ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
รายงานผลการประเมินโครงการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนเทศบาล ๒ วัดเสนหา(สมัครพลผดุง)

ชื่อเรื่อง : รายงานผลการประเมินโครงการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน

ของโรงเรียนเทศบาล ๒ วัดเสนหา(สมัครพลผดุง)

ผู้วิจัย : นางสาววิลาสินี ชุณหะชา

หน่วยงาน : โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดเสนหา(สมัครพลผดุง) สังกัดเทศบาลนครนครปฐม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม * ชื่อโรงเรียนเป็นชื่อเฉพาะที่ต้องใช้เลขไทย

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

การพัฒนาการจัดการศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา หัวใจสำคัญคือการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ โดยมุ่งหวังการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา คุณธรรมและจริยธรรม และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข มุ่งเน้นให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้และค้นพบองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งครูผู้สอนมีส่วนสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตลอดเวลา การพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะในสิ่งที่คาดหวังได้นั้น ครูจะต้องมีการทำลำดับขั้นตอนของการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ดี มีขั้นตอนการทำงานที่เป็นระบบมีผลการทำงานที่เกิดจากขั้นตอนการทำงานที่น่าเชื่อถือ มีร่องรอยที่สามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน กระบวนการวิจัยจึงถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนาผู้เรียนในชั้นเรียนให้มีทักษะตามที่ต้องการและใช้ในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ใหม่ๆ ให้เหมาะสมกับผู้เรียน แต่คุณครูโดยส่วนใหญ่มักขาดความรู้ความเข้าใจในการทำวิจัย ทั้งการตั้งคำถามการวิจัย การออกแบบการวิจัย การเขียนรายงานผลการวิจัยหรือแม้แต่การนำผลการวิจัยไปใช้ โดยสามารถสรุปปัญหาด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนไว้ดังนี้ 1) ผู้บริหารให้ภาระงานครูมาก ทำให้ครูไม่มีเวลาวิจัย 2) ผู้บริหารไม่จัดประชุม อบรม สัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียนให้กับครูหรือการไม่ส่งครูไปรับการอบรมจากหน่วยงานอื่นทำให้ครูขาดประสบการณ์ในการทำวิจัยในชั้นเรียนและไม่สามารถพัฒนาความรู้นี้อย่างต่อเนื่อง 3) ผู้บริหารไม่สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ในการทำวิจัยในชั้นเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่กำหนดเป็นยุทธศาสตร์ให้ครูผู้สอนทำวิจัยในชั้นเรียนควบคู่ไปกับการจัดการเรียนการสอน 4) ผู้บริหารไม่แต่งตั้งหรือจัดที่ปรึกษาหรือผู้ชำนาญการด้านวิจัยในชั้นเรียนเพื่อให้ครูที่สนใจทำการวิจัยในชั้นเรียนได้มีที่พึงในคราวที่มีปัญหาเมื่อทำวิจัยในชั้นเรียน 5) ผู้บริหารไม่มีประกาศเกียรติคุณให้แก่ครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียนดีเด่นหรือไม่ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลงานการวิจัยในชั้นเรียนให้บุคคลทั่วไปได้รับทราบเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ 6) ครูผู้สอนขาดความรู้ความเข้าใจในแนวทางการวิจัยในชั้นเรียน และคิดว่าเป็นเรื่องยากจึงไม่ทำการวิจัย 7) ครูไม่ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณอย่างพอเพียงในการทำวิจัยชั้นเรียน 8) ครูมีเวลาไม่เพียงพอที่จะทำการวิจัยในชั้นเรียนเนื่องจากมีภาระงานทั้งการสอนและงานพิเศษอื่นๆ 9) ครูขาดตัวอย่างที่หลากหลายสำหรับเป็นแนวทางการทำวิจัยในชั้นเรียน 10) ครูขาดแหล่งความรู้ในการค้นคว้า เพื่อทำการวิจัยในชั้นเรียน และ11) ครูไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างจริงจังและไม่นำผลการวิจัยมาใช้ในการแก้ปัญหาการเรียนการสอน แต่ทำวิจัยเพื่อขอผลงานของตนเอง เมื่อเล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวทำให้โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดเสนหา(สมัครพลผดุง) ได้เริ่มดำเนินการโครงการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างจริงจังในปีการศึกษา 2558 โดยเน้นให้ครูได้ใช้กระบวนการวิจัยในการแก้ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ของนักเรียน อนึ่งการดำเนินงานตามโครงการจำเป็นต้องมีการประเมินตามโครงการเพื่อให้ทราบว่า โครงการประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการหรือไม่ มีปัญหา อุปสรรคอะไร ซึ่งที่ผ่านมาผู้รับผิดชอบโครงการได้มีการประเมินผลการดำเนินงานในภาพรวมอย่างกว้างๆไว้ แต่ยังขาดการกำหนดประเด็นการประเมินที่ชัดเจน ซึ่งในครั้งนี้ผู้วิจัยตระหนักดีว่าการประเมินผลอย่างเป็นระบบจะช่วยให้เกิดการพัฒนางานของโรงเรียนและในงานส่วนที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินงานด้านวิชาการของโรงเรียน เพื่อให้การดำเนินโครงการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนและสามารถนำผลการดำเนินงานตามโครงการมาพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานได้อย่างทันท่วงที ผู้วิจัยจึงได้กำหนดให้มีการประเมินผลโครงการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนขึ้น โดยกำหนดขอบข่ายของการประเมินตามรูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของ Stufflebeam ซึ่งเป็นการประเมินที่ทำให้ผู้บริหารทราบการดำเนินโครงการทั้ง 4 ด้านอันได้แก่ การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความครอบคลุมและเพียงพอสำหรับใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาโครงการให้มีคุณภาพ ส่งผลถึงความยั่งยืนของโครงการ และบังเกิดผลดีต่อนักเรียนอย่างแท้จริง

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

การทำวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนเทศบาล ๒ วัดเสนหา(สมัครพลผดุง) ในประเด็นต่อไปนี้

1. เพื่อประเมินบริบทของโครงการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน (Context Evaluation)

2. เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน (Input Evaluation)

3. เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน (Process Evaluation)

4. เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน (Product Evaluation)

วิธีการศึกษา/การดำเนินการวิจัย

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

การประเมินในครั้งนี้ได้กำหนดขอบเขตของประชากรและกลุ่มตัวอย่างการประเมินไว้ดังนี้

1. ประชากร ที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ของโครงการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนเทศบาล ๒ วัดเสนหา(สมัครพลผดุง) ปีการศึกษา 2558 จำนวนทั้งสิ้น 1,874 คน

2. กลุ่มตัวอย่าง ได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางของเครจซี่และมอร์แกน และทำการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปกครองและนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๒ วัดเสนหา(สมัครพลผดุง) ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 538 คนและคณะกรรมการดำเนินการและครูผู้สอนของโรงเรียนเทศบาล ๒ วัดเสนหา(สมัครพลผดุง) จำนวน 51 คนรวมมีกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 589 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ เป็นแบบประเมินโครงการส่งเสริมการทำวิจัยใน ชั้นเรียนของโรงเรียนเทศบาล ๒ วัดเสนหา(สมัครพลผดุง) ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยในการประเมินครั้งนี้ใช้แบบประเมินจำนวน 2 ฉบับ อันประกอบด้วย

แบบประเมินฉบับที่ 1 แบบประเมินโครงการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนเทศบาล ๒ วัดเสนหา (สมัครพลผดุง) ประเมินโดยคณะกรรมการดำเนินโครงการและครูผู้สอนของโรงเรียนเทศบาล ๒ วัดเสนหา(สมัครพลผดุง)

แบบประเมินฉบับที่ 2 แบบประเมินความเหมาะสมของกระบวนการและผลผลิตของการดำเนินงานของโครงการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนเทศบาล ๒ วัดเสนหา (สมัครพลผดุง) ประเมินโดยผู้ปกครองและนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๒ วัดเสนหา(สมัครพลผดุง)

ผลการศึกษา/ผลการวิจัย

1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสมในการดำเนินโครงการและความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาและนโยบายการศึกษาของขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากเช่นกัน

2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสม และความเพียงพอ ของบุคลากร งบประมาณ ระยะเวลาและวัสดุอุปกรณ์ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากเช่นกัน

3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการเกี่ยวกับการดำเนินงานตามวงจร PDCA ของเดมิ่ง (Deming) โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ผลการดำเนินการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจในการดำเนินงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะทั่วไป

จากผลการวิจัยการประเมินโครงการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนเทศบาล ๒ วัดเสนหา(สมัครพลผดุง) ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่าการวิจัยในชั้นเรียนเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นมากเพราะครูต้องมีข้อมูลจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาทำการวิจัย เพื่อนำผลของการวิจัยนั้นมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เหมาะสมกับนักเรียน และเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุดที่สุด

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป

เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการดำเนินการโครงการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนเทศบาล ๒ วัดเสนหา(สมัครพลผดุง)ในอนาคต ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนวทางในการวิจัยครั้งต่อไปดังนี้

1. ควรมีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเกี่ยวกับการดำเนินการโครงการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนอื่นๆ โดยใช้วิธีเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งจะได้ข้อมูลในอีกรูปแบบหนึ่งมาประกอบการพิจารณา

2. ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับการประเมินการดำเนินการโครงการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนเทศบาล ๒ วัดเสนหา(สมัครพลผดุง) จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายๆ กลุ่ม เช่น ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ

โพสต์โดย Japanese : [9 ม.ค. 2559 เวลา 16:17 น.]
อ่าน [4290] ไอพี : 223.204.33.111
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โพสต์โดย

คุณ Japanese

  ความคิดเห็นที่ 1

ขอขอบคุณผู้ทำwebsite ดีๆไว้เพื่อการพัฒนาการศึกษาค่ะ

วันที่โพสต์ [9 ม.ค. 2559 เวลา 16:27 น.] ไอพี : [223.204.33.111] หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 

โพสต์โดย

คุณ -

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 44,042 ครั้ง
9 อาชีพน่าอิจฉา เงินเดือนทะลุล้าน
9 อาชีพน่าอิจฉา เงินเดือนทะลุล้าน

เปิดอ่าน 30,940 ครั้ง
รู้ไหมว่า...ประเทศไทยโชคดีที่ตั้งอยู่บน "เส้นศูนย์สูตรสนามแม่เหล็กโลก"
รู้ไหมว่า...ประเทศไทยโชคดีที่ตั้งอยู่บน "เส้นศูนย์สูตรสนามแม่เหล็กโลก"

เปิดอ่าน 26,743 ครั้ง
การศึกษาไทยอาการหนัก คุณหมอต้องส่งเข้าห้อง ICU
การศึกษาไทยอาการหนัก คุณหมอต้องส่งเข้าห้อง ICU

เปิดอ่าน 25,383 ครั้ง
วิจัยชี้ 22ตำหรับอาหารไทยต้านโรคมะเร็ง
วิจัยชี้ 22ตำหรับอาหารไทยต้านโรคมะเร็ง

เปิดอ่าน 11,108 ครั้ง
5 ข้อง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ทำก็หายเครียด
5 ข้อง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ทำก็หายเครียด

เปิดอ่าน 19,358 ครั้ง
เรื่องของกราฟ
เรื่องของกราฟ

เปิดอ่าน 16,815 ครั้ง
สมุนไพรพิชิตหน้าหนาว
สมุนไพรพิชิตหน้าหนาว

เปิดอ่าน 3,875 ครั้ง
5 เคล็ดลับสร้างโปรไฟล์หางานให้โดดเด่นกว่าใคร
5 เคล็ดลับสร้างโปรไฟล์หางานให้โดดเด่นกว่าใคร

เปิดอ่าน 13,760 ครั้ง
สายตาเอียง
สายตาเอียง

เปิดอ่าน 10,718 ครั้ง
ชี้เป็นเด็กอัจฉริยะต้องมี 6Q
ชี้เป็นเด็กอัจฉริยะต้องมี 6Q

เปิดอ่าน 61,727 ครั้ง
การอ่านแบบ  Skimming
การอ่านแบบ Skimming

เปิดอ่าน 11,792 ครั้ง
3 พื้นฐานเพื่อความมั่นคงทางการเงิน
3 พื้นฐานเพื่อความมั่นคงทางการเงิน

เปิดอ่าน 16,330 ครั้ง
นางสงกรานต์ปี 2558 ชื่อ "รากษสเทวี"
นางสงกรานต์ปี 2558 ชื่อ "รากษสเทวี"

เปิดอ่าน 22,724 ครั้ง
13 แอพพลิเคชั่น อันตราย ที่ "Google" แบน ใครลงแล้วต้องแฟลชโอเอสใหม่เท่านั้น
13 แอพพลิเคชั่น อันตราย ที่ "Google" แบน ใครลงแล้วต้องแฟลชโอเอสใหม่เท่านั้น

เปิดอ่าน 7,698 ครั้ง
ร้อนตับแตก มีที่มาอย่างไร
ร้อนตับแตก มีที่มาอย่างไร

เปิดอ่าน 10,536 ครั้ง
วิตามินอี ความสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
วิตามินอี ความสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
เปิดอ่าน 16,588 ครั้ง
"รางวัลให้ครู"
"รางวัลให้ครู"
เปิดอ่าน 20,073 ครั้ง
(ก.ค.ศ.)การพัฒนารูปแบบการนำครูใหม่เข้าสู่งาน ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
(ก.ค.ศ.)การพัฒนารูปแบบการนำครูใหม่เข้าสู่งาน ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
เปิดอ่าน 15,634 ครั้ง
เพลงประจำอาเซียน
เพลงประจำอาเซียน
เปิดอ่าน 12,207 ครั้ง
ผักที่มีรูจากแมลงใช่ว่าจะปลอดภัยเสมอไป...
ผักที่มีรูจากแมลงใช่ว่าจะปลอดภัยเสมอไป...

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ