ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการพัฒนาการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
โรงเรียนบ้านน้ำยาง อำเภอวังทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
พิษณุโลก เขต 2
ชื่อผู้รายงาน : นายสำราญ มีผึ้ง
ตำแหน่ง : ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าข้าม
ระยะเวลา : ปีการศึกษา 2556 - ปีการศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาโรงเรียนบ้านน้ำยาง อำเภอวังทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินโครงการพัฒนาการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาของโรงเรียนบ้านน้ำยาง อำเภอวังทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2
ในด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ ด้านปัจจัยการดำเนินงานของโครงการ ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ ด้านผลผลิตของโครงการ และด้านผลกระทบของโครงการ 2) เพื่อเสนอแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนาโครงการพัฒนาการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาโรงเรียน
บ้านน้ำยาง อำเภอวังทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 ให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนโดยใช้รูปแบบประยุกต์ CIPPI Evaluation Model ) กลุ่มตัวอย่าง
ในการประเมินครั้งนี้คือ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวแทนชุมชน พระภิกษุสงฆ์ โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงในปีการศึกษา 2557 จำนวน 112 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาคำตอบในการศึกษาค้นคว้าใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมินพบว่า
ผลการประเมินโครงการพัฒนาการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาโรงเรียนบ้านน้ำยาง ตามความเห็นของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 112 คน หลังการดำเนินงานโดยภาพรวม พบว่า มีผลการประเมิน ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( = 4.38 , S.D.= 0.07) โดยแต่ละด้านมีผลการประเมินดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการหลังจากดำเนินโครงการ โดยภาพรวมเห็นว่า โรงเรียนมีการปฏิบัติงานและเห็นด้วยกับการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.39 S.D. = 0.54)
2. ผลการประเมินด้านปัจจัย (Input Evaluation) ของโครงการหลังจากดำเนินโครงการ โดยภาพรวมเห็นว่า โรงเรียนมีความพร้อมในการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก ( = 4.45, S.D. = 0.24)
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการหลังจากดำเนินโครงการ โดยภาพรวมเห็นว่า โรงเรียนมีการปฏิบัติและดำเนินงานตามโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.35, S.D. = 0.13 )
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation ) ของโครงการหลังจากดำเนินโครงการ โดยภาพรวมเห็นว่า โรงเรียนดำเนินการอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย
( = 4.41, S.D = 0.16 )
5. ผลการประเมินด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) ของโครงการหลังจากดำเนินโครงการ โดยภาพรวมเห็นว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( = 4.37, S.D. = 0.19)