รายงานการพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องพระพุทธศาสนา วิชาสังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม (ส21101) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์ของการพัฒนาดังนี้
1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องพระพุทธศาสนา วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ส21101) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม
เรื่องพระพุทธศาสนา วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ส21101) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่1 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องพระพุทธศาสนา วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ส21101) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ 1) หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องพระพุทธศาสนา วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ส21101) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1 จำนวน 12 เล่ม 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องพระพุทธศาสนา วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (ส21101) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องพระพุทธศาสนา วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
1. ผลการหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องพระพุทธศาสนา วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ส21101) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 89.68/85.29 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องพระพุทธศาสนา วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ส21101) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า
2.1 คะแนนเฉลี่ยแบบทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยแบบทดสอบก่อนเรียน เมื่อทดสอบทางสถิติปรากฏว่า คะแนนเฉลี่ยแบบทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยแบบทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
2.2 คะแนนเฉลี่ยวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน เมื่อทดสอบทางสถิติปรากฏว่า คะแนนเฉลี่ยวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องพระพุทธศาสนา
วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (ส21101) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก