ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน
เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้ศึกษา นางสาวชัญญา สายโน
ปีการศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะ วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ
วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) เพื่อศึกษาพฤติกรรม
การเรียนรู้ของนักเรียนระหว่างเรียนด้วยแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนปากคาดพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 32 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง ( Purposive Sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามี 5 ชนิดคือ
1) แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 8 แผน 2) แบบฝึกทักษะ จำนวน 8 เล่ม 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือกจำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย (P) 0.29 0.69 ค่าอำนาจจำแนก (B) 0.36 0.71 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 4) แบบประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ
แบบฝึกทักษะ สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที
ผลการศึกษา พบว่า 1) แบบฝึกทักษะ วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.96/79.69 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 75/75
2) แบบฝึกทักษะ วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมีประสิทธิผลเท่ากับ 0.72 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่สอนด้วยแบบฝึกทักษะ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) พฤติกรรมการเรียนรู้ระหว่างเรียนด้วยแบบฝึกทักษะอยู่ในระดับดีที่สุด
5) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อแบบฝึกทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด