ชื่อเรื่อง รายงานการใช้แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่
รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ว23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางกรรณิการ์ ศรีกุดตา
หน่วยงาน โรงเรียนมัธยมภูฮังพัฒนวิทย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24
ปีที่พิมพ์ 2557
บทคัดย่อ
แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาทักษะ โดยอาศัยการฝึกฝนหรือปฏิบัติด้วยตนเองของนักเรียน ลักษณะปัญหาในแบบฝึกทักษะจะเป็นปัญหาที่เสริมทักษะพื้นฐานโดยกำหนดขึ้นให้นักเรียนตอบเรียงลำดับจากง่ายไปยาก ปริมาณของปัญหาต้องเพียงพอที่สามารถตรวจสอบและพัฒนาทักษะกระบวนการคิด กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน ที่เรียนไปแล้ว เพื่อนำไปใช้ในการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมที่จะทำให้นักเรียนพยายามสร้างความรู้ใหม่ โดยอาศัยฐานความรู้เดิมเป็นการฝึกให้นักเรียนเรียนรู้ โดยการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง จึงเป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้การจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การวิจัยครั้งนี้ความมุ่งหมายดังนี้ (1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 (2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (4) เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนมัธยมภูฮังพัฒนวิทย์ อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 21 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม (Sampling Unit) จากจำนวน 2 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน 4 ชนิด ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 12 แผน ซึ่งมีแผนละ 1 ชั่วโมง 6 แผน และแผนละ 2 ชั่วโมง 6 แผน (2) แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 เล่ม (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.28 ถึง 0.50 และค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.24 ถึง 0.88 ค่าความเชื่อมั่น ( ) เท่ากับ 0.93 (4) แบบวัดความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ ค่าอำนาจจำแนก ( ) มีค่าตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.60 ค่าความเชื่อมั่น ( ) เท่ากับ 0.81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 77.10 / 76.67 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75
2. ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.680 คิดเป็นร้อยละ 68.00
3. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีระดับความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
4. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการ
เคลื่อนที่ รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความคงทนในการเรียนรู้
โดยสรุป แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ นี้ มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล นักเรียนมีความพึงพอใจ และความคงทนในการเรียนรู้ สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้