ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลบ้านท่าพระยาจักร
ผู้รายงาน นายนพดล คำเรียง
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลบ้านท่าพระยาจักร ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านบริบทของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบ้านท่าพระยาจักร 2) ประเมินด้านปัจจัย ของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบ้านท่าพระยาจักร 3) ประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลบ้านท่าพระยาจักร 4) ประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนา แหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลบ้านท่าพระยาจักร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ครู ผู้ปกครองนักเรียน นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในปีการศึกษา 2557 จำนวน 488 คน มีรายละเอียดดังนี้ ครู ใช้ประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 47 คน นักเรียน ได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตาราง Krejcieและ Morgan โดยใช้การสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 214 คน ผู้ปกครองนักเรียน ได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตาราง Krejcie และ Morgan โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากผู้ปกครองของนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 214 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้ประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) ของลิเคอร์ท (Likert) จำนวน 5 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป โดยการหาค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน
1. ผลการประเมินด้านบริบท ของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบ้านท่าพระยาจักร เกี่ยวกับวัตถุประสงค์โครงการมีค่าเฉลี่ยของความสอดคล้อง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า ประเด็นที่มีความสอดคล้องมากที่สุด คือ ความจำเป็นในการจัดทำโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลบ้านท่าพระยาจักร รองลงมาคือ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของโรงเรียน และประเด็นที่สอดคล้องน้อยที่สุดคือ วัตถุประสงค์ที่กำหนดให้มีแปลงเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน เมื่อพิจารณาแยกตามความคิดเห็นผู้ให้ข้อมูลพบว่า ครู มีความคิดเห็นว่าวัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นว่า วัตถุประสงค์โครงการมีค่าเฉลี่ยของความสอดคล้องโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เช่นเดียวกัน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัย ของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบ้านท่าพระยาจักร เกี่ยวกับความเหมาะสมและเพียงพอของบุคลากร งบประมาณ วัสดุและอุปกรณ์ และการบริหารจัดการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า ประเด็นที่มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมและเพียงพอมากที่สุด คือ บุคลากรที่รับผิดชอบการจัดกิจกรรมตามโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลบ้านท่าพระยาจักรมีจำนวนเพียงพอในการดำเนินกิจกรรม รองลงมาคือ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการพัฒนาห้องคอมพิวเตอร์เพียงพอต่อการดำเนินงาน ส่วนประเด็นที่มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมและเพียงพอน้อยที่สุดคือ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการพัฒนาสนามเด็กเล่นเพียงพอต่vการดำเนินงาน และผู้บริหารให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ ของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบ้านท่าพระยาจักร เกี่ยวกับเกี่ยวกับความชัดเจนและมีประสิทธิภาพโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่ามีประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยของความชัดเจนและมีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ การดำเนินงานพัฒนาห้องอาเซียน รองลงมาคือ ระยะเวลาใน การประเมินผลกิจกรรม ส่วนประเด็นที่มีความชัดเจนและมีประสิทธิภาพน้อยที่สุด คือ การจัดทำเครื่องมือในการประเมินผลกิจกรรมตามโครงการ
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิต ของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลบ้านท่าพระยาจักร เกี่ยวกับพฤติกรรมด้านการเรียน โดยภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า ประเด็นที่มีการประพฤติปฏิบัติมากที่สุด คือ นักเรียนมีความขยัน รับผิดชอบเรื่องการเรียน รองลงมาคือ นักเรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจาก แหล่งเรียนรู้มากกว่าที่ครูมอบหมาย และประเด็นที่มีความเห็นว่าประพฤติปฏิบัติน้อยที่สุด คือ นักเรียนมีทักษะในการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ เมื่อพิจารณาแยกตามความคิดเห็นผู้ให้ข้อมูลพบว่า ครูและผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมด้านการเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก นักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมด้านการเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิต ของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลบ้านท่าพระยาจักร เกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลบ้านท่าพระยาจักร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายประเด็นพบว่า ประเด็นที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากการเรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้ รองลงมาคือ แหล่งเรียนรู้ที่จัดขึ้นทำให้พฤติกรรมการเรียนของนักเรียนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น และประเด็นที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุด คือ แหล่งเรียนรู้ที่มีในโรงเรียนมีประสิทธิภาพพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลาเมื่อพิจารณาแยกตามความคิดเห็นของผู้ให้ข้อมูล พบว่า ครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลบ้านท่าพระยาจักร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก