บทคัดย่อ
ชื่องานวิจัย รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการปฏิบัติงาน เรื่อง การประกอบ
อาหารพื้นบ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นายพิชิต บุญตั้ง ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะชำนาญการ
สถานที่ทำงาน โรงเรียนหนองเหล็กเบญจวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษา สุรินทร์ เขต 1
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2557 ภาคเรียนที่ 1
รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการปฏิบัติงาน เรื่อง การประกอบอาหารพื้นบ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการปฏิบัติงาน เรื่อง การประกอบอาหารพื้นบ้าน กลุ่มสาระ การเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการปฏิบัติงาน เรื่อง การประกอบอาหารพื้นบ้าน กลุ่มสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการปฏิบัติงาน เรื่อง การประกอบอาหารพื้นบ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการปฏิบัติงาน เรื่อง การประกอบอาหารพื้นบ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหนองเหล็กเบญจวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ปีการศึกษา 2557 ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 30 คน (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) แบบฝึกทักษะการปฏิบัติงาน เรื่อง การประกอบอาหารพื้นบ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 เรื่อง (2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การประกอบอาหารพื้นบ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 แผน (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน เรื่อง การประกอบอาหารบ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.45ถึง 0.75 ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.20 ถึง 0.50 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.85 และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการปฏิบัติงาน เรื่อง การประกอบอาหารพื้นบ้าน กลุ่มสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ท (Likert) จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และ t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการปฏิบัติงาน เรื่อง การประกอบอาหารพื้นบ้านกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการปฏิบัติงาน เรื่อง การประกอบอาหารพื้นบ้าน (E1/ E2) เท่ากับ 88.65/87.56 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. การเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการปฏิบัติงาน เรื่อง การประกอบอาหารพื้นบ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ปรากฏว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
3. การศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการปฏิบัติงาน เรื่อง การประกอบอาหารพ้นบ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness index:E.I) เท่ากับ 0.7300 นั่นหมายความว่า แบบฝึกทักษะ การปฏิบัติงาน เรื่อง การประกอบอาหารพื้นบ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 ทำให้นักเรียนมีผลการเรียนก้าวหน้าในการเรียนรู้ร้อยละ 73.00
4. การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการปฏิบัติงาน เรื่อง การประกอบอาหารพื้นบ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการปฏิบัติงาน เรื่อง การประกอบอาหารพื้นบ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลปรากฏว่า มีคะแนนเฉลี่ย 4.73 ซึ่งมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด