ชื่อเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี รายวิชาเพิ่มเติม
ท้องถิ่นพิจิตร (เกษตรอินทรีย์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 2 เทศบาลเมือง
ตะพานหิน จังหวัดพิจิตร
ผู้เขียน เพ็ญนี สุทธิพงษ์วิจิตร
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาคุณภาพของหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี รายวิชาเพิ่มเติม ท้องถิ่นพิจิตร (เกษตรอินทรีย์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 2 เทศบาลเมืองตะพานหิน จังหวัดพิจิตร 2) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรที่พัฒนาขึ้น ดังนี้ 2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 2 เทศบาลเมืองตะพานหิน จังหวัดพิจิตรก่อนและหลังเรียน ตามหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี รายวิชาเพิ่มเติม ท้องถิ่นพิจิตร (เกษตรอินทรีย์ )
2.2) ศึกษาทักษะปฏิบัติงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 2 เทศบาลเมืองตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ตามหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี รายวิชาเพิ่มเติม ท้องถิ่นพิจิตร (เกษตรอินทรีย์ ) 2.3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 2 สังกัดเทศบาลเมืองตะพานหิน หลังเรียนตามหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี รายวิชาเพิ่มเติม ท้องถิ่นพิจิตร (เกษตรอินทรีย์ ) โดยแบ่งการวิจัยเป็นขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 การวางแผนและศึกษาข้อมูลพื้นฐาน การวางแผนและศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ผู้วิจัยดำเนินการวางแผนงานการการสร้างและวิธีการหาคุณภาพหลักสูตร แนวคิด ทฤษฎี เอกสารวิชารการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยทำการศึกษาและวิเคราะห์ เอกสารและข้อมูลพื้นฐาน เช่น พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2545 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร ข้อมูลพื้นฐานเรื่องเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น
ขั้นที่ 2 การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร ผู้วิจัยจะดำเนินการจัดทำหลักสูตรฉบับร่าง ประกอบด้วยหลักการ จุดหมาย โครงสร้าง คำอธิบายรายวิชา การจัดเวลาเรียน สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ แนวการจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การวัดประเมินผลการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ เอกสารประกอบหลักสูตรและให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพและหาค่า (IOC) และนำข้อแนะนำมาปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร
ขั้นที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตร การทดลองใช้หลักสูตร ผู้วิจัยจะดำเนินการทดลองกับนักเรียน จำนวน 47 คนที่กำลังศึกษาในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 2 สังกัดเทศบาลเมืองตะพานหิน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ๆละ 2 ชั่วโมง รวม
16 ชั่วโมง
ขั้นที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตร การประเมินผลการวิจัย ผู้วิจัยจะดำเนินการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการทำกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และจะประเมินทักษะการปฏิบัติกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้ รวมถึงประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้ตามหลักสูตร รวมถึงการปรับปรุงหลักสูตรและจัดทำรูปเล่มหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี รายวิชาเพิ่มเติม ท้องถิ่นพิจิตร (เกษตรอินทรีย์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 2 สังกัดเทศบาลเมืองตะพานหิน ฉบับสมบูรณ์
ผลการวิจัย พบว่า
1.หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี รายวิชาเพิ่มเติม ท้องถิ่นพิจิตร (เกษตรอินทรีย์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 2 เทศบาลเมืองตะพานหิน จังหวัดพิจิตร มีความเหมาะสมระดับมาก
2.ผลการทดลองใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี รายวิชาเพิ่มเติม ท้องถิ่นพิจิตร (เกษตรอินทรีย์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 2 เทศบาลเมืองตะพานหิน จังหวัดพิจิตร
2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี รายวิชาเพิ่มเติม ท้องถิ่นพิจิตร (เกษตรอินทรีย์) สูงกว่าก่อนเรียนหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี รายวิชาเพิ่มเติม ท้องถิ่นพิจิตร (เกษตรอินทรีย์) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5
2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี รายวิชาเพิ่มเติม ท้องถิ่นพิจิตร (เกษตรอินทรีย์) สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5
2.3 ทักษะปฏิบัติงานของนักเรียนที่เรียนหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี รายวิชาเพิ่มเติม ท้องถิ่นพิจิตร (เกษตรอินทรีย์) โดยรวมมีคุณภาพอยู่ในรับดี
2.4 ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี รายวิชาเพิ่มเติม ท้องถิ่นพิจิตร (เกษตรอินทรีย์) ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก