บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)สร้างและพัฒนาชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบสะเต็มศึกษา 3)เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบสะเต็มศึกษา 4)ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่มเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/9 โรงเรียนหนองบัวแดงวิทยา จังหวัดชัยภูมิ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบสะเต็มศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 5 ตอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test) ที่ระดับ .05 ผลการศึกษา พบว่า
1. ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบสะเต็มศึกษามีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.27/86.83 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบสะเต็มศึกษามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบสะเต็มศึกษามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบสะเต็มศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ
สะเต็มศึกษา, สสาร พลังงาน กับการดำรงชีวิต
Sriwai Kanhathaisong. (2015). Interactions between the Properties of Matter and Energy: presented to Mattayomsuksa 2 Students at Nongbuadaengwittaya School by implementing an integrated STEM education approach to increase life-long scientific attitude and skills
The Purposes of this study were 1) to build and develop a set of teaching Units based on the STEM education approach in order to improve students scientific knowledge skills by the 80/80 efficiency system, 2) to compare the outcomes of the teaching Units before and after the use of the STEM educational approach 3) to compare students skills gained from the teaching Units before and after the use of the STEM educational approach 4) to investigate the students complacency towards the STEM educational approach.
The sample consisted of 39 Mattayomsuksa 2 Students at Nongbuadaengwittaya School, Chaiyaphum. The study instruments used for gathering data were: a set of 5 teaching Units based on the STEM educational approach, learning outcomes tests, problem solving abilities concerning science test and questionnaire. The statistical analysis was accomplished by computing the percentage (%), mean (x ̅), standard deviation (S.D.) and by using the t-test for the hypothesis testing.
The results of this study were:
Efficiency of the set of teaching Units based on the STEM education approach is 89.27/86.83, higher than the standard of 80/80
The outcomes of the teaching Units after the use of the STEM educational approach was higher than before as tested at a .05 significance level
The students skills gained from the teaching Units after the use of the STEM educational approach was higher than before as tested at a .05 significance level
The students complacency towards the STEM educational approach was very good
Keyword: STEM education, Matter Energy and Living