ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)
เรื่อง ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้ศึกษา นางสาวจุฑามาศ ทาหว่างกัน
ตำแหน่ง ครู ค.ศ.2 โรงเรียนแม่กุวิทยาคม อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง ระบบประสาท
และอวัยวะรับความรู้สึก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์
1) เพื่อศึกษาผลการสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง ระบบประสาท
และอวัยวะรับความรู้สึก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)
เรื่อง ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก
3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนแม่กุวิทยาคม อำเภอแม่สอด จังหวัดตากจำนวน 85 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนแม่กุวิทยาคม อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จำนวน 34 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเชื่อมั่น ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ร้อยละ ค่า ttest Dependent
ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง ระบบประสาทและอวัยวะ
รับความรู้สึก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานโดยรวมทั้ง 6 ชุด เท่ากับ 87.01/85.37
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น โดยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วย
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้
แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก โดยภาพรวมอยู่ในระดับ
มากที่สุด