การรายงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อรายงานกระบวนการการพัฒนาการจัดคุณภาพการศึกษาตามาตรฐานการประกันคุณภาพภายในโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนวัดหนองกระทุ่ม (สังฆรักษ์ราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต ๑ และเพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาการจัดคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการประกันคุณภาพภายในโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนวัดหนองกระทุ่ม (สังฆรักษ์ราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต ๑
ผลการรายงานพบว่า
๑. เพื่อรายงานกระบวนการการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการประกันคุณภาพภายในโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนวัดหนองกระทุ่ม(สังฆรักษ์ราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต ๑ ดังนี้ ๑. ศึกษาสภาพปัญหาปัจจุบันและความต้องการในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ปัญหาและความต้องการการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน เกิดขึ้นจากผลการสอบ O Net ปีการศึกษา ๒๕๕๖ และปีการศึกษา ๒๕๕๗ รวมทั้งผลการประเมินรอบสามของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ปี พ.ศ.๒๕๕๕ มาตรฐานการประกันคุณภาพภายใน ผลการประเมินอยู่ในระดับ พอใช้ ทั้งระดับการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีบางมาตรฐานผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี ดังที่กล่าวมานี้จึงเป็นปัญหาและความต้องการในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ๒. กำหนดประเด็นในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา มาตรฐานการศึกษาปฐมวัยและมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มาเป็นประเด็นในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา หาสาเหตุของแต่ละมาตรฐานที่ทำให้คุณภาพยังไม่ได้มาตรฐาน สรุปได้ดังนี้ การศึกษาปฐมวัยมีประเด็นในการพัฒนา ๑๑ มาตรฐาน และการศึกษาขั้นพื้นฐานมีประเด็นในการพัฒนา ๑๕ มาตรฐาน ๓. กำหนดวิธีการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา โดยการจัดตั้งโครงการให้สอดรับกับมาตรฐานการศึกษา ทั้งการศึกษาปฐมวัย ๑๑ มาตรฐาน และการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๕ มาตรฐาน ๔. ดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ทั้งการศึกษาปฐมวัย ๑๑ มาตรฐาน และการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๕ มาตรฐานตลอดปีการศึกษา ทุกโครงการดำเนินงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และ ๒ เงื่อนไข คือเงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม การดำเนินงานเป็นไปตามระบบบริหารคุณภาพ PDCA ๕. การนิเทศติดตามและประเมินผลการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา การนิเทศติดตามจัดทำในรูปแบบทีมนิเทศในโรงเรียน โดยจัดเป็นทีมนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนเพื่อประโยชน์ของผู้เรียน การนิเทศควรเน้นเรื่องการสอนคิดในกระบวนการเรียนรู้ หลังจากนิเทศแล้วก็คอยกำกับติดตามการทำงานเป็นระยะเพื่อให้ความช่วยเหลือ คำแนะนำ ส่วนการประเมินผลเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา คือระดับการศึกษาปฐมวัยดำเนินงานการจัดการศึกษา ๑๑ มาตรฐานในรูป ๑๕ โครงการ และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๕ มาตรฐานในรูป ๑๕ โครงการ ๖. สรุปการพัฒนาการจัดการศึกษา เมื่อการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนดำเนินงานการพัฒนาจนเสร็จสิ้นครบกระบวนการและสิ้นปีการศึกษา โรงเรียนก็จะประเมินตนเองเพื่อเขียนรายงานการประเมินตนเอง(SAR) ส่งเอกสารให้หน่วยงานต้นสังกัด รายงานผลการดำเนินงานการจัดการศึกษาต่อสาธารณะชน และเพื่อพร้อมรับการประเมินจากคณะกรรมงานที่หน่วยงานต้นสังกัดส่งมา
๒. เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนวัดหนองกระทุ่ม(สังฆรักษ์ราษฎร์บำรุง)สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต ๑ พบว่า การศึกษาปฐมวัย มาตรฐานที่ ๑ เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ คงที่เท่ากับปีการศึกษา ๒๕๕๖ มาตรฐานที่ ๒ เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา ๒๕๕๖ มาตรฐานที่ ๓ เด็กมีพัฒนาการด้านสังคมในปีการศึกษา ๒๕๕๗ คงที่เท่ากับปีการศึกษา ๒๕๕๖ มาตรฐานที่ ๔ เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ คงที่เท่ากับปีการศึกษา ๒๕๕๖ และในภาพรวมด้านที่ ๑ เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา๒๕๕๖ มาตรฐานที่ ๕ ครูปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ คงที่เท่ากับปีการศึกษา ๒๕๕๖ มาตรฐานที่ ๖ ผู้บริหารปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ คงที่เท่ากับปีการศึกษา ๒๕๕๖ มาตรฐานที่ ๗ แนวการจัดการศึกษาในปีการศึกษา ๒๕๕๗ คงที่เท่ากับปีการศึกษา ๒๕๕๖ มาตรฐานที่ ๘ สถานศึกษามีการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา ๒๕๕๖ ในภาพรวมด้านที่ ๒ ด้านการจัดการศึกษา ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ ลดลงจากปีการศึกษา ๒๕๕๖ มาตรฐานที่ ๙ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและชุมชนปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา ๒๕๕๖ ในภาพรามด้านที่ ๓ ด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา ๒๕๕๖ มาตรฐานที่ ๑๐ การพัฒนาสถานศึกษาให้บรรลุตามปรัชญา วิสัยทัศน์และจุดเน้นของการศึกษาปฐมวัย ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา ๒๕๕๖ ในภาพรวมด้านที่ ๔ ด้านอัตลักษณ์ของสถานศึกษาในปีการศึกษา ๒๕๕๗ เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา ๒๕๕๖ มาตรฐานที่ ๑๑ การพัฒนาสถานศึกษาตามนโยบายและแนวทางปฏิรูปการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น ในภาพรวมด้านที่ ๕ ด้านมาตรการส่งเสริม ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา ๒๕๕๖ และในภาพรวมการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา ๒๕๕๖ พบว่า การศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ ๑ ผู้เรียนมีสุขภาวะที่ดีและมีสุนทรียภาพ ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา ๒๕๕๖ มาตรฐานที่ ๒ ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา๒๕๕๖ มาตรฐานที่ ๓ ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ คงที่เท่ากับปีการศึกษา ๒๕๕๖ มาตรฐานที่ ๔ ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ ตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างมีสติสมเหตุผล ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ คงที่เท่ากับปีการศึกษา ๒๕๕๖ มาตรฐานที่ ๔ ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ ตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างมีสติสมเหตุผล ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ คงที่เท่ากับปีการศึกษา ๒๕๕๖ มาตรฐานที่ ๖ ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา ๒๕๕๖ มาตรฐานที่ ๗ ครูปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา ๒๕๕๖ มาตรฐานที่ ๘ ผู้บริหารปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา ๒๕๕๖ มาตรฐานที่ ๙ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและชุมชนปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ ลดลงจากปีการศึกษา ๒๕๕๖ มาตรฐานที่ ๑๐ สถานศึกษามีการจัดหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างรอบด้าน ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ คงที่เท่ากับปีการศึกษา ๒๕๕๖ มาตรฐานที่ ๑๑ สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มศักยภาพ ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ คงที่เท่ากับปีการศึกษา ๒๕๕๖ มาตรฐานที่ ๑๒ สถานศึกษามีการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ คงที่เท่ากับปีการศึกษา ๒๕๕๖ มาตรฐานที่ ๑๓ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและชุมชนปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล มาตรฐานที่ ๑๓ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและชุมชนปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล มาตรฐานที่ ๑๔ การพัฒนาสถานศึกษาให้บรรลุตามปรัชญา วิสัยทัศน์และจุดเน้นของการศึกษาปฐมวัย ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ คงที่เท่ากับปีการศึกษา ๒๕๕๖ มาตรฐานที่ ๑๕ การจัดกิจกรรมตามนโยบาย จุดเน้นแนวทางการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาและส่งเสริมสถานศึกษาให้ยกระดับคุณภาพสูงขึ้น ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา ๒๕๕๖ และในภาพรวมการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา ๒๕๕๖
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียน วัดหนองกระทุ่ม (สังฆรักษ์ราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต ๑
ผู้วิจัย นางสาวชยาน์ โตวิเศษ
ปีที่ทำ ๒๕๕๘
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
๑. เพื่อประเมินความเหมาะสมของโครงการในด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ของโครงการ นโยบายของโรงเรียน
๒. เพื่อประเมินความเหมาะสมของโครงการในด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ ประกอบด้วย บุคลากรผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ และการบริหารจัดการ
๓. เพื่อประเมินความเหมาะสมของโครงการในด้านกระบวนการ ประกอบด้วย การวางแผนโครงการ การมีส่วนร่วม ขั้นตอนการดำเนินงาน การนิเทศติดตามกำกับ และการประเมินผลในกระบวนการ
๔. เพื่อประเมินความเหมาะสมของโครงการในด้านผลผลิต ประกอบด้วย การบรรลุวัตถุประสงค์ ความพึงพอใจของนักเรียน การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ผลการวิจัยพบว่า
จากการประเมินผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโครงการโรงเรียนวิถีพุทธตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนวัดหนองกระทุ่ม(สังฆรักษ์ราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต ๑ สามารถสรุปผลกาวิจัยได้ดังนี้
๑. การประเมินความเหมาะสมของโครงการในด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม(Context
Evaluation ) แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ วิเคราะห์ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์โครงการกับนโยบายของโรงเรียน และแบบสอบถามบุคลากรผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์โครงการกับนโยบายของโรงเรียน พบว่ามีความสอดคล้องกัน คือ วัตถุประสงค์โครงการข้อที่ ๑ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องไตรสิกขาและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำสู่ความเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สอดคล้องกับนโยบายข้อที่ ๓ นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วัตถุประสงค์โครงการข้อที่ ๒ เพื่อให้ผู้เรียน ครูและบุคลากร ผู้บริหารและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เกิดความภาคภูมิใจในโรงเรียนของตนและมีความภูมิใจในความเป็นไทย สอดคล้องกับนโยบายข้อที่ ๔ มีความสำนึกในความเป็นไทยและมีวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วัตถุประสงค์โครงการข้อที่ ๓ เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ให้มีผลสัมฤทธิ์ในเกณฑ์ที่ดีขึ้น สอดคล้องกับนโยบายข้อที่ ๖ ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรมีการพัฒนาการเรียนการสอนของตนเองและนักเรียนเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในส่วนของแบบสอบถามการประเมินในด้านบริบท(Context Evaluation ) ได้แก่ หลักการและเหตุผล และวัตถุประสงค์ของโครงการเหมาะสมกับนโยบายของโรงเรียน พบว่า โรงเรียนได้กำหนดหลักการและเหตุผลสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน หลักไตรสิกขาเป็นฐานในการกำหนดหลักการ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรมให้แก่นักเรียน ช่วยพัฒนานักเรียนให้มีวินัยในตนเองและมีความรักความสามัคคีในหมู่คณะ โรงเรียนเสริมความรู้ความเข้าใจหลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์และนโยบายของโครงการให้คณะครู หลักการและเหตุผลมีความชัดเจน วัตถุประสงค์ชัดเจน มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพของโรงเรียน ผู้บริหารสถานศึกษาเห็นความสำคัญของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๖, ๔.๕๓, ๔.๕๓, ๔.๕๒, ๔.๕๒, ๔.๕๒, ๔.๕๑, ๔.๕๑, ๔.๕๑ และ ๔.๕๑ ตามลำดับ ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ และคณะครูให้การสนับสนุนโครงการ อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๔๙ และ ๔.๔๙ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะด้านบริบท วัตถุประสงค์ของโครงการเป็นการฝึกนักเรียนให้เป็นคนดี มีความประพฤติเรียบร้อย มีวินัย มีความรักความสามัคคีในหมู่คณะ อยู่ในศีลธรรมอันดี และมีคุณลักษณะของนักเรียนที่ดี
๒. การประเมินความเหมาะสมของโครงการในด้านด้านปัจจัยเบื้องต้น(Input Evaluation) ได้แก่ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ และการบริหารจัดการ พบว่า จำนวนบุคลากรในการดำเนินงานมีเพียงพอ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการและบทบาทหน้าที่ ให้ความรู้แก่คณะกรรมการ ครูเป็นอย่างดี กำหนดขั้นตอนและวิธีการดำเนินโครงการ ระยะเวลาที่จัดโครงการมีความเหมาะสม โรงเรียนสนับสนุนงบประมาณอย่างเหมาะสมและเพียงพอ คณะกรรมการดำเนินงานมีความรู้ความเข้าใจโครงการ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินงานโครงการมีความเหมาะสมและเพียงพอ กิจกรรมมีอย่างหลากหลาย มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพของโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๗๐, ๔.๕๗, ๔.๕๖, ๔.๕๖, ๔.๕๔, ๔.๕๔, ๔.๕๓, ๔.๕๓, ๔.๕๓ และ ๔.๕๑ ตามลำดับ กิจกรรมเหมาะสมและชัดเจน ชี้แจงเป้าหมายในการจัดกิจกรรมให้คณะครูทราบ เอกสารที่ใช้ประกอบเป็นคู่มือในการดำเนินกิจกรรมมีความชัดเจน การจัดกิจกรรมเป็นไปตามแผนที่กำหนด และทุกกิจกรรมมีบุคลากรรับผิดชอบ อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๔๘, ๔.๔๖, ๔.๔๓, ๔.๔๒ และ ๔.๓๕ ตามลำดับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะด้านปัจจัยเบื้องต้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายของโครงการมีความรับผิดชอบ และเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความเต็มใจพร้อมทั้งหาและให้วัสดุอุปกรณ์และเงินในการจัดกิจกรรมด้วย การบริหารจัดการเป็นไปแบบมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายทุกกิจกรรม
๓. การประเมินความเหมาะสมของโครงการในด้านกระบวนการ(Process Evaluation)
ได้แก่ การดำเนินโครงการ กิจกรรมการดำเนินงานตามโครงการ การนิเทศติดตามกำกับ และการประเมินผลในกระบวนการ พบว่า ดำเนินงานโครงการตามแผนที่วางไว้ ประสานงานกับบุคคลภายนอกและองค์กรภายนอกทั้งก่อนและเริ่มดำเนินงาน มีการประเมินผลการดำเนินงานโครงการอย่างมีระบบ คณะกรรมการวางแผนหรือเตรียมการก่อนเริ่มดำเนินกิจกรรมทุกครั้ง คณะกรรมการดำเนินงานจัดเตรียมสถานที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรม ครูได้ร่วมการวิเคราะห์ทางเลือกในการวางแผนการดำเนินงานและการจัดกิจกรรมในโครงการ มีการนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของบุคลากรที่เกี่ยวข้องมาปรับปรุงโครงการ มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานให้กับผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ มีการนิเทศติดตามผลการดำเนินงาน ครูมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน มีการวางแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน และนำผลการประเมินมาทบทวนหรือปรับปรุงแก้ไขพัฒนาการดำเนินงานโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๖๒, ๔.๕๘, ๔.๕๘, ๔.๕๘, ๔.๕๗, ๔.๕๗, ๔.๕๖, ๔.๕๖, ๔.๕๔, ๔.๕๔, ๔.๕๓ และ ๔.๕๓ ตามลำดับ การดำเนินงานปฏิบัติตามแผนและปฏิบัติงานที่กำหนดไว้ตามขั้นตอน แผนหรือปฏิทินการปฏิบัติงานของแต่ละกิจกรรมมีความชัดเจนเหมาะสม คณะกรรมการได้สรุปรายงานผลการดำเนินงานของโครงการต่อผู้บริหารและคณะครูให้ได้รับทราบ และมีการวางแผนการดำเนินงานโครงการโดยระดมความคิดเห็นจากหลาย ๆ ฝ่าย อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๔๙, ๔.๔๙, ๔.๔๗ และ ๔.๔๔ ตามลำดับ วามคิดเห็นและข้อเสนอแนะด้านกระบวนการ มีคณะกรรมการรับผิดชอบการดำเนินงานโครงการ การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง นักเรียนเกิดความรักความชอบในการมาโรงเรียน การปฏิบัติกิจกรมต่างๆ เป็นไปโดยอัตโนมัติ เมื่อถึงเวลานักเรียนจะพร้อมใจกันปฏิบัติ ผู้บริหารเอาใจใส่คอยดูแลนิเทศติดตามกำกับ
๔. การประเมินความเหมาะสมของโครงการในด้านผลผลิต(Product Evaluation) ได้แก่
การบรรลุวัตถุประสงค์ ความพึงพอใจของนักเรียน และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน พบว่า ทำให้นักเรียนมีวินัยในตนเอง พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะที่พึงประสงค์อย่างชัดเจนให้แก่นักเรียน ช่วยเสริมความสามัคคีให้แก่นักเรียนและคณะครู ทำให้นักเรียนมีคุณธรรมและจริยธรรมมากขึ้น และทำให้มีบรรยากาศที่ดีเอื้อต่อการพัฒนาด้านการเรียนการสอนและการทำกิจกรรมเพื่อพัฒนา อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๖๑, ๔.๕๖, ๔.๕๖, ๔.๕๑ และ ๔.๕๑ ตามลำดับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะด้านผลผลิต นักเรียนเป็นคนดี มีคุณธรรม มีจริยธรรม มีศีลธรรม(ศีล ๕) และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ๘ ประการ ได้แก่ ข้อ ๑. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ข้อ ๒. ซื่อสัตย์สุจริต ข้อ ๓.มีวินัย ข้อ ๔.ใฝ่เรียนรู้ ข้อ ๕.อยู่อย่างพอเพียง ข้อ ๖. มุ่งมั่นในการทำงาน ข้อ ๗. รักความเป็นไทย ข้อ ๘.มีจิตสาธารณะ
จากการประเมินนักเรียนโครงการโรงเรียนวิถีพุทธตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนวัดหนองกระทุ่ม(สังฆรักษ์ราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต ๑ สามารถสรุปผลกาวิจัยได้ดังนี้
๑. การประเมินความเหมาะสมของโครงการในด้านกระบวนการ(Process Evaluation)
ได้แก่ การดำเนินโครงการ กิจกรรมการดำเนินงานตามโครงการ การนิเทศติดตามกำกับ และการประเมินผลในกระบวนการ พบว่า นักเรียนได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในระหว่างการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๐ นักเรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดการประเมินผลโครงการ ประชาสัมพันธ์โครงการให้นักเรียนได้รับทราย นักเรียนเข้าร่วมประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจในหลักการ วัตถุประสงค์และการดำเนินงานในกิจกรรม นักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินงาน นักเรียนมีส่วนร่วมการแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานโครงการ และนักเรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดกิจกรรมของโครงการอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๔๗, ๔.๔๗, ๔.๔๗ และ ๔.๔๕, ๔.๔๒ และ ๔.๓๙ ตามลำดับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะด้านกระบวนการ มีการวางแผนโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม มีคณะกรรมการรับผิดชอบการดำเนินงานโครงการ การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เป็นขั้นเป็นตอน นักเรียนเกิดความรักความชอบในการมาโรงเรียน การปฏิบัติกิจกรมต่าง ๆ เป็นไปโดยอัตโนมัติเมื่อถึงเวลานักเรียนจะพร้อมใจกันปฏิบัติ มีการบริหารคุณภาพผู้บริหารคอยดูแลให้การนิเทศติดตามกำกับ มีการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาทุกกิจกรรม
๒. การประเมินความเหมาะสมของโครงการในด้านผลผลิต(Product Evaluation) ได้แก่ การบรรลุวัตถุประสงค์ ความพึงพอใจของนักเรียน และการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียน พบว่า ทำให้เกิดความรักชาติ ศาสตร์ กษัตริย์ นักเรียนมีวินัยในตนเอง นักเรียนสามารถนำข้อคิดต่างๆที่ได้จากการเขาร่วมกิจกรรมมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน นักเรียนได้พัฒนาตนเอง นักเรียนได้ข้อคิดจากการนำหลักธรรมในพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต และนักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจและศรัทธาต่อพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๖๖, ๔.๕๘, ๔.๕๘, ๔.๕๕, ๔.๕๕ และ ๔.๕๐ ตามลำดับ กิจกรรมฝึกสมาธิทำให้นักเรียนมีสมาธิดีขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดเห็นหรือพฤติกรรมของนักเรียนไปในทางที่ดีขึ้น รักและภาคภูมิใจในความเป็นไทย ทำให้นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรมมากขึ้น กิจกรรมช่วยเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักเรียนกับนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และบุคคลทั่วไป นักเรียนรู้จักความพอเพียงคือมีความรู้คู่คุณธรรม ช่วยเสริมความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวให้แก่นักเรียนและคณะครู และนักเรียนเห็นคุณค่าของหลักธรรมของพุทธศาสนาและนำมาเป็นหลักปฏิบัติในการอยู่ร่วมกัน อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๔๗, ๔.๔๕, ๔.๔๕, ๔.๔๒, ๔.๔๒, ๔.๓๙, ๔.๓๔ และ ๔.๒๙ ตามลำดับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะด้านผลผลิต ผู้เรียนเป็นคนดี มีคุณธรรม มีจริยธรรม มีศีลธรรม(ศีล ๕) และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ๘ ประการ ได้แก่ ข้อ ๑. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ข้อ ๒. ซื่อสัตย์สุจริต ข้อ ๓.มีวินัย ข้อ ๔.ใฝ่เรียนรู้ ข้อ ๕.อยู่อย่างพอเพียง ข้อ ๖. มุ่งมั่นในการทำงาน ข้อ ๗. รักความเป็นไทย ข้อ ๘.มีจิตสาธารณะ การเรียนรู้มีการพัฒนาและสามาถนำหลักไตรสิกขาไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้