การพัฒนารูปแบบการสอน ยู.ซี.เอส.ซีเอส. (UCSCS Learning) เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์และทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
นิยม ช่วยเล็ก
ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา), ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการสอน ยู.ซี.เอส.ซีเอส. (UCSCS Learning) เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์และทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อพัฒนาและหาดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการสอน ยู.ซี.เอส. ซีเอส. (UCSCS Learning) สำหรับการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยรูปแบบการสอน ยู.ซี.เอส.ซีเอส. (UCSCS Learning) สำหรับการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังจากการเรียนโดยรูปแบบการสอน ยู.ซี.เอส.ซีเอส. (UCSCS Learning) สำหรับการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอน ยู.ซี.เอส.ซีเอส. (UCSCS Learning) สำหรับการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์
การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา สำหรับขั้นตอนการวิจัย ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยทดลอง 4 ครั้ง ซึ่งเป็นการทดลองใช้รูปแบบการสอน ยู.ซี.เอส.ซีเอส. (UCSCS Learning) และนำรูปแบบการสอนยู.ซี.เอส.ซีเอส. (UCSCS Learning) ที่พัฒนาขึ้นไปใช้จริง เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์และทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งการทดลองในครั้งที่ 1 3 เป็นขั้นการทดลองเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ห้องที่ผู้วิจัยรับผิดชอบสอน ในปีการศึกษา 2556 - 2557 และการทดลองในครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นการนำรูปแบบการสอน ยู.ซี.เอส.ซีเอส. (UCSCS Learning) ที่ได้พัฒนาขึ้นจนมีประสิทธิภาพแล้วไปใช้จริงกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 146 ซึ่งได้มาจากสูตรยามาเน่ (Yamane. 1973) แล้วใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) หยิบสลากรายชื่อห้องในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในปีการศึกษา 2558 ใช้ระยะเวลาทดลองสอนโดยใช้รูปแบบการสอน ยู.ซี.เอส.ซีเอส. (UCSCS Learning) รวม 20 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ รูปแบบการสอน ยู.ซี.เอส.ซีเอส. (UCSCS Learning) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหา และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าทีแบบไม่อิสระจากกัน (t test Dependent) ค่าเฉลี่ย ( )และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการสอน ยู.ซี.เอส.ซีเอส. (UCSCS Learning) มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.7241 แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.7241 หรือคิดเป็นร้อยละ 72.41
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอน ยู.ซี.เอส.ซีเอส. (UCSCS Learning) สำหรับการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1
3. ทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังจากการเรียนโดยรูปแบบการสอน ยู.ซี.เอส.ซีเอส. (UCSCS Learning) สำหรับการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับดี
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอน ยู.ซี.เอส.ซีเอส. (UCSCS Learning) สำหรับการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยรวม อยู่ระดับมาก
คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบการสอน , การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ , ทักษะการแก้ปัญหา