ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก โดยใช้กระบวนการสอน NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหา อย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2.1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการใช้รูปแบบ NAREE Model 2.2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการใช้รูปแบบ NAREE Model 2.3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบ NAREE Model กลุ่มตัวอย่างได้แก่ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาใน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนชุมชนดูนสาด ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหา และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20–0.91 และค่าความยากง่ายของข้อสอบ (P) แล้วคัดเลือกข้อสอบที่มีความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.20–0.80 ได้ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.20–0.72 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 4) แบบการสังเกตพฤติกรรมทักษะและเจตคติเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) t–test (Dependent Samples) และการทดสอบ Wilcoxon Singned-rank test

ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการแก้ปัญหาตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เน้นการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.70-5.00 2) ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน มีค่าเท่ากับ 83.36/84.11ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 และ มีค่าดัชนีประสิทธิผลของกระบวนการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก โดยใช้กระบวนการสอน NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ .5481 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน โดยรวมและรายข้อทุกข้อในระดับมาก

คำสำคัญ การพัฒนา, รูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์, โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก, กระบวนการสอน NAREE Model, ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

ABSTRACT

The objectives of the research were 1) To develop a learning management format based on the NAREE Model to strengthen the ability to solve problems creatively. For Mathayom 5 students, 2) to study the effectiveness of the NAREE Model learning management format to strengthen the ability to solve problems creatively. For Mathayom 5 students 2.1) Compare the creative problem solving ability of Mathayom 5 students before and after using the NAREE Model. 2.2) Compare the academic achievement of Mathayom 5 students before and after using the NAREE Model. 2.3) Study students’ opinions on using the NAREE Model science teaching model. Sample groups include: I am a Mathayom 5 student who is studying in the 1st semester of the 2022 academic year at Doonsat Community School. Obtained through purposive selection of 31 people. The tools used in the research include 1) learning activity format, 2) learning management plan, 3) academic achievement test, 4) problem-solving ability test, and 5) satisfaction questionnaire. The discriminatory power value is between 0.20–0.91 and the difficulty value of the exam (P). Then select the exam that has difficulty between 0.20–0.80. The difficulty value is between 0.20–0.72 and the confidence value is 0.88. 4) Observation of behavior, skills and attitude using a rating scale. 5) Student satisfaction questionnaire. Statistics used in data analysis include percentage, mean ( ), standard deviation (S.D.), t-test (Dependent Samples), and Wilcoxon Singned-rank test.

The research results were as follows: 1) Development of learning management models Organize teaching and learning activities that emphasize problem solving according to the concept of constructivist theory. Emphasis on organizing learning using inquiry-based learning in 5 steps, format for organizing learning activities. According to expert opinion It is appropriate at the highest level in every item. with an average between 4.70-5.00. 2) Ability to solve problems creatively For Mathayom 5 students before and after studying, the values were equal to 83.36/84.11, which is higher than the criteria of 80/80 and had an index value for the effectiveness of the learning process with the scientific learning management model on structure and growth. of flowering plants Using the NAREE Model teaching process to strengthen the ability to solve problems creatively. For Mathayom 5 students, the value was .5481, higher than the specified criteria. 3) Results of the assessment of student satisfaction with learning. Overall and each item at a high level.

Keywords : Development, science learning model, structure and growth of flowering plants, NAREE Model teaching process, creative problem solving ability

1. ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 หมวด 1 ความมุ่งหมายและหลักการ มาตรา 6 ได้ระบุถึงการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข หมวด 4 แนวการจัดการศึกษามาตรา 22 กล่าวถึงการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการเรียนรู้ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ และมาตรา 24 ได้ระบุแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สถานศึกษาไว้ว่าต้องเน้นการฝึกทักษะและกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ผู้เรียนจำเป็นต้องมีทักษะที่จำเป็นเพื่อเผชิญความเปลี่ยนแปลงและใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่า ซึ่งสังคมโลกในยุคศตวรรษที่ 21 เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (Knowledge Society) ผู้ที่จะประสบความสำเร็จในสังคมของโลกยุคใหม่จะต้องมีความรู้อันเป็นสากลมีความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น มีวินัยและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและมีทักษะชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมโลกได้อย่างสันติสุข (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2553: 2-5) ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาเยาวชนของชาติเข้าสู่โลกยุคศตวรรษที่ 21 โดยมุ่งส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณธรรม รักความเป็นไทย ให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ มีทักษะด้านเทคโนโลยี สามารถทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมโลกได้อย่างสันติ กระทรวงศึกษาธิการจึงมีบทบาทสำคัญในการสร้างและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพและศักยภาพ เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ มีความสามารถในการแข่งขัน รู้เท่าทันโลก เพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง สามารถสั่งสมทุนทางปัญญา เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2552: 2)

กระทรวงศึกษาธิการได้มีการพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อพัฒนาเยาวชนของชาติเข้าสู่ยุคศตวรรษที่ 21 โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมาย 5 ประการ คือ 1) มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) มีความรู้อันเป็นสากลและมีความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและมีทักษะชีวิต 3) มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัยและรักการออกกำลังกาย 4) มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและ 5) มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและ ภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคมและอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข (กระทรวงศึกษาธิการ, 2552: 2-13)

จากการศึกษาการจัดการเรียนรู้ในวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยา สาระที่ 3 เข้าใจส่วนประกอบของพืช การแลกเปลี่ยนแก๊สและการคายน้ำของพืช การลำเลียงของพืช การสังเคราะห์ด้วยแสง การสืบพันธุ์ของพืชดอก และการเจริญเติบโต และการตอบสนองของพืช รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ โรงเรียนชุมชนดูนสาด เมื่อวิเคราะห์หลักสูตรการเรียนการสอน ในระดับมัธยมศึกษา พบว่าเนื้อหาความรู้มีมากแต่เวลาในการเรียนการสอนค่อนข้างน้อย เพราะการเรียนกลุ่มสาระวิทยศาสตร์ต้องใช้เวลาในการศึกษาค้นคว้า และทดลองค่อนข้างมาก และมีกิจกรรมพิเศษแทรกในการจัดกาเรียนการสอน นักเรียนขาดความต่อเนื่องในเรียนรู้ ทำให้การเรียนรู้สะดุดนักเรียนขาดความสนใจ ไม่สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ขาดทักษะในการแก้ปัญหา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 มีนโยบายทางการศึกษาด้านการเรียนการสอน ที่เน้นให้ผู้เรียนเรียนมีสมรรถนะ (ด้านคุณภาพผู้เรียน) 1) ด้านความรู้ (Knowledge) ของนักเรียน 2) ด้านคุณลักษณะ ค่านิยม และเจตคติ (Attribute, Value and Attitude) 3) ด้านทักษะและสมรรถนะ (Skills and Competencies) อีกทั้งโรงเรียนชุมชนดูนสาดก็มีนโยบายที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพเป็นพลโลก มีทักษะ ความรู้ความสามารถ และ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ให้มีคุณภาพการศึกษาสูง แต่ปัจจุบันพบว่า ผู้เรียนถูกสอนให้เรียนรู้ในระบบการศึกษาตามกรอบที่ครูอยากให้รู้ ผู้เรียนมักจะถูกสอนเสมอว่าเรียนให้หนัก ทำข้อสอบให้ได้ เกรดเฉลี่ยต้องดี สอบเข้ามหาวิทยาลัยให้ได้ และต้องหางานทำดี ๆ ได้เงินเดือนสูงๆ ในขณะที่ตอนนี้การศึกษาของเรากำลังก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ความคิดสร้างสรรค์เป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นมาก ปัจจุบันพบว่าเส้นทางชีวิตของคนๆ หนึ่งที่มุ่งเน้นแต่เรื่องวิชาการอย่างเดียวก็ไม่ได้เป็นเครื่องการันตีว่าจะประสบความสำเร็จในชีวิต หนึ่งในทักษะที่มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับเด็กในยุคนี้และยุคหน้าก็คือ เรื่องความคิดสร้างสรรค์

การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เป็นวิธีการที่ใช้ในการพัฒนาศักยภาพด้านความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนโดยผ่านกรอบทฤษฎีที่ใช้ในการพัฒนาและวิเคราะห์การแก้ปัญหา โดยมีขั้นตอนคือ 1) การทำความเข้าใจกับปัญหา 2) การตัดสินปัญหา 3) การหาแนวทาง 4) การประเมินข้อมูล และ 5) วิธีการแก้ปัญหา (Treffinger et al., 2006, อ้างถึงใน ศิรภัสสร ศรเสนา, 2557) และเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างความคิดสร้างสรรค์กับความคิดวิจารณญาณ การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เป็นการคิดที่สำคัญจะต้องอาศัยทั้งองค์ประกอบของการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญาที่ต้องอาศัยการจัดการเรียนการสอน เพื่อการพัฒนาผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เป็นความสามารถที่มีอยู่ในตัวผู้เรียนทุกคนและทุกคนสามารถพัฒนาทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ได้ วิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต และช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ การรับรู้และเข้าใจบทบาทของวิทยาศาสตร์ จะทำให้สามารถตัดสินใจและรู้จักใช้วิทยาศาสตร์แก้ปัญหาของตนได้ วิทยาศาสตร์จึงเป็นศาสตร์หนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่สามารถคิดอย่างมีระบบ มีเหตุผล เป็นคนช่างสังเกต และแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่เยาวชนทุกคนต้องเรียน และมีความจำเป็นที่เยาวชนทุกคนต้องมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดทักษะ/กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไว้ 5 ประการ ได้แก่ ความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การเชื่อมโยงความรู้ และการริเริ่มสร้างสรรค์

ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาและสังเคราะห์เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักการ แนวคิดต่าง ๆ ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน แนวคิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเอง Constructivism การสอนด้วยวิธีการแบบสืบเสาะหาความรู้(5E) และแนวคิดเกี่ยวกับการสอนสอนแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) และได้สังเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอน เพื่อสรุปข้อมูลที่ได้เป็นแนวทางในการกำหนดองค์ประกอบในการพัฒนารูปแบบการสอน จนได้ “NAREE Model” ซึ่งได้มีการมีการประยุกต์อย่างเป็นระบบและปรับปรุงให้มีความสอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน สามารถพัฒนาให้ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามสถานศึกษากำหนด ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนเข้าใจ รู้จักวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ ที่หลั่งไหลเข้ามาในชีวิตประจำวันได้อย่างมีเหตุผลบนพื้นฐานของคุณธรรมและจริยธรรมได้อย่างเหมาะสม

2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย

2.1 เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

2.2 เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

2.2.1 เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการใช้รูปแบบ NAREE Model

2.2.2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการใช้รูปแบบ NAREE Model

2.2.3 ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบ NAREE Model

3. สมมติฐานของการวิจัย

3.1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80

3.2 ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ NAREE Model สูงกว่าก่อนเรียน

3.3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5หลังการเรียนโดยใช้รูปแบบรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ NAREE Model สูงกว่าก่อนเรียน

4. ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย

4.1 ประโยชน์แก่ผู้เรียน

4.1.1 ทำให้ได้เสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่าสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

4.1.2 ทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายมากและสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

4.2 ประโยชน์แก่ครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษา

4.2.1 ได้องค์ความรู้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์

4.2.2 เป็นแนวทางสำหรับครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ในเนื้อหา ระดับชั้นหรือช่วงชั้นอื่น ๆ ต่อไป

4.3 ประโยชน์แก่สถานศึกษา

4.3.1 ทำให้โรงเรียนมีค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพิ่มสูงขึ้น

4.3.2 ทำให้โรงเรียนมีแนวทางในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ต่อไป

5. วิธีดำเนินการวิจัย

การวิจัยเรื่อง พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาใน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนชุมชนดูนสาด ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหา และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20–0.91 และค่าความยากง่ายของข้อสอบ (P) แล้วคัดเลือกข้อสอบที่มีความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.20–0.80 ได้ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.20–0.72 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 4) แบบการสังเกตพฤติกรรมทักษะและเจตคติเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) t–test (Dependent Samples) และการทดสอบ Wilcoxon Singned-rank test

6. ผลการวิจัย

1) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก โดยใช้กระบวนการสอน NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีดังนี้ 1) มีกรอบแนวคิดทฤษฎีมาจากรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการแก้ปัญหาตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการแก้ ปัญหาตามแนวคิดเกี่ยวกับการสอนแบบสืบเสาะหา ความรู้(Inquiry Method) การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (The 5 E’s of Inquiry-Based Learning) แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ มาใช้ในการออกแบบและพัฒนาเครื่องมือประเมินผลร่วมกับแนวคิดการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) การประยุกต์ร่วมกับกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) และมีรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นประสบการณ์ (Experiential Learning) และการจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนนำตนเอง (Self–Directed Learning) และ 2) รูปแบบการการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก โดยใช้กระบวนการสอน NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ขั้นตอนของการเรียนรู้ตามรูปแบบ NAREE Model) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจด้วยความแปลกใหม่ (Novelty : N) ขั้นที่ 2 สำรวจและเข้าถึงการแก้ปัญหา (Accessible : A) ขั้นที่ 3 วิเคราะห์ปัญหา แก้ปัญหา (Resolve : R) ขั้นที่ 4 สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Element : E) ขั้นที่ 5 การประเมินผล ประยุกต์ใช้ (Evaluate : E) เพื่อให้นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และมีวิจัยการประยุกต์ร่วมกับกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยที่ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.70-5.00 แสดงว่ามีความเหมาะสมในการนำไปใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

2) ผลการพัฒนาและประเมินรูปแบบการการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก โดยใช้กระบวนการสอน NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.70-5.00 แสดงว่ามีความเหมาะสมในการนำไปใช้เสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ขอนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก โดยใช้กระบวนการสอน NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลโดยรวมหลังการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา เพิ่มมากขึ้นกว่าก่อนได้รับการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา โดยใช้รูปแบบการการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก โดยใช้กระบวนการสอน NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4) ผลการประเมินการใช้รูปแบบการการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก โดยใช้กระบวนการสอน NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วย

4.1) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก โดยใช้กระบวนการสอน NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน มีค่าเท่ากับ 83.36/84.11ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก โดยใช้กระบวนการสอน NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 83.36/84.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ และ มีค่าดัชนีประสิทธิผลของกระบวนการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก โดยใช้กระบวนการสอน NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ .5481 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

4.2 ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก โดยใช้กระบวนการสอน NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5ก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01

4.3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก โดยใช้กระบวนการสอน NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมและรายข้อทุกข้อในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือข้อ 13 กิจกรรมการเรียนรู้นี้ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ( = 4.47) ข้อ14 กิจกรรมการเรียนรู้สามารถศึกษาได้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน( = 4.45) และข้อ16 การจัดการเรียนรู้นี้นักเรียนเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ( = 4.44) ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อ 5 การเรียนรู้นี้สามารถทำให้นักเรียนได้นำความรู้สู่การปฏิบัติจริง ( = 3.92)

7. อภิปรายผลการวิจัย

การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก โดยใช้กระบวนการสอน NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประเด็นที่น่าสนใจผู้วิจัยจึงได้นำมาอภิปรายผล โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1) การพัฒนารูปแบบการการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก โดยใช้กระบวนการสอน NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีดังนี้ 1) มีกรอบแนวคิดทฤษฎีมาจากรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการแก้ปัญหาตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการแก้ ปัญหาตามแนวคิดเกี่ยวกับการสอนแบบสืบเสาะหา ความรู้(Inquiry Method) การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (The 5 E’s of Inquiry-Based Learning) แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ มาใช้ในการออกแบบและพัฒนาเครื่องมือประเมินผลร่วมกับแนวคิดการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) การประยุกต์ร่วมกับกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) และมีรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นประสบการณ์ (Experiential Learning) และการจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนนำตนเอง (Self–Directed Learning) และ 2) รูปแบบการการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก โดยใช้กระบวนการสอน NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ขั้นตอนของการเรียนรู้ตามรูปแบบ NAREE Model) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจด้วยความแปลกใหม่ (Novelty : N) ขั้นที่ 2 สำรวจและเข้าถึงการแก้ปัญหา (Accessible : A) ขั้นที่ 3 วิเคราะห์ปัญหา แก้ปัญหา (Resolve : R) ขั้นที่ 4 สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Element : E) ขั้นที่ 5 การประเมินผล ประยุกต์ใช้ (Evaluate : E) เพื่อให้นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และมีวิจัยการประยุกต์ร่วมกับกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยที่ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ แสดงว่ามีความเหมาะสมในการนำไปใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สอดคล้องกับแนวคิดของทิศนา แขมมณี (2545 : 4-5) ที่สรุปไว้ว่าการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนจะต้องผ่านการจัดองค์ประกอบต่าง ๆ ของรูปแบบการเรียนการสอนให้เป็นระบบ โดยคำนึงถึงทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องจัดองค์ประกอบต่างๆ ของรูปแบบการเรียนการสอนให้มีความสัมพันธ์กัน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ

2) ผลการพัฒนาและประเมินรูปแบบการสอนการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก โดยใช้กระบวนการสอน NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.70-5.00 แสดงว่ามีความเหมาะสมในการนำไปใช้เสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สอดคล้องกับงานวิจัยของนลินทิพย์ คชพงษ์ (2561) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้าง การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู ผลการวิจัยพบว่า ระดับการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิชาชีพครูในด้านสภาพที่เป็นจริงอยู่ในระดับต่ำกว่าด้านสภาพที่คาดหวัง และเมื่อพิจารณาผลการจัดลำดับความ ต้องการจำเป็นรายองค์ประกอบพบว่า องค์ประกอบที่มีความต้องการจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง คือ การสร้างสรรค์วิธีการแก้ปัญหา ในระยะที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นประกอบด้วยกิจกรรมจำนวน 12 ครั้ง มีผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด และในระยะที่ 3 มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาวิชาชีพครูจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และแบบประเมินคุณภาพผลงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ในระยะ หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีระดับการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ในระยะหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนจากแบบ ประเมินคุณภาพผลงานในทุก ๆ มิติสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก โดยใช้กระบวนการสอน NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลโดยรวมหลังการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เพิ่มมากขึ้นกว่าก่อนได้รับการพัฒนาความสามารถโดยใช้รูปแบบการการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก โดยใช้กระบวนการสอน NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับงานวิจัยของอับดุลเลาะ อูมาร์ (2560) ได้ศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่องสมดุลเคมี ที่มี ต่อแบบจำลองทางความคิด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแบบจำลองทางความคิดเรื่องสมดุลเคมี 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมี และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการ จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5/1 โรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ 18 ชั่วโมง เครื่องที่ใช้ใน การวิจัยประกอบด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่องสมดุลเคมี ใบกิจกรรมแบบจำลองทางความคิด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมี และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน ดำเนินการทดลองแบบศึกษากลุ่มตัวอย่างเดียวมีการวัดหลาย ครั้งแบบอนุกรมเวลา (One Group Time-Series Research Design) ผลการวิจัย พบว่า แบบจำลอง ทางความคิดเรื่องสมดุลเคมีครั้งที่ 1 ถึง 5 ของนักเรียนดีขึ้นตามลำดับ และพบว่า คะแนนเฉลี่ย แบบจำลองทางความคิดในแต่ละครั้งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ยกเว้นครั้งที่ 3 กับ 5 และครั้งที่ 4 กับ 5 ส่วนแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมี และแบบวัดความพึงพอใจของ นักเรียน ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการ เรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) อยู่ในระดับมากที่สุด

4) ผลการประเมินการใช้รูปแบบการสอนการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก โดยใช้กระบวนการสอน NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วย

4.1) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก โดยใช้กระบวนการสอน NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน มีค่าเท่ากับ 83.36/84.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก โดยใช้กระบวนการสอน NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 83.36/84.11ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ และ มีค่าดัชนีประสิทธิผลของกระบวนการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก โดยใช้กระบวนการสอน NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สอดคล้องกับขวัญชัย ขัวนา, ธารทิพย์ ขัวนา, เลเกีย เขียวดี (2559) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการวิจัยพบว่า โดยรวมความต้องการอยู่ที่ระดับมาก

4.2) ผลการเปรียบเทียบความสามารถการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก โดยใช้กระบวนการสอน NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01 สอดคล้องกับงานวิจัยของวนัสนันท์ ชูรัตน์ (2564) ได้ศึกษางานวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยใช้รูปแบบการ แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ร่วมกับอินโฟกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง กรด-เบส โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการ แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ร่วมกับอินโฟกราฟิกในการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง กรด-เบส 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา อย่างสร้างสรรค์โดยใช้รูปแบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ร่วมกับอินโฟกราฟิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง กรด-เบส ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในซึ่งผลการวิจัยพบว่าแนวทางการจัดแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ร่วมกับอินโฟกราฟิกนั้นในระหว่างกิจกรรมจะต้องกระตุ้นความสนใจของนักเรียนโดยใช้ คลิปวิดีโอใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนคิดหาวิธีการแก้ปัญหาได้หลากหลายและแปลกใหม่เน้นย้ำให้เขียนวิธีการแก้ปัญหาออกมาได้ครอบคลุมและสอดคล้องกับสถานการณ์ เน้นย้ำวิธีการสร้างอินโฟกราฟิกที่แสดงถึงวิธีการแก้ปัญหา โดยการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ เรียบเรียง ประมวลผลเน้นการ สื่อสารด้วยการใช้ภาพสัญลักษณ์แทนการอธิบายด้วยตัวอักษร และนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมิน รวมทั้งใช้คำถามกระตุ้นให้อธิบายความแตกต่างและจุดเด่นของแต่ละวิธีแสดงให้เห็นว่า วิธีการนั้นควรเป็นที่ยอมรับและนำไปใช้ได้จริง และผลการศึกษาทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ร่วมกับอินโฟกราฟิกพบว่ามีการพัฒนาที่ดีขึ้นตามลำดับ และหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4.3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก โดยใช้กระบวนการสอน NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมและรายข้อทุกข้อในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือข้อ 13 กิจกรรมการเรียนรู้นี้ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ( = 4.47) ข้อ14 กิจกรรมการเรียนรู้สามารถศึกษาได้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน( = 4.45) และข้อ16 การจัดการเรียนรู้นี้นักเรียนเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ( = 4.44) ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อ 5 การเรียนรู้นี้สามารถทำให้นักเรียนได้นำความรู้สู่การปฏิบัติจริง ( = 3.92)

8. ข้อเสนอแนะ

8.1 ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการวิจัยไปใช้

1) จากผลการวิจัย พบว่ารูปแบบการการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก โดยใช้กระบวนการสอน NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นเมื่อนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ไปใช้จริงครูผู้สอนควรเข้าใจและดำเนินการตามองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนอย่างถูกต้อง โดยเน้นการสอนทักษะกระบวนการ ทักษะการเรียนรู้ และพัฒนาตนเอง ทักษะความรับผิดชอบต่อสังคมเวลาร่วมงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดเจตคติ และความสามารถในการแก้ปัญหา ครูผู้สอนควรเตรียมแหล่งข้อมูลในการค้นคว้าที่หลากหลายไว้ล่วงหน้า เช่น เนื้อหา สื่อ ICT เอกสาร ตำรา คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โดยครูผู้สอนต้องศึกษาสภาพจริงข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้องสอดคล้องกับปัญหาหรือข้อคำถามที่นำมาเป็นบทเรียนอย่างจริงจัง นอกจากนี้การฝึกนักเรียนให้กำกับการเรียนรู้ของตนเอง โดยครูผู้สอนดูแล แนะนำในการทำกิจกรรม ช่วยเหลือในการเรียนรู้ให้เป็นไปตามขั้นตอน อีกทั้งครูผู้สอนควรส่งเสริมการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นเพราะมีการเรียนการสอนเป็นกลุ่ม ฝึกคิดแก้ปัญหาร่วมกัน ทำงานกลุ่ม ครูผู้สอนควรแนะนำให้นักเรียนเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง ในการทำงานกลุ่มและให้ทุกคน ในกลุ่มมีบทบาทหน้าที่มีความสำคัญเท่าเทียมกัน แนะนำขยายความเข้าใจในการเรียนและปฏิบัติงานทุกขั้นตอน กระตุ้นเสริมแรงให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองชมเชย เมื่อผู้เรียนมีความก้าวหน้ามากขึ้นจากเดิม ประเมินผลการเรียนระหว่างเรียนและสิ้นสุดการเรียนการสอน สามารถช่วยให้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นเกิดประโยชน์

2) จากผลการวิจัย พบว่าผลรูปแบบการการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก โดยใช้กระบวนการสอน NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในระดับมากทุกรายการ ดังนั้นครูผู้สอนที่จะนำรูปแบบการการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก โดยใช้กระบวนการสอน NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5ที่พัฒนาขึ้นไปใช้ครูผู้สอนควรเน้นฝึกให้นักเรียนได้ใช้ความคิดในการวิเคราะห์แก้ปัญหาเพิ่มเติมและฝึกความคิดสร้างสรรค์และควรให้นักเรียนตระหนักถึงประโยชน์ของการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

3) จากผลการวิจัย พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก โดยใช้กระบวนการสอน NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากทุกด้าน เพราะการเรียนการสอนทำให้นักเรียนได้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการฝึกการคิดในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ บรรยากาศในการเรียนไม่ตึงเครียด มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนด้วยกัน และแสวงหาข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย นักศึกษานำความรู้ไปสู่การปฏิบัติได้ และทำให้ทราบผลการประเมินทันที สำหรับด้านระยะเวลาในการจัดการเรียนการสอนควรปรับให้เหมาะสมกับเนื้อหาแต่ละหน่วย ควรเพิ่มเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมจิตสาธารณะให้มากขึ้น และมีความยืดหยุ่นดังนั้นในการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้ครูผู้สอนควรปรับเวลาให้สอดคล้องกับเนื้อหาและกิจกรรม และกลุ่มของผู้เรียน ควรเตรียมแหล่งเรียนรู้ให้นักเรียนค้นคว้าอย่างเพียงพอ

8.2 ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป

1) รูปแบบการการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก โดยใช้กระบวนการสอน NAREE Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สามารถพัฒนาและส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้เทคนิคการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม สามารถนำความรู้สู่การปฏิบัติ มีความรับผิดชอบ มีเหตุผล และมีจิตสาธารณะ ดังนั้นควรพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนกลุ่มสาระอื่น ๆ

2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้มีการศึกษาเฉพาะผลจากการใช้รูปแบบที่เกิดขึ้นกับตัวแปรตาม มิได้มีการพัฒนาตัวแปรกลางที่ส่งผลต่อตัวแปรตาม ดังนั้นในการวิจัยครั้งต่อไปควรมีการวิจัยเปรียบเทียบเกี่ยวกับระดับความแตกต่างของตัวแปร เช่น นักเรียนที่มีผลการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน

9. เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). เอกสารประกอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ขวัญชัย ขัวนา, ธารทิพย์ ขัวนา และเลเกีย เขียวดี. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21. งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.)

ทิศนา แขมมณี. (2545). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

นลินทิพย์ คชพงษ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้าง การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วนัสนันท์ ชูรัตน์. (2564). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยใช้รูปแบบการแก้ปัญหาอย่าง สร้างสรรค์ร่วมกับอินโฟกราฟิกสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องกรด-เบส. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

อับดุลเลาะ อูมาร์. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้(5Es) เรื่อง สมดุลเคมีที่มีต่อแบบจำลองทางความคิด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Treffinger, D.J., Isaksen, S.G., & Dorval, K.B. (2006). Creative Problem Solving (CPS Version 6.1™) A Contemporary Framework for Managing Change. Waco, TX: Prufrock Press.

โพสต์โดย ต้อย : [24 ก.ย. 2566 เวลา 03:02 น.]
อ่าน [1282] ไอพี : 223.206.233.218
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 4,231 ครั้ง
ประวัติ ชัชชาติ สิทธิพันธ์ุ ผู้ชนะการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประวัติ ชัชชาติ สิทธิพันธ์ุ ผู้ชนะการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

เปิดอ่าน 10,848 ครั้ง
ความลับของชาเขียว
ความลับของชาเขียว

เปิดอ่าน 13,180 ครั้ง
โลกออนไลน์แชร์คลิปดีๆ "ครูบุ๋ม" ชวนเด็กๆเต้น T26 ก่อนเรียนคาบแรก
โลกออนไลน์แชร์คลิปดีๆ "ครูบุ๋ม" ชวนเด็กๆเต้น T26 ก่อนเรียนคาบแรก

เปิดอ่าน 11,063 ครั้ง
6 ท่าฟิต&เฟิร์ม ระบบประสาท สมอง
6 ท่าฟิต&เฟิร์ม ระบบประสาท สมอง

เปิดอ่าน 125,538 ครั้ง
สุดยอด! หนังสั้น"เดือนเพ็ญ"ผลงานนักเรียนยอดวิวกว่า2แสนวิวแล้ว
สุดยอด! หนังสั้น"เดือนเพ็ญ"ผลงานนักเรียนยอดวิวกว่า2แสนวิวแล้ว

เปิดอ่าน 81,737 ครั้ง
ละครสังคีต
ละครสังคีต

เปิดอ่าน 18,738 ครั้ง
ปลูกมะนาวนอกฤดู 1 ไร่ ได้ 1 แสน
ปลูกมะนาวนอกฤดู 1 ไร่ ได้ 1 แสน

เปิดอ่าน 7,599 ครั้ง
สาธิตการเติมสันจมูกให้ได้รูป
สาธิตการเติมสันจมูกให้ได้รูป

เปิดอ่าน 16,843 ครั้ง
ผลวิจัย "ซุปไก่สกัด" มีผลดีต่อสมองและร่างกาย
ผลวิจัย "ซุปไก่สกัด" มีผลดีต่อสมองและร่างกาย

เปิดอ่าน 19,505 ครั้ง
25 พฤศจิกายน วันวชิราวุธ
25 พฤศจิกายน วันวชิราวุธ

เปิดอ่าน 30,185 ครั้ง
สัมภาษณ์ "น้องเรนนี่" เด็กไทยอัจฉริยะ สอบได้คะแนนอันดับที่ 1 ของโลก
สัมภาษณ์ "น้องเรนนี่" เด็กไทยอัจฉริยะ สอบได้คะแนนอันดับที่ 1 ของโลก

เปิดอ่าน 7,885 ครั้ง
เล่นหมากล้อม สามารถพัฒนาผลการเรียนคณิตศาสตร์ได้!
เล่นหมากล้อม สามารถพัฒนาผลการเรียนคณิตศาสตร์ได้!

เปิดอ่าน 12,791 ครั้ง
5 ปัญหาการเงิน เลี่ยงซะก่อนชีวิตคู่จะพัง
5 ปัญหาการเงิน เลี่ยงซะก่อนชีวิตคู่จะพัง

เปิดอ่าน 23,698 ครั้ง
ประวัติ ความเป็นมาของ "วันเด็กแห่งชาติ"
ประวัติ ความเป็นมาของ "วันเด็กแห่งชาติ"

เปิดอ่าน 30,950 ครั้ง
การวัดปริมาณน้ำฝน
การวัดปริมาณน้ำฝน

เปิดอ่าน 32,196 ครั้ง
มหาลัยล้น ห้องเรียนร้าง วิกฤตอุดมศึกษาไทย
มหาลัยล้น ห้องเรียนร้าง วิกฤตอุดมศึกษาไทย
เปิดอ่าน 14,666 ครั้ง
ไม่อยากให้ลูกลำบาก!! เทคนิคง่ายๆ สอนเด็กให้เป็น "เศรษฐี"
ไม่อยากให้ลูกลำบาก!! เทคนิคง่ายๆ สอนเด็กให้เป็น "เศรษฐี"
เปิดอ่าน 27,486 ครั้ง
การจัดลำดับอาวุโสในราชการ
การจัดลำดับอาวุโสในราชการ
เปิดอ่าน 6,421 ครั้ง
โครงการ DifferSheet ออกฟีเจอร์ใหม่ WorkSheet (สื่อการเรียนการสอนดิจิทัล) ให้ครูใช้ฟรีช่วงโควิด
โครงการ DifferSheet ออกฟีเจอร์ใหม่ WorkSheet (สื่อการเรียนการสอนดิจิทัล) ให้ครูใช้ฟรีช่วงโควิด
เปิดอ่าน 11,798 ครั้ง
35 เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ ของคนวัย 35 ที่น่าเลียนแบบ
35 เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ ของคนวัย 35 ที่น่าเลียนแบบ

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ