ (7) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ดำเนินการทดลองโดยผู้รายงานเป็นผู้ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง โดยทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมสาระการเรียนรู้หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคมก่อนเรียน ทดสอบวัดความสามารถในการคิดคล่อง คิดรอบคอบ คิดแปลกใหม่น่าสนใจ คิดหลากหลาย คิดครอบคลุม และคิดในมุมมองผู้อื่นก่อนเรียน นักเรียนประเมินคุณลักษณะลดอคติและเปิดกว้างทางการคิดก่อนเรียน ด้วยแบบประเมินการคิดด้วยตนเอง จากนั้น ให้กลุ่มตัวอย่างได้เรียนรู้และปฏิบัติกิจกรรมตามชุดการสอน เมื่อจบทุกบทเรียนแล้วจึงทดสอบด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทดสอบความสามารถทางการคิด ประเมินคุณลักษณะลดอคติและเปิดกว้างทางการคิด และสำรวจความพึงพอใจของนักเรียน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ทั้งก่อนและหลังเรียนมาวิเคราะห์ โดยหาประสิทธิภาพของชุดการสอน (E1/E2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ค่าที t test (Dependent Samples) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ค่าที t test (Dependent Samples) เปรียบเทียบคุณลักษณะลดอคติและเปิดกว้างทางการคิดก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ ค่าที t test (Dependent Samples) วิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของนักเรียนด้วยค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เทียบเกณฑ์
ผลการศึกษา สรุปได้ดังนี้
1. ชุดการสอนลดอคติและเปิดกว้างทางการคิด วิชาสังคมศึกษา สาระการเรียนรู้หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพกระบวนการ (E1) ร้อยละ 85.52 และประสิทธิภาพด้านผลลัพธ์ (E2) ร้อยละ 84.43 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา สาระการเรียนรู้หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคมของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการสอนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน
3. ความสามารถในการคิดคล่อง คิดรอบคอบ คิดแปลกใหม่น่าสนใจ คิดหลากหลาย คิดครอบคลุม และคิดในมุมมองของผู้อื่นของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการเรียนด้วยชุดการสอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกความสามารถการคิดโดยคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดก่อนเรียนด้วยชุดการสอนทุกประเภทความสามารถการคิด
4. นักเรียนมีความคิดเห็นหลังจากเรียนโดยใช้ชุดการสอน ดังนี้
4.1 คุณลักษณะลดอคติและเปิดกว้างทางการคิดของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกคุณลักษณะ โดยคะแนนเฉลี่ยคุณลักษณะลดอคติและเปิดกว้างทางการคิดหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยคุณลักษณะลดอคติ และเปิดกว้างทางการคิดก่อนเรียนด้วยชุดการสอนทุกคุณลักษณะ
4.2 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดการสอนในระดับ มากที่สุด