ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การบริหารสถานศึกษา MAEPANG Model

นวัตกรรม การบริหารงานโรงเรียนบ้านแม่แปง

โรงเรียนบ้านแม่แปง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2

ประจำปีการศึกษา พ.ศ.2566

ชื่อผลงาน “MAEPANG Model ”

1.บทสรุป

การดำเนินการบริหารในสถานศึกษาในยุคปัจจุบันนวัตกรรมมีความสำคัญในการกำหนดทิศทางการทำงานขององค์กร ในการบริหารงานของโรงเรียนบ้านแม่แปง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 โรงเรียนได้ดำเนินการตามมาตรการตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งมั่นในการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็น “การศึกษาขั้นพื้นฐานวิถีใหม่ วิถีคุณภาพ” โดยมีโครงสร้างการบริหารงาน โรงเรียน 4 ฝ่าย คือฝ่ายบริหารวิชาการ ฝ่ายบริหารงานบุคคล ฝ่ายบริหารงบประมาณ และ ฝ่ายบริหารงานทั่วไป โดยมุ่งเน้นการสร้างคุณภาพทางวิชาการและการ เสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาที่มี คุณภาพอย่างเท่าเทียมและบริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นพัฒนาระบบและกลไกในการดูแล ความปลอดภัยให้แกผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษา เพื่อสร้างความมั่นใจ และความเชื่อมั่นให้แก่นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ปกครอง และ ประชาชนทั่วไป

สิ่งที่จำเป็นในกระบวนการสร้างทักษะแห่งอนาคตใหม่ในศตวรรษที่ 21 (3Rs8Cs) เป็นทักษะการเรียนรู้ตามแผนการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 กำหนดวิสัยทัศน์ “คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่าง มีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลง ของโลกศตวรรษที่ 21”เป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนชาวไทยในฐานะการเป็นพลเมืองโลก ที่มีการดำรงชีวิตท่ามกลางโลกแห่งเทคโนโลยี โลกของเศษฐกิจและการค้า โลกาภิวัตน์กับเครือข่าย ความสมดุลของสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ความเป็นสังคมเมือง สังคมผู้สูงอายุ และความเป็นโลก มีเทคโนโลยีสอดแทรกเข้าไปในระบบการทำงานและการดำรงชีวิต และที่สำคัญจะต้องเป็นผู้มีคุณะธรรม จริยธรรมเพื่อเอื้อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสมากขึ้นในการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ เชื่อมโยง กับสิ่งแวดล้อมรอบตัว

เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และจุดมุ่งหมายในการจัดการศึกษาดังกล่าวข้างต้น แผนการศึกษา แห่งชาติได้วางเป้าหมาย ด้านผู้เรียน (Learner Aspirations) โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณลักษณะ และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3Rs8CS) สิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตท่ามกลางการเกิดการ เปลี่ยนแปลงความเป็นสังคมเมืองแทรกอยู่ในความเป็นชนบทเพื่อสามารถปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลง ในยุคดิจิทัล ที่เน้นการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการแข่งขันนั้น จำเป็นต้องพัฒนาทักษะเพื่อให้การเรียนรู้ ในศตวรรษที่21 มีคุณลักษณะด้านการเรียนรู้และผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ คิดอย่างเป็น ระบบด้วยเหตุผลอย่างเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อแก้ปัญหาต่างๆสามารถนำไปปรับใช้เพื่อแก้ไขปัญหาในสาขาวิชา ต่างๆ ได้ เอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3Rs8Cs) จึงจัดทำขึ้นเพื่อพัฒนา ผู้เรียนทุกคนให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ด้านทักษะการอ่าน ทักษะการเขียน และทักษะการคิด เลขเป็น

โรงเรียนบ้านแม่แปง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ตระหนักและเห็นความสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 (3Rs8Cs) จึงเข้าร่วมโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงศตวรรษที่ 21 (3Rs8Cs) ของผู้นักเรียน จึงได้ร่วมกันสร้างนวัตกรรมเพื่อการขับเคลื่อนการบริหารงานของสถานศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา สู่การปฏิบัติอย่างยั่งยืน

2.ความเป็นมาและสภาพของปัญหา

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านที่ 1 ยุทธศาสตร์ในเรื่อง การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ มีวัตถุประสงคหลัก ในการเสริมสร้างความมั่นคงในชีวิตของคนทุกชวงวัย และด้านที่ 4ยุทธศาสตร์ในเรื่อง การจัดการศึกษาเพื่อความเสมอภาค และแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2560-2579) จึงได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาที่เกิดจากความก้าว หนาทางวิทยาการและเทคโนโลยีของโลกยุคศตวรรษที่ 21 เป็นพลวัตที่ก่อให้เกิดความท้าทายในด้านการ เปลี่ยนแปลงของบริบทเศรษฐกิจและสังคมโลก อันเนื่องจากการปฏิวัติดิจิทัล (Digital Revolution) ประเทศเขาสู่ สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณในอนาคตอันใกล การติดกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรม และพฤติกรรมของประชากรที่ปรับเปลี่ยนไปตามกระแสโลกาภิวัฒน์เป็นผลให้เกิดการเร่งแก้ไขปัญหา ทั้งยังเกิดภัยคุกคามต่อความมั่นคงรูปแบบใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนและประเทศชาติมีความซับซ้อนและ รุนแรงมากขึ้น ซึ่งภัยในแต่ละด้านลวนมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศประกอบกับนโยบาย Quick Win 7 วาระ เร่งด่วน ในเรื่องการยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ เพื่อสร้างวิถีคุณภาพการศึกษา

นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งมั่นในการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็น “การศึกษาขั้นพื้นฐานวิถีใหม่ วิถีคุณภาพ” มุ่งเน้นการเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาที่มี คุณภาพอย่างเท่าเทียมและบริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นพัฒนาระบบและกลไกในการดูแล ความปลอดภัยให้แกผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษา จากภัยพิบัติและภัยคุกคามทุกรูปแบบ รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อตอการมีสุขภาวะที่ดี สามารถปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำส่งเสริมความ ปลอดภัยสร้างความมั่นใจใหสังคม เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยแก่นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาสังกัด กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้การป้องกัน ดูแล ช่วยเหลือหรือเยียวยา และแก้ไขปัญหามีความเป็นเอกภาพ มีข้อมูล สารสนเทศที่เป็นระบบ สามารถแก้ไขปัญหาและบริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่างยั่งยืนด้วยการบริหารจัดการตาม มาตรการ 3 ป ได้แก่ ป้องกัน ปลูกฝัง และปราบปราม ใหเกิดความปลอดภัยใหมากที่สุด และไม่ให้เกิดเหตุการณ์ นั้นซ้ำอีก เพื่อสร้างความมั่นใจ และความเชื่อมั่นให้แก่นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ปกครอง และ ประชาชนทั่วไป ในการที่จะได้เรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และเกิดความปลอดภัยอย่างมั่นคงและยั่งยืน เพื่อให้แนวทาง การปฏิบัติสอดคลองและเป็นระบบ

3.วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการบริหารงานในสถานศึกษา

2. เพื่อดำเนินงานบริหารงานในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ

3. เพื่อให้เกิดคุณภาพในสถานศึกษา

เป้าหมาย

1. ผู้บริหาร คณะครูบุคลากรทางการศึกษา นักเรียนโรงเรียนบ้านแม่แปง มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานการบริหารในสถานศึกษา

2. โรงเรียนบ้านแม่แปง เป็นสถานศึกษาที่มีนวัตกรรมการบริหารงานอย่างเป็นระบบ

4. กระบวนการผลิตผลงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน

4.1 ทฤษฎีการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานใช้อักษรย่อ “SBM” มาจากคำเต็ม และมีความหมายดังนี้

S School เป็นคำนาม แปลว่า โรงเรียน

B Based เป็นคำคุณศัพท์ แปลว่า เกี่ยวกับฐานหรือพื้นฐาน

M Management เป็นคำนาม แปลว่า การบริหารและการจัดการ

ดังนั้น School-Based Management จึงแปลความหมายว่า การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน หรือการใช้โรงเรียนเป็นฐานในการบริหารและการจัดการ หรือการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ซึ่งเกิดจากแนวความคิดเรื่องปฏิรูปการศึกษา และการกระจายอำนาจทางการศึกษา

นักวิชาการหลายท่านให้แนวคิดเกี่ยวกับความหมายของ “การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน” (School-Based Management หรือ Site Based Management :SBM )ไว้ดังนี้

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2544 : 2) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน หมายถึง การบริหาร และการจัดการศึกษาที่หน่วยปฏิบัติ โดยมีโรงเรียนเป็นฐาน หรือ เป็นองค์กรหลักในการจัดการศึกษา ซึ่งจะต้องมีการกระจายอำนาจการบริหาร และการจัดการศึกษาจากส่วนกลางไปยังโรงเรียน ให้โรงเรียนมีอำนาจ หน้าที่ความรับผิดชอบ มีความอิสระคล่องตัวในการบริหารจัดการ ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ บุคลากร และการบริหารทั่วไป ภายใต้คณะกรรมการโรงเรียน ( School Board ) หรือ School Committee เก่า ผู้แทนนักเรียน และผู้บริหารโรงเรียน เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปโดยมีส่วนร่วม และตรงตามความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชนมากที่สุด

กรมสามัญศึกษา (2545 : 9) ให้ความหมายว่า การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน คือ แนวคิดทางการบริหาร และการจัดการศึกษาที่ให้สถานศึกษาเป็นองค์กรหลักในการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ภายใต้กรอบของกฎหมายที่กำหนด โดยมีการกระจายอำนาจการตัดสินใจที่จะพัฒนา นโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ของสถานศึกษา และร่วมมือดำเนินการทั้งด้าน วิชาการ งบประมาณ บุคลากร และการบริการทั่วไป โดยบุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเท่าเทียมกัน โดยมุ่งเน้นผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นสำคัญ ภายใต้การมีส่วนร่วม และการตรวจสอบของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ถวิล มาตรเลี่ยม (2544 : 41) กล่าวว่า การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน หมายถึง การบริหารจัดการโรงเรียนที่สอดคล้องกับคุณลักษณะ และความต้องการของโรงเรียน นั่นคือ สมาชิกโรงเรียน อันได้แก่ คณะกรรมการบริหารโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียน ครู อาจารย์ พ่อแม่ ผู้ปกครอง นักเรียน ตลอดจนสมาชิกชุมชน และองค์การอื่น ๆ มารวมพลังกันอย่างเต็มที่ รับผิดชอบต่อการใช้ทรัพยากร และการแก้ปัญหา ตลอดจนดำเนินการเพื่อการพัฒนา กิจกรรมด้านการจัดการศึกษาของโรงเรียน ในระยะสั้น และระยะยาว

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ (2541, อ้างถึงใน อุทัย บุญประเสริฐ, 2545 : 2) ให้ความหมายว่า การบริหาร และการจัดการศึกษาที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน คือ การจัดการศึกษาที่ใช้โรงเรียนเป็นศูนย์กลาง

(School – Centered Administration) โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง ชุมชน และนักเรียนได้เข้ามามีบทบาทในการให้คำแนะนำ การช่วยเหลือการประเมิน และการอนุมัติ โดยใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม ผู้บริหารเป็นเพียงผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และการนำมติในที่ประชุมไปใช้ในการจัดการศึกษา

อุทัย บุญประเสริฐ (2545 : 1) กล่าวว่า การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เป็นกลยุทธ์ในการปรับปรุงการศึกษา โดยเปลี่ยนอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจจากส่วนกลางไปยังแต่ละโรงเรียน โดยให้คณะกรรมการโรงเรียนซึ่งประกอบด้วยผู้ปกครอง ครู สมาชิกในชุมชนผู้ทรงคุณวุฒิ ศิษย์เก่า และผู้บริหารโรงเรียน (บางโรงเรียนอาจมีตัวแทนนักเรียนเป็นกรรมการด้วย) ได้มีอำนาจในการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียนมีหน้ามีหน้าที่ และความรับผิดชอบในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณ บุคลากร และวิชาการ โดยให้เป็นไปตามความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน

จากความหมายที่นักวิชาการทางการศึกษาได้ให้ไว้ข้างต้น สรุปได้ว่า การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เป็นการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาจากส่วนกลาง ไปยังหน่วยปฏิบัติ คือ สถานศึกษาโดยตรง โดยให้สถานศึกษามีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ มีความอิสระในการตัดสินใจ และบริหารจัดการทั้งในด้าน วิชาการ งบประมาณ การเงิน บุคลากร และการบริหารทั่วไป โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ ตัวแทนครู ตัวแทนชุมชน ตัวแทนศิษย์เก่า ร่วมกันบริหารสถานศึกษาให้เป็นไปตามความต้องการของผู้เรียน และชุมชนมากที่สุด

หลักการพื้นฐานในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

มีนักวิชาการกล่าวถึงหลักการสำคัญในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานไว้หลาย ๆ ท่านด้วยกัน ดังนี้

เดวิด (David , 1989 อ้างถึงใน Cheng , 1996 : 4) กล่าวว่า การบริหารโดยการใช้โรงเรียนเป็นฐานต้องประกอบไปด้วยแนวคิดหลักสำคัญ 2 ประการ คือ

1. โรงเรียนเป็นหน่วยสำคัญสำหรับตัดสินใจ ซึ่งการตัดสินใจสั่งการที่ดีควรอยู่ในหน่วยปฏิบัติ จึงควรเพิ่มอำนาจในการบริหารและจัดการงบประมาณให้กับโรงเรียนมากขึ้น และลดการควบคุมจากส่วนกลางลง

2. การมีส่วนร่วมและการมีความรู้สึกเป็นเจ้าของเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการปฏิรูปการบริหารการจัดการศึกษา ความสำเร็จของการปฏิรูปไม่ใช่เกิดจากการควบคุมจากภายนอก หากแต่เกิดจากการที่สมาชิกในโรงเรียนและชุมชนให้ความร่วมมือกันในการตัดสินใจการบริหาร และการปฏิบัติงาน

ถวิล มาตรเลี่ยม (2544 : 42) กล่าวถึงหลักการสำคัญของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานไว้ 4 ประการ ดังนี้

1. หลักดุลยภาพ

2. หลักการกระจายอำนาจ

3. หลักระบบบริหารจัดการตนเอง

4. หลักการริเริ่ม

ธเนศ ขำเกิด (2545 : 149) กล่าวถึง หลักการสำคัญของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานไว้ 5 ประการ คือ

1. การกระจายอำนาจ

2. การมีส่วนร่วมและการร่วมคิดร่วมทำ

3. การบริหารตนเอง

4. การตรวจสอบและถ่วงดุล

5. การยึดหลักธรรมาภิบาล

อุทัย บุญประเสริฐ (2543 : 154 – 156 ) ได้กล่าวถึงหลักการสำคัญของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานไว้ 5 ประการ คือ

1. หลักการกระจายอำนาจ

2. หลักการมีส่วนร่วม

3. หลักการคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้ประชาชน

4. หลักการบริหารตนเอง

5. หลักการตรวจสอบและถ่วงดุล

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ( 2544 : 3-4) การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานแต่ละแห่งอาจไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะและความจำเป็นของแต่ละโรงเรียนจะตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐานเดียวกัน คือ

1. หลักการกระจายอำนาจ

2. หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม

3. หลักการบริหารตนเอง

4. หลักการพัฒนาทั้งระบบ

5. หลักความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้

6. หลักการมีภาวะผู้นำแบบเกื้อหนุน

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (อ้างถึงใน ธีระ รุญเจริญ, 2550 : 171) ได้กล่าวถึงการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานมีหลักสำคัญ 3 ประการ คือ

1. หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization)

2. หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participation)

3. หลักการบริหารจัดการที่ดี (Good Govermance in Education)

จากหลักการทั้ง 3 ประการข้างต้น สามารถกล่าวในรายละเอียดได้ดังต่อไปนี้

หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization)

การบริหารการใช้โรงเรียนเป็นฐานนั้นจะเป็นการบริหารที่เป็นการกระจายอำนาจดังที่ ธีระ รุญเจริญ (2550 : 166) กล่าวว่า การกระจายอำนาจ คือ อำนาจการจัดการศึกษาให้กับประชาชน สำหรับประเทศไทยจะมีการกระจายอำนาจจากส่วนกลางและเขตพื้นที่การศึกษาไปยังสถานศึกษา

อุทัย บุญประเสริฐ (2546 : 189) ได้กล่าวถึง หลักการกระจายอำนาจ ว่าเป็นการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้มากที่สุด โดยมีความเชื่อว่าโรงเรียนเป็นหน่วยสำคัญในการจัดการศึกษาในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการศึกษาของเด็ก ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดของ อินทิรา หิรัญสาย (2544 : 4) ที่กล่าวว่า การกระจายอำนาจเป็นการาตัดสินใจ และใช้อำนาจของสถานศึกษาผ่านคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในด้านวิชาการงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป นอกจากนี้ ถวิล มาตรเลี่ยม (2544 : 42) ยังกล่าวถึง หลักการกระจายอำนาจตามแนวทางของ SBM ว่า เมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป จะส่งผลกระทบให้การบริหารจัดการโรงเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีความยุ่งยากและเพิ่มปัญหามากขึ้น ดังนั้น การกระจายอำนาจให้โรงเรียนมีพลังอำนาจ และรับผิดชอบในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

ยุวดี ศันสนียรัตน์ (2545 : 6) กล่าวถึง หลักการกระจายอำนาจตามแนวทางของSBM ว่า เป็นการตัดสินใจจากส่วนกลางที่สถานศึกษามีอำนาจตัดสินใจใน 3 เรื่องหลัก คือ งบประมาณ และทรัพยากร บุคลากร หลักสูตร หรือโปรแกรมการเรียน โดยให้สถานศึกษามีความยืดหยุ่นในการจัดโปรแกรมการเรียนที่ตรงกับความต้องการของนักเรียนในพื้นที่นั้น ๆ สอดคล้องกับแนวคิดของ ธเนศ ขำเกิด (2544 : 149) ที่ได้กล่าวว่า การกระจายอำนาจนั้น เป็นการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาจากส่วนกลางไปยังสถานศึกษาให้มากที่สุด โดยมีความเชื่อว่าโรงเรียนเป็นหน่วยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการศึกษาของเด็ก และนิพนธ์ เสือก้อน (2545 : 5) ยังกล่าวอีกว่า การกระจายอำนาจนั้นเป็นการสร้างและเพิ่มพลังอำนาจ (Empowerment) ในการจัดการศึกษาของผู้มีส่วนรับผิดชอบในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

ผู้บริหารต้องใช้อำนาจกับทีมงาน หรือบุคลากรในการทำงานอย่างเต็มที่ ทั้งอำนาจในการบริหารจัดการ ความรับผิดชอบ การบริหารทรัพยากร และความชอบธรรมต่าง ๆ ในขอบเขตของงานที่ได้รับมอบหมาย

1. การกระจายความรับผิดชอบในการตัดสินใจให้กับสายงานในระดับต่ำลงไปจะต้องเกิดขึ้น โดยที่ผู้บริหารไม่เข้าไปก้าวก่าย หรือเข้าไปมีอิทธิพลเหนือการตัดสินใจของสมาชิก

2. จะต้องเปลี่ยนความคิด และการปฏิบัติในเรื่องของอำนาจ การควบคุมที่เคยเป็นของผู้บริหารแต่เพียงผู้เดียว มาเป็นการควบคุมด้วยกลุ่มสมาชิก การควบคุมจึงเป็นของทุกคนในองค์การ

3. องค์การจะต้องมีสภาพที่สมาชิกสร้างสรรค์งานได้อย่างเต็มความสามารถและ

ศักยภาพที่มีอยู่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขั้นพื้นฐานขององค์การ

รุ่ง แก้วแดง (2546 : 64-65) ได้กล่าวว่า เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษา

การบริหารเชิงสถานการณ์ (Situational Management Theory) หรือทฤษฎีอุบัติการณ์ (Contingencey Theory )

การบริหารใยุคนี้ค่อนข้างเป็นปัจจุบัน ปรัชญาของการบริหารเริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากการมองการบริหารในเชิงปรัชญา ไปสู่การมอง การบริหารในเชิงสภาพข้อเท็จจริง เนื่องจากในปัจจุบันมนุษย์ต้องประสบกับปัญหาอยู่เสมอ

แนวความคิด

เนื่องจากปัจจุบันมนุษย์ต้องประสบกับปัญหาอยู่เสมอ การเลือกทางออกที่จะไปสู่การแก้ปัญหาทางการบริหารถือว่าไม่มีวิธีใดที่ดีที่สุด There is one best way สถานการณ์ต่างหากที่จะเป็นตัวกำหนดว่าควรจะใช้การบริการบริหารแบบใด การบริหารในยุคนี้มุ่งเน้น ความสัมพันธ์ระหว่าง องค์การกับสภาพแวดล้อมขององค์การ และเป็นส่วนขยายของทฤษฎีระบบว่า ทุก ๆ ส่วนจะต้องสัมพันธ์กัน สถาการณ์บางครั้งจะต้องใช้การตัดสินใจอย่างเฉียบขาด บางสถานการณ์ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึง หลักมนุษย์และแรงจูงใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึงเป้าหมายหรือผลผลิตขององค์กรเป็นหลัก การบริหารจึงต้องอาศัยสถานการณ์เป็นตัวกำหนดในการตัดสินใจ

หลักการของการบริหารโดยสถานการณ์

1. ถือว่าการบริหารจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์

2. ผู้บริหารจะต้องพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดีที่สุด

3. เป็นการผสมผสานแนวคิดระหว่างระบบปิดและระบบเปิด และยอมรับหลักการของทฤษฎีระหว่างทุกส่วนของระบบจะต้อง สัมพันธ์ และมีผลกระทบซึ่งกันและกัน

4. สถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ และรูปแบบการบริหารที่เหมาะสม

5. คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความต้องการของบุคคลในหน่วยงานเป็นหลักมากกว่าที่จะแสวงหาวิธีการอันดีเลิศมาใช้ในการทำงาน โดยใช้ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาในการพิจารณาด้วย

6. เน้นให้ผู้บริหารรู้จักใช้การพิจารณาความแตกต่างที่มีอยู่ในหน่วยงาน เช่น

o ความแตกต่างระหว่างบุคคล

o ความแตกต่างระหว่างระเบียบกฎเกณฑ์ วิธีการ กระบวนการ และการควบคุมงาน เป็นต้น

o ความแตกต่างระหว่างความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กร

o ความแตกต่างระหว่างเป้าหมายการดำเนินงานขององค์การ เป็นต้น

นักบริหารที่เป็นผู้เสนอแนวความคิดทางการบริหารนี้ คือ Fred E.Fiedler (1967)

ทฤษฎีระบบ

การเอาแนวความคิดเชิงระบบเข้ามาใช้ในการบริหาร ก็ด้วยเหตุผลที่ว่าในปัจจุบันองค์กรการขยายตัวสลับซับซ้อนมากขึ้น จึงเป็นการยากที่พิจารณาถึงพฤติกรรมขององค์กรได้หมดทุกแง่ทุกมุม นักทฤษฎีบริหารสมัยใหม่ จึงหันมาสนใจการศึกษาพฤติกรรมขององค์การ เพราะคนเป็นส่วนหนึ่งของระบบองค์การ องค์การเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคม

ความหมาย

ระบบในเชิงบริหารหมายถึงองค์กรประกอบหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กันและมีส่วนกระทบต่อปัจจัยระหว่างกันในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ

องค์ประกอบพื้นฐานของทฤษฎีระบบ ได้แก่

1. ปัจจัยการนำเข้า Input

2. กระบวนการ Process

3. ผลผลิต Output

4. ผลกระทบ Impact

4.2 กระบวนการและขั้นตอนการดำเนินงาน

กิจกรรม/วิธีการ/ขั้นตอนที่สำคัญ

แผนผังแสดงขั้นตอนการดำเนินงานการบริหารงานในสถานศึกษา

PDCA คือวงจรบริหารงานคุณภาพ

ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน Plan-Do-Check-Act หรือ วางแผน-ปฏิบัติ-ตรวจสอบ-ปรับปรุง เป็นกระบวนการที่ใช้ปรับปรุงการทำงานขององค์กรอย่างเป็นระบบ โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาและเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

4.3 ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน

M = Manegment = การบริหารจัดการโดยยึดหลักธรรมาภิบาล

A = Action = การปฏิบัติที่เป็นเลิศ

E = Evaluation = มีการประเมินผลการปฏิบัติงาน

P = Participation = การมีสาวนร่วมทุกภาคส่วนในการพัฒนาสถานศึกษา “บวร”

A = Attilude = มีทัศนคติที่ดี ในวิชาชีพ/การปฏิบัติงาน

N = Network = การสร้างเครือข่ายพัฒนาการศึกษา

G = Goal = มีเครื่องมือ/นวัตกรรมการศึกษา

โดยใช้วงจรคุณภาพในการบริหารงาน

P = Plan คำนึงถึงสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ปรับตัว ยอมรับสิ่งใหม่ โดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์จากสภาพปัจจุบันปัญหา ด้วยทัศนคติที่ดี คิดเชิงบวก

D = Do เป็นผู้นำ ลงมือปฏิบัติจริง ด้วยความกระตือรือร้น ใส่ใจ มุ่งมั่น ตั้งใจ และเป็นแบบอย่างที่ดี

C = Check ตรวจสอบและประเมิน ตามตัวชี้วัดความสำเร็จที่ชัดเจน เที่ยงตรงกับประเด็น

A = Act ปรับปรุง พัฒนาให้ดีขึ้น ประสานการทำงานร่วมกับเครือข่ายทางการศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง องค์การบริหารส่วนตำบล หน่วยงาน ห้างร้าน โดยอาศัยหลักธรรมาภิบาล

มีหลักทฤษฎีการบริหารสถานศึกษา

ทฤษฎีบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School - Based Management : SBM)

4.4 การใช้ทรัพยากร

ประยุกต์ใช้ทรัพยากรในสถานศึกษาที่มีอย่างเหมาะสม คุ้มค่า สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา เช่นการจัดสรรงบประมาณให้เกิดความคุ่มค่า ในการดำเนินการและใช้ทรัพยากรคนให้เหมาะสมกับงาน

5. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่จะได้รับ

5.1 ผลที่เกิดตามจุดประสงค์

1. คณะครูบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในการบริหารงานในสถานศึกษา

2. มีการดำเนินงานบริหารงานในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ

3. สถานศึกษามีคุณภาพได้ตามมาตรฐานการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

5.2 ผลสัมฤทธิ์ของงาน

1. นักเรียน คระครูบุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหารสภานศึกษา มีคุณภาพ

2. สถานศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

5.3 ประโยชน์ที่ได้รับ

1. สถานศึกษามีนวัตกรรมการบริหารที่เหมาะสมกับบริบท

2. คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาด้าน นักเรียน ครูบุคลากร สถานศึกษามีคุณภาพสูงขึ้น

3. สถานศึกษามีคุณภาพได้ตามมาตรฐานการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

6.ปัจจัยสนับสนุนส่งเสริมความสำเร็จ

สิ่งที่ช่วยให้งานประสบความสำเร็จ

1. ผู้บริหารโรงเรียนให้ความสำคัญและเอาใจใส่กับการดำเนินงาน

2. การดำเนินกิจกรรมมีเวลาที่เพียงพอ

3. บุคลกรครูทุกคนให้ความทุ่มเทในการดำเนินกิจกรรม

4. การร่วมกิจกรรมของนักเรียนมีความพร้อมทุกครั้ง

7. บนเรียนที่ได้รับและข้อเสนอแนะ

การดำเนินการตามนวัตกรรมการบริหาร MAEPANG MODEL ของโรงเรียนบ้านแม่แปง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ในตลอดปีการศึกษาโรงเรียนได้ดำเนินการตามมาตรการตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งมั่นในการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็น “การศึกษาขั้นพื้นฐานวิถีใหม่ วิถีคุณภาพ” มุ่งเน้นความปลอดภัยในสถานศึกษา เสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาที่มี คุณภาพอย่างเท่าเทียมและบริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้น เพื่อสร้างความมั่นใจ และความเชื่อมั่นให้แก่นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ปกครอง และ ประชาชนทั่วไป ในการที่จะได้เรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และเกิดความปลอดภัยอย่างมั่นคงและยั่งยืน เพื่อให้แนวทาง การปฏิบัติสอดคลองและเป็นระบบ

โรงเรียนบ้านแม่แปง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 และภาคีเครือข่ายทุกหน่วยงานได้ตระหนักเห็นความสำคัญในเรื่องคุณภาพการจัดการศึกษาให้กับผู้รับบริการในสถานศึกษาทุกคนให้เกิดความรู้ทัดเทียมในโลกยุคปัจจุบันอย่างยั่งยืน

8. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ

การเผยแพร่

1. เว็บไซต์ ครูบ้านนอกดอทคอม

2. เผยแพร่ผลงาน ในกลุ่มโรงเรียนนาพูน

3. ประชาสัมพันธ์ในรูปแบบของสารประชาสัมพันธ์ของโรงเรียนให้ผู้ปกครองทราบ

รางวัลที่ได้รับ

1.โรงเรียนบ้านแม่แปง ได้รับรับรางวัลสถานศึกษาสีขาว ในระดับ เงิน

2.โรงเรียนบ้านแม่แปง ได้รับรับรางระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระดับยอดเยี่ยม

3.โรงเรียนบ้านแม่แปง ได้รับรับรางวัลสถานปลอดภัย ระดับยอดเยี่ยม

4.โรงเรียนบ้านแม่แปง ได้รับรับรางวัลสถานศึกษาที่มีการจัดการเรียนการสอนส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ระดับดีเยี่ยม

โพสต์โดย กิตติพงศ์ : [4 ก.ย. 2566 เวลา 11:05 น.]
อ่าน [1319] ไอพี : 110.171.184.253
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 18,919 ครั้ง
ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง

เปิดอ่าน 23,388 ครั้ง
ความวุ่นวายของการรายงาน จนครูไม่เป็นอันสอน
ความวุ่นวายของการรายงาน จนครูไม่เป็นอันสอน

เปิดอ่าน 9,903 ครั้ง
วิธีดูแลต้นไม้ในหน้าร้อน
วิธีดูแลต้นไม้ในหน้าร้อน

เปิดอ่าน 18,811 ครั้ง
Supernova : ซูเปอร์โนวา, มหานวดารา
Supernova : ซูเปอร์โนวา, มหานวดารา

เปิดอ่าน 13,179 ครั้ง
5 อาการเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
5 อาการเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

เปิดอ่าน 9,923 ครั้ง
กลูต้าไทโอน ทำให้ผิวขาวจริงหรือไม่?
กลูต้าไทโอน ทำให้ผิวขาวจริงหรือไม่?

เปิดอ่าน 13,711 ครั้ง
เคล็ด(ไม่)ลับ
เคล็ด(ไม่)ลับ'หัวกะทิ'

เปิดอ่าน 12,350 ครั้ง
โรคกระดูกพรุน..ภัยเงียบที่คาดไม่ถึง
โรคกระดูกพรุน..ภัยเงียบที่คาดไม่ถึง

เปิดอ่าน 39,462 ครั้ง
ภาษาจีนน่ารู้
ภาษาจีนน่ารู้

เปิดอ่าน 38,637 ครั้ง
ภาษาน่ารู้ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาดัตช์ ภาษาอิตาเลียน
ภาษาน่ารู้ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาดัตช์ ภาษาอิตาเลียน

เปิดอ่าน 23,776 ครั้ง
ความต่างของ วิวัฒนาการ vs พัฒนาการ ว่ามันต่างกันยังไง !!
ความต่างของ วิวัฒนาการ vs พัฒนาการ ว่ามันต่างกันยังไง !!

เปิดอ่าน 43,169 ครั้ง
ทำได้จริง!!เทคนิคการปลูกกล้วยให้เครือหันออกไปทางทิศเดียวกัน
ทำได้จริง!!เทคนิคการปลูกกล้วยให้เครือหันออกไปทางทิศเดียวกัน

เปิดอ่าน 26,402 ครั้ง
8 ยุทธวิธี ออกจากเงินเดือนที่ไม่พอใช้
8 ยุทธวิธี ออกจากเงินเดือนที่ไม่พอใช้

เปิดอ่าน 11,143 ครั้ง
ชมคลิป สถานทูตสหรัฐทำคลิปรับวันสงกรานต์
ชมคลิป สถานทูตสหรัฐทำคลิปรับวันสงกรานต์

เปิดอ่าน 10,419 ครั้ง
จดหมายฉบับที่ 57 ถึงนายกรัฐมนตรี+รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง จุดเด่นการใช้มาตรา 44
จดหมายฉบับที่ 57 ถึงนายกรัฐมนตรี+รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง จุดเด่นการใช้มาตรา 44

เปิดอ่าน 9,222 ครั้ง
ปฏิรูปการศึกษา...สังคมได้อะไร ?
ปฏิรูปการศึกษา...สังคมได้อะไร ?
เปิดอ่าน 14,937 ครั้ง
กินวิตามินอย่างไรให้ได้ประโยชน์
กินวิตามินอย่างไรให้ได้ประโยชน์
เปิดอ่าน 32,378 ครั้ง
มาตรฐานห้องสมุดและตัวบ่งชี้ เพื่อพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน สังกัด สพฐ.
มาตรฐานห้องสมุดและตัวบ่งชี้ เพื่อพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน สังกัด สพฐ.
เปิดอ่าน 12,209 ครั้ง
โครงการพัฒนาภาษาอังกฤษครูอาชีวะทั่วประเทศ
โครงการพัฒนาภาษาอังกฤษครูอาชีวะทั่วประเทศ
เปิดอ่าน 14,755 ครั้ง
ดนตรีโมสาร์ทช่วยทารกโตเร็วขึ้น
ดนตรีโมสาร์ทช่วยทารกโตเร็วขึ้น

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ