ชื่อผลงาน รายงานการใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับเทคนิค KWDL เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และความสามารถในการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้รายงาน นางสาวสุภาวดี รักษ์ขจีกุล โรงเรียนอนุบาลเทศบาลนครพิษณุโลก
สำนักการศึกษา เทศบาลนครพิษณุโลก
บทคัดย่อ
การใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับเทคนิค KWDL เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และความสามารถในการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีจุดมุ่งหมายดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับเทคนิค KWDL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ และการหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนกับหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความสามารถในการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับเทคนิค KWDL 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับเทคนิค KWDL กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 28 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลนครพิษณุโลก
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับเทคนิค KWDL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) แบบทดสอบระหว่างเรียนประจำแผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ เรื่อง โจทย์ปัญหาชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 4) แบบประเมินความสามารถในการทำงานกลุ่ม 5) แบบสอบถามความ พึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับเทคนิค KWDL สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ร้อยละ (Percentage) และสถิติการทดสอบค่าที (t-test dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ
เทคนิค TAI ร่วมกับเทคนิค KWDL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า มีประสิทธิภาพ 82.61/78.32
2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การ
คูณ และการหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า คะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3) ความสามารถในการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการ
เรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับเทคนิค KWDL โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
4) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดย
ใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับเทคนิค KWDL โดยรวมมีความพึงพอใจมากที่สุด