รายงาน การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความจากนิทานปลูกฝังชีวิตให้ดีงาม
ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสร้างแผนที่ความคิดของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี)
ผู้พัฒนา นางนูลิต้า หะยีอาแว
ปีที่พัฒนา 2558
บทคัดย่อ
การรายงาน เรื่อง การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความจากนิทานปลูกฝังชีวิต
ให้ดีงาม ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสร้างแผนที่ความคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลเมืองนราธิวาส
โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความจากนิทานปลูกฝังชีวิตให้ดีงาม ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสร้างแผนที่ความคิดของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาล
เมืองนราธิวาส ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการสร้างแผนที่ความคิดของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสร้างแผนที่ความคิด กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลเมืองนราธิวาส ปีการศึกษา 2558
จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค
การสร้างแผนที่ความคิด แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความและแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสร้างแผนที่ความคิด
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) การทดสอบ ค่าที (t-test) แบบ dependent
ผลการพัฒนา พบว่า 1) ความสามารถในการอ่านจับใจความจากนิทานปลูกฝังชีวิตให้ดีงาม ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสร้างแผนที่ความคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลเมืองนราธิวาส ก่อนและ
หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสร้างแผนที่ความคิด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01 โดยคะแนนเฉลี่ยหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ 2) นักเรียน
มีความสามารถในการสร้างแผนที่ความคิดอยู่ในระดับสูง และ 3) นักเรียนมีความคิดเห็นมีต่อ
การจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคการสร้างแผนที่ความคิดอยู่ในระดับ เห็นด้วยมากทุกด้าน ได้แก่
1. ด้านบรรยากาศการเรียนรู้นักเรียนมีความเห็นว่าครูคอยช่วยเหลือแนะนำนักเรียนในการปฏิบัติกิจกรรมอย่างทั่วถึง 2. ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นักเรียนมีความเห็นว่าเทคนิคการสร้างแผนที่ความคิด ทำให้นักเรียนเกิดความมั่นใจในการอ่านจับใจความครั้งต่อไป และ 3. ด้านประโยชน์
ที่ได้รับนักเรียนมีความเห็นว่าช่วยส่งเสริมและพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของตนเองได้ดีขึ้น