การศึกษาครั้งนี้เป็นการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง สร้างสรรค์ดอกไม้จากผ้าปาเต๊ะ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง สร้างสรรค์ดอกไม้จากผ้าปาเต๊ะ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สร้างสรรค์ดอกไม้จากผ้าปาเต๊ะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง สร้างสรรค์ดอกไม้จากผ้าปาเต๊ะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนเทศบาลจองถนน(วัดบางแก้ว) สังกัดเทศบาลตำบลจองถนน
จังหวัดพัทลุง จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 14 คน ซึ่งจัดห้องเรียนโดยคละผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้มาโดยการเลือกสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง สร้างสรรค์ดอกไม้จากผ้าปาเต๊ะ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยกำหนดเนื้อหาประกอบการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 5 ชุด 2) คู่มือการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง สร้างสรรค์ดอกไม้จากผ้าปาเต๊ะ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 เล่ม เวลาเรียน 20 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สร้างสรรค์ดอกไม้จากผ้าปาเต๊ะ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ ประเมินตามแนวคิดของกิลฟอร์ด ประกอบด้วย คิดคล่อง คิดริเริ่ม คิดยืดหยุ่น และคิดละเอียดลออ เป็นแบบรูบริคส์ เกณฑ์การให้คะแนน 4 ระดับ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง สร้างสรรค์ดอกไม้จากผ้าปาเต๊ะ จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง สร้างสรรค์ดอกไม้จากผ้าปาเต๊ะ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.83 / 83.13 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
2. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง สร้างสรรค์
ดอกไม้จากผ้าปาเต๊ะ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎี
คอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง สร้างสรรค์ดอกไม้จากผ้าปาเต๊ะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมาก
โดยสรุป จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง สร้างสรรค์ดอกไม้จากผ้าปาเต๊ะ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่สร้างขึ้นอย่างเป็นระบบทำให้มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการสร้างองค์ความรู้ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น และพัฒนางานประดิษฐ์ได้อย่างแปลกใหม่
จึงเหมาะในการที่จะนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน