ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทัศนศิลป์ของนักเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการพัฒนาพื้นฐาน
งานทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง การจัดองค์ประกอบศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้ศึกษา นางทัศสุวรรณ ทองชู
ปีที่ศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะ
การพัฒนาพื้นฐานงานทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง การจัดองค์ประกอบศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการพัฒนาพื้นฐานงานทัศนศิลป์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง การจัดองค์ประกอบศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนทัศนศิลป์ของนักเรียน ก่อนและหลังการเรียนโดยใช้แบบฟิกทักษะการพัฒนาพื้นฐาน งานทัศนศิลป์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง การจัดองค์ประกอบศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ
ของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการพัฒนาพื้นฐานงานทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ เรื่อง การจัดองค์ประกอบศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาล ๒ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 39 คน ที่ได้มา
โดยการสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบฝึกทักษะการพัฒนาพื้นฐานงานทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง การจัดองค์ประกอบศิลป์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ค่าเฉลี่ย (X) ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ( ร.D.) ค่าร้อยละ ระดับคุณภาพ และค่า t (t - test Dependent Samples)
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะการพัฒนาพื้นฐานงานทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง การจัดองค์ประกอบศิลป์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.92/86.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะพัฒนาพื้นฐานงานทัศนศิลป์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง การจัดองค์ประกอบศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.7651 หมายความว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 76.51
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการพัฒนาพื้นฐานงานทัศนศิลป์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง การจัดองค์ประกอบศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการพัฒนาพื้นฐานงานทัศนศิลป์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง การจัดองค์ประกอบศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเฉลียอยูในระดับมากที่สุด