ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดเทพลีลา(สิงหประสิทธิวิทยา)
ผู้ศึกษา นางสาวกมลลักษณ์ บัวล้อม
ตำแหน่ง พนักงานครู วิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนบ้านหนองตาแด้ม(ราชประชานุกูล)
สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองตาแต้ม อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การดำเนินการรายงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา
1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริม
ทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาที่ 3โรงเรียนวัดเทพลีลา
(สิงหประสิทธิวิทยา) ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 80
2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการ
จัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้น
ประถมศึกษาปีที่3 โรงเรียนวัดเทพลีลา(สิงหประสิทธิวิทยา)
3)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนวัดเทพลีลา(สิงหประสิทธิวิทยา)
4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนวัดเทพลีลา(สิงหประสิทธิวิทยา) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย
1) แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน
2) แผนการจัดการการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติในการหาประสิทธิภาพของแบบฝึก E1 / E2สถิติที่ใช้วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน t-test แบบ Dependent และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย(X - bar ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดเทพลีลา(สิงหประสิทธิวิทยา) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.43/89.17 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ 80/80
2. ดัชนีประสิทธิผลจากการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดเทพลีลา(สิงหประสิทธิวิทยา) มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7743 หรือคิดเป็นร้อยละ 77.43
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังจากเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด