ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกระบวนการเรียนรู้ KSA

ชื่อผลงาน การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกระบวนการเรียนรู้ KSA

ผู้จัดทำ นางสาวสุภารัตน์ ช่วงบัญญัติ

โรงเรียน บ้านดงซ่อม ตำบลโกสัมพี อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มุ่งพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกระบวนการเรียนรู้ ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านดงซ่อม โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังต่อไปนี้ การวิจัยครั้งนี้ 1. เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกระบวนการเรียนรู้ KSA โดยมีจุดมุ่งหมายดังนี้ 2. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาตร์ ผ่านกิจกรรมทดลองทางวิทยาศาสตร์ 3. เพื่อพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกระบวนการเรียนรู้ KSA 4. เพื่อพัฒนาให้เด็กมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ผ่านกระบวนการทดลองที่เน้นการลงมือปฏิบัติจริง โดยการจัดกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์ จำนวน 10 กิจกรรมทดลอง เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 81 ทักษะ ประกอบด้วย ทักษะการสังเกตทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการคำนวณ ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ทักษะการใช้ตัวเลขและทักษะการพยากรณ์ ประกอบด้วยขั้นตอนการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกระบวนการเรียนรู้ KSA การวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จากทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับทางการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างรูปแบบการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกระบวนการเรียนรู้ KSA เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยปีที่ 2 โรงเรียนบ้านดงซ่อม ปีการศึกษา 2565 จำนวน 14 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง

เครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบการสอน ได้แก่ ขั้นสร้างรูปแบบการสอนเพื่อการพัฒนาพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เริ่มจากสร้างกรอบแนวคิดที่เกี่ยวข้อง ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ด้วยการศึกษาเอกสาร นิยามศัพท์ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้เชิงรุก และรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อหาแนวทางในการกำหนดกรอบแนวคิด และกำหนดรูปแบบของขั้นตอนการเรียนการสอนเชิงรุก และแนวทางการประยุกต์ใช้สรุปเป็นแนวทางการทำวิจัย และพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกระบวนการเรียนรู้ KSA พบว่า ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของไวก็อตสกี้ Vygotsky ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาแนวคิดของ Piaget ทฤษฎีเกี่ยวกับการสอนของ บรูเนอร์ (Bruner) และผู้นำแนวคิดทฤษฎีพื้นฐานในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย ล็อก (Lock) รุสโซ (Rousseau) ฟรอยด์ (Freud) กีเซล (Gesell) เพียเจต์ (Piaget) จากการศึกษาเอกสาร นิยามศัพท์ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องได้ข้อสรุปว่า การจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กนั้น ต้องจัดประสบการณ์ตามพื้นฐานความคิด หลักการ และทฤษฎีของนักการศึกษา โดยนำแนวคิดมาจาก กิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้เหมาะสมสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก ซึ่งแต่ละคนมีพัฒนาการแตกต่างกัน ซึ่งในแต่ละแนวคิดนั้นจะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความเชื่อ และความเหมาะสมในการเลือกไปปฏิบัติของแต่ละบุคคล แต่การจัดสำหรับเด็ก กิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ปฐมวัยจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ หรือไม่ ขึ้นอยู่กับครูว่าจะสามารถจัดให้สอดคล้องกับกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ พัฒนาการ และความแตกต่างของเด็กในแต่ละคนได้อย่างไร และกิจกรรมที่ครูจัดนั้น เด็กได้มีโอกาสในการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองมากน้อยเพียงใด ด้วยกิจกรรมการส่งเสริมการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกระบวนการเรียนรู้ KSA ด้วยกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์

ขั้นสร้างรูปแบบการสอนนอกจากผู้วิจัยจะทารสร้างรูปแบบการสอนแล้วยังเป็นการสร้างเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบการสอน ได้แก่

1) กำหนดแผนการจัดประสบการณ์การทดลองวิทยาศาตร์เพื่อจัดกิจกรรมการทดลองสำหรับเด็กปฐมวัยตามรูปแบบตามกระบวนการเรียนรู้ KSA

2) สร้างแผนการจัดประสบการณ์การทดลองวิทยาศาตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ประกอบด้วยขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ KSA ดังนี้

1. Knowledge ด้านความรู้

2. Skill ด้านทักษะ

3. Attribute ด้านคุณลักษณะนักวิทย์รุ่นเยาว์

กำหนดแผนการจัดประสบการณ์การทดลองวิทยาศาตร์เพื่อจัดกิจกรรมการทดลองสำหรับเด็กปฐมวัยตามรูปแบบตามกระบวนการเรียนรู้ KSA

2) สร้างแผนการจัดประสบการณ์การทดลองวิทยาศาตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ประกอบด้วยขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ KSA ดังนี้

1. Knowledge ด้านความรู้

2. Skill ด้านทักษะ

3. Attribute ด้านคุณลักษณะนักวิทย์รุ่นเยาว์

3) การปฏิบัติกิจกรรมดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

1. วิเคราะห์ผู้เรียน หลักการ และแนวคิดการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

2. ประชุม ออกแบบ กำหนดวัตถุประสงค์การพัฒนา ผู้บริหาร คณะครู และครูปฐมวัยประชุมชี้แจง กำหนดวัตถุประสงค์การพัฒนาตามหลักสูตร และหาแนวการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

3. ศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ฉบับพุทธศักราช ๒๕๖๐

4. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักการ แนวคิด และความสำคัญการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยมาใช้ในการจัดการเรียนรู้

5. กำหนดการอบแนวคิด ศึกษา ค้นคว้าหาแผนจัดประสบการณ์ ที่เหมาะสมกับบริบทในห้องเรียน โดยองค์รวม ความรู้ที่ได้มากำหนด เป็นกรอบแนวคิดเพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

4) ศึกษารูปแบบการเขียนแผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

5) ออกแบบกิจกรรม ให้สอดคล้องกับบริบท ภายในห้องเรียน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรปฐมวัย 2560 เพื่อสอดแทรกเนื้อหาที่จะส่งเสริมพัฒนาการของเด็กและวางแผนการใช้แผนการจัดกิจกรรมใน 5 สัปดาห์

1. จัดกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์เป็นเวลา 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน วันละ 20 นาที ระยะเวลา 14.50 ถึง 15.10 น. รวม 10 ครั้ง

2. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ใบงาน ชิ้นงานในการทำกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์ที่ได้กำหนดไว้ในแต่ละวัน

3. กำหนดข้อตกลงในการทำกิจกรรมก่อนการลงมือทำกิจกรรมร่วมกันทุกครั้ง

- เมื่อสนทนาเกี่ยวกับอุปกรณ์โดยใช้คำถาม แล้วทุกคนชวยกันเตรียมวัสดุอุปกรณสําหรับการทดลอง

- ในขณะทำการทดลอง ระมัดระวังตลอดการทดลอง

- เมื่อทำกิจกรรมเสร็จให้ช่วยกันเก็บอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าที่ให้เรียบร้อยและล้างมือให้สะอาด

4. เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรม และใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ตามขั้นตอนการทำกิจกรรม โดยศึกษาการทำกิจกรรมในแต่ละวัน

5. ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์

- สัปดาห์ที่ 1 ทดลองกิจกรรม ภูเขาไฟระเบิด และทดลองกิจกรรม ลูกข่างหลากสี

- สัปดาห์ที่ 2 ทดลองอากาศมีแรงกระทำ และทดลองกิจกรรม พึ่บ

- สัปดาห์ที่ 3 ทดลองสัมผัสอากาศ และทดลองกิจกรรม เห็นอากาศ

- สัปดาห์ที่ 4 ทดลองการละลายของน้ำตาล และทดลองกิจกรรม น้ำจืดน้ำเค็ม

- สัปดาห์ที่ 5 ทดลองปั๊มขวดและลิฟต์เทียน และทดลองกิจกรรม ลมเอยลมพัด

6 . นำกิจกรรมไปใช้ในห้องเรียน จัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์

ขั้นนำ เป็นการนำเข้าสู่กิจกรรม ด้วยเด็กและครูสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมที่จะทำการทดลอง ให้เด็กได้สำรวจวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง เพื่อให้เด็กเกิดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และให้เด็กคาดคะเนผลการทดลองร่วมกัน

ขั้นดำเนินกิจกรรม เป็นขั้นตอนที่เด็กร่วมกันวางแผนการทดลอง แล้วลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง โดยเด็กหยิบ จับ สัมผัส เห็นการเปลี่ยนแปลงระหว่างทำการทดลอง เห็นกระบวนการในการทดลอง และเห็นผลการทดลองด้วยตนเอง โดยครูใช้คำถามในขณะที่เด็กทดลอง เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ขั้นสรุป เป็นขั้นที่เด็ก และครูร่วมกันสรุปผลการทดลอง ว่าเป็นไปตามคาดคะเนไว้หรือไม่ โดยให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น พร้อมอธิบายเหตุผลที่ได้จากการทดลอง

6) ติดตามประเมินผล หลังจากทำกิจกรรมสการทดลองวิทยาศาสตร์ เด็ก ๆ มีพัฒนาการตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม แสดงออกถึงสิ่งที่จะสื่อสารออกมาให้ครูผู้สอน และเพื่อนๆเข้าใจ ครูประเมินผลโดยใช้แบบประเมินพัฒนาการ หลังแผนการสอนจากการปฏิบัติของเด็ก ๆ ด้วยการสังเกตพฤติกรรม ในการทำกิจกรรม และผลงานของเด็ก

7) ผู้เรียนสะท้อนผลงานของตนเอง เด็ก ๆ อภิปรายผลงานหน้าชั้นเรียนหลังจากที่ได้ทำกิจกรรม

8) สะท้อนคุณภาพผู้เรียน อภิปรายสรุปผลการดำเนินกิจกรรม ครูผู้สอนรายงานผลการดำเนินกิจกรรมในที่ประชุม และนำเสนอผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกระบวนการเรียนรู้ KSA ตามวัตถุประสงค์ และความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินกิจกรรมในแต่ละขั้นตอน

การประเมินผล

1. สังเกตการณ์ทำกิจกรรม

2. สังเกตผลงานของเด็ก

9) เผยแพร่ผลงานนวัตกรรม นำนวัตกรรมรูปแบบการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกระบวนการเรียนรู้ KSA เผยแพร่ผลงานต่อไป

ผลการศึกษาพบว่า

ดังนั้นการส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีทักษะทางวิทยาศาสตร์ จึงมีความจำเป็น โดยจะต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและเปิดให้เด็กสำรวจ สังเกต จำแนก เปรียบเทียบ สื่อความหมายด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับวัย ผ่านการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง จะทำให้เด็กรู้จักคิดและใช้กระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลและสามารถนา ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งทักษะทางวิทยาศาสตร์ นั้นเป็นทักษะพื้นฐานที่ไม่ซับซ้อน เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติได้เอง ซึ่งการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับปฐมวัยนั้น เป็นการจัดกิจกรรมที่ให้เด็กได้ใช้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงเพื่อเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการจัดประสบการณ์และผ่านสื่อที่หาง่าย มีอยู่ในชีวิตประจำวัน จึงทำให้ไม่เป็นการสิ้นเปลืองการใช้ทรัพยากรอื่นเพิ่มขึ้น ในบางกิจกรรมคุณครูใช้สื่อของจริง ตัวอย่างเช่น การใช้จานกระดาษที่เหลือจาก

การดำเนินการวิจัยการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกระบวนการเรียนรู้ KSA เพื่อการพัฒนาพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยครั้งนี้ประกอบด้วย ขั้นสร้างรูปแบบการสสอน ขั้นปรับปรุงรูปแบบการสอน ขั้นทดลองใช้รูปแบบการสอนและขั้นขยายผลรูปแบบการสอนโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

นักเรียนเกิดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมทดลองทางวิทยาศาสตร์ ผ่านการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง จะทำให้เด็กรู้จักคิดและใช้กระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลและสามารถนา ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

1. นักเรียนเกิดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ KSA ดังนี้

1. Knowledge ด้านความรู้

- นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

- นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์

- นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์สามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง

- นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนได้รับรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวอย่างเข้าใจ และมีเหตุผล คิดเป็น ทำเป็นและแก้ปัญหาเป็น

2. Skill ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ 8 ทักษะ ดังนี้

ทักษะการสังเกต (Observation) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์โดยมีจุดประสงค์ที่จะหาข้อมูลซึ่งเป็นร้ายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ โดยไม่ใส่ความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไป ได้แก่การสังเกตเชิงคุณลักษณะ เช่น สี รูปร่าง ฯลฯ การสังเกต เชิงปริมาณ เช่น จำนวน ขนาด ฯลฯ และการสังเกตการเปลี่ยนแปลง เช่น จากการทดลองเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ

ทักษะการวัด (Measurement) หมายถึง ความสามารถในการใช้เครื่องมือวัด ชั่ง ตวง หาปริมาตรของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง โดยมีหน่วยกำกับและรวมไปถึงการใช้เครื่องมืออย่างถูกต้องเหมาะสม การวัดเป็นทักษะที่ต่อเนื่องมาจากการสังเกตของเด็ก เช่น การกะปริมาณของสิ่งของที่เด็กสัมผัสอยู่ว่า สั้น ยาว หนัก เบา เล็ก ใหญ่ ฯลฯ

ทักษะการคำนวณ (Using Number) หมายถึง ความสามารถในการนับจำนวนของสิ่งของ และเด็กสามารถบอกค่าจำนวนของในแต่ละกลุ่มมีจำนวนเท่ากันหรือต่างกัน

ทักษะการจำแนกประเภท (massification) หมายถึง ความสามารถในการจัดจำแนกหรือเรียงลำดับวัตถุ หรือสิ่งที่อยู่ในปรากฎต่าง ๆ ออกเป็นหมวดหมู่โดยมีเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดแบ่งวัตถุ หรือเหตุการณ์ออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตั้งแต่ 2 ประเภทขึ้นไป ตามเกณฑ์ที่กำหนดเอาไว้ เกณฑ์นี้อาจเป็นความเหมือนความสัมพันธ์ภายใน หรือประโยชน์ใช้สอยอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สี กลิ่น รส ขนาด รูปร่าง ลักษณะ เป็นต้น

ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา (Space / Space Relationship and Space/Time Relationship) หมายถึงความสามารถในการระบุความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับมิติ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 มิติกับ 3 มิติ ความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางไกลกับใกล้ของวัตถุ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่อยู่หน้ากระจกเงากับภาพในกระจกเงา ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา เช่น ความสัมพันธ์ของเวลาที่ใช้ตักน้ำใส่แก้ว กับตักน้ำใส่ขัน ความสัมพันธ์ของเวลาที่ใช้เดินไปยังประตูบ้านกับประตูรั้ว เป็นต้น

ทักษะการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing Data and Communication) การที่จะฝึกเด็กให้มีทักษะในการสื่อความหมายที่ดีได้นั้นเด็กจะต้องรู้คำศัพท์ หรือความหมายของคำได้เป็นอย่างดี อีกทั้งจะต้องมีประสบการณ์ในการสื่อความหมายที่ถูกวิธีด้วยการพัฒนาทางด้านภาษา และความพร้อมในการอ่าน จะทำให้เด็กมีความสามารถในการสื่อความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทักษะการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล (Inferring) เด็กเรียนวิเคราะห์ได้ว่า อะไรคือผลของการสังเกต และอะไรเป็นสิ่งที่ราพูดเอาเองหรือสรุปลงความเห็นเอาเอง

ทักษะการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการพยากรณ์ หรือการทำนาย (Prediction) การคาดคะเนหาคำตอบของคำถามที่สงสัยก่อนลงมือหาคำตอบโดยการใช้ความรู้ หรือประสบการณ์เดิมที่เคยมีมาก่อน มาช่วยในการคาดคะเนเหตุการณ์ ครูอาจจัดกิจกรรมที่ให้เด็กได้ฝึกคาดคะเน หรือเดาเหตุการณ์ที่ควรจะเป็น

3. Attribute ด้านคุณลักษณะนักวิทย์รุ่นเยาว์

นักวิทยาศาสตร์เป็นคนที่ทำงานเป็นกระบวนการอย่างมีระบบ และมีลักษณะนิสัยดังนี้

1. ช่างสังเกต หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ปาก และกาย เข้าไปสำรวจวัตถุ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในธรรมชาติหรือจากการทดลอง โดยไม่ใส่หรือเพิ่มความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไป การสังเกต ทำให้พบเห็นสิ่งใหม่ ๆ ที่นำไปสู่การคิดค้นหาคำอธิบาย นำไปสู่การค้นพบกฎหรือทฤษฎีต่าง ๆ ตัวอย่างของนักวิทยาศาสตร์ที่ช่างสังเกต

2. ช่างคิดช่างสงสัยและอยากรู้อยากเห็น การเป็นคนช่างสงสัยหรืออยากรู้อยากเห็น คือเป็นผู้พยายามมองเห็นปัญหาจากการสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้นเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น เช่น มีอะไรเกิดขึ้น ทำไมจึงเกิดขึ้นได้ และเกิดขึ้นได้อย่างไร ความสงสัยจะทำให้นักวิทยาศาสตร์พยายามศึกษาค้นคว้าหาเหตุผลด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งทำให้ได้ความรู้ใหม่ทางวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างของนักวิทยาศาสตร์ที่มีความช่างคิดช่างสงสัย

3. มีความเป็นเหตุเป็นผล ความรู้วิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่ต้องอธิบายได้ด้วยเหตุผล เมื่อผลเป็นอย่างนี้จะบอกได้ว่าเหตุเป็นอย่างไร หรือทราบสาเหตุก็จะบอกได้ผลเป็นอย่างไร ดังนั้นคนที่มีความเป็นเหตุเป็นผล คือ ผู้ที่เชื่อว่าเมื่อมีผลหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ย่อมต้องมีสาเหตุที่ทำให้เกิด นักวิทยาศาสตร์มีวิธีค้นคว้าหาความรู้อย่างมีเหตุผล โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์

4. มีความคิดริเริ่ม หมายถึง มีความกล้าที่จะคิด และทำสิ่งที่ผิดแปลกไปจากที่ผู้อื่นคิดหรือทำอยู่แล้วโดยเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม

5. มีความพยายามและความอดทน คือ ความเป็นผู้มีจิตใจแน่วแน่ ไม่ท้อถอย แม้ว่าจะใช้เวลานานเพียงใดก็ตามก็ยังคงคิดศึกษาอยู่จนพบความสำเร็จ

2. เด็กเกิดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมทดลองทางวิทยาศาสตร์ ผ่านการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง จะทำให้เด็กรู้จักคิดและใช้กระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลและสามารถนา ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

สรุปผล

๑. การได้รับการนิเทศจากผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดงซ่อม หัวหน้าฝ่ายวิชาการ มีบทบาท

สำคัญในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สะท้อนความคิดในการจัดประสบการณ์เชิงบวก สร้างขวัญกำลังใจ และส่งเสริมให้ครูผู้สอนเป็นแบบอย่างในการพัฒนาที่เป็นผลมาจากการนิเทศ

2. เด็กเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการ สืบเสาะหาความรู้ เกิดทักษะการคิดสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดแก้ปัญหา สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

3. เด็กมีระเบียบวินัยในการทำงาน ผ่านกระบวนการทดลองที่เป็นขั้นตอนทางวิทยาศาสูตร์

4. เด็กมีความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง

5. เด็กเกิดการเรียนรู้และมีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

6. เด็กได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ พร้อมทั้งได้กระบวนการคิด การแสดงออกทางผลงาน และยังช่วยให้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ดีขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง

7. เด็ก ๆ นำผลงานของตนเองไปจัดนิทรรศการ การนำเสนอผลงานในห้องเรียนและนำเสนอผลงานต่อผู้ปกครอง และนักเรียนระดับชั้นอื่น ๆ

8. แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC เกี่ยวกับปัญหา การดำเนินงาน ความสำเร็จ และอุปสรรคในการจัดประสบการณ์ต่อเพื่อนครูในโรงเรียน

ข้อเสนอแนะ ข้อควรระวัง

๑. ครูควรกระตุ้นให้เด็กคิด สังเกตและให้เหตุผล โดยการใช้คำถามอย่างหลากหลาย ด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายสำหรับเด็ก

๒. ครูควรส่งเสริมสร้างวินัยในชั้นเรียนไปพร้อมกับการทำกิจกรรม เช่น การรู้จักรอผู้อื่น มารยาทในฟังและการพูด

3. ครูควรกระตุ้นให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการตั้งคำถามในสิ่งที่อยากเรียนรู้

4. ควรทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เด็กได้เกิด ทักษะและพัฒนาการมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้นและจะทำให้เห็นผลชัดเจนว่า เด็ก ๆ ที่ได้รับการจัดประสบการณ์มีพัฒนาการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่ดีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

5. ครูผู้สอนควรมีอุปกรณ์และสื่อการสอนที่หลากหลาย เน้นสื่อเทคโนโลยีเข้ามาเป็นผู้ช่วยในการจัดประสบการณ์ ทำให้การสอนมีความหลากหลาย เป็นการกระตุ้น ทำให้นักเรียนเกิดการอยากรู้อยากเรียน

6. ผลงานนวัตกรรมที่ได้สามารถนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียน ผลงานนวัตกรรมนำมาปรับปรุงการสอนของโรงเรียนให้มีการจัดการเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้น

แนวทางในการพัฒนาเพิ่มเติมให้ประสบผลสำเร็จมากขึ้น

๑. ศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ๒๕๖๐ ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของเด็กปฐมวัย

๒. ขณะจัดกิจกรรมการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ควรมีขั้นนำที่น่าสนใจ แปลกใหม่ในทุก ๆ ครั้งที่จัด เพื่อเป็นการเร้าความสนใจของเด็ก และช่วยให้เด็กมีสมาธิก่อนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

๓. ศึกษาการส่งเสริมพัฒนาการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ศึกษาการเขียนแผน เพื่อให้ตรงกับนวัตกรรมที่จะนำมาใช้ในการจัดประสบการณ์ ให้คำนิยาม ของหัวข้อที่จะทำการศึกษา

๔. ครูควรมีบทบาทในการดูแลให้ความช่วยเหลือให้คำแนะนำเมื่อเด็กต้องการกระตุ้นเด็กโดยให้เด็กได้ทดลองทำตามความคิดของตนเองให้แรงเสริมกล่าวคำซมเขยในผลงานของเด็กทำให้เด็กมีความมั่นใจและตั้งใจในการทำกิจกรรม

3. จัดกิจกรรมเน้นกระบวนการวิเคราะห์เพื่อให้เด็กหาความรู้ด้วยตนเอง

4. การที่ครูปฐมวัยจะจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อให้เด็กมีทักษะพื้นฐาน กระบวนการและสาระวิทยาศาสตร์เบื้องต้นนั้น บทบาทสำคัญสำหรับครูที่จะทำให้เกิดตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว มีดังนี้

- สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้มีความอบอุ่น ไม่เครียด สร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้

- หลีกเลี่ยงการพูดมากจนเกินไป กระตุ้นให้เด็กอยากลงมือกระทำในจังหวะที่เหมาะสม

- จัดเตรียมอุปกรณ์ให้เพียงพอสำหรับใช้ในการทดลอง

- ดูแลอย่างใกล้ชิด หลีกเลี่ยงการเข้าไปช่วยเหลือโดยไม่จำเป็น

- เก็บรวบรวมข้อมูล หลักฐาน และความรู้ต่าง ๆ

- ส่งเสริมให้เด็กสะท้อนความคิดและถามคำถามที่่กระตุ้นให้เด็กได้คิด

- วัดประเมินผลหลังการจัดกิจกรรม

การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกระบวนการเรียนรู้ KSA ช่วยให้เด็กมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 8 ทักษะ ประกอบด้วย ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการคำนวณ ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ทักษะการใช้ตัวเลขและทักษะการพยากรณ์ เด็กได้สำรวจ สังเกต จำแนก เปรียบเทียบ สื่อความหมายด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับวัย ผ่านการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง จะทำให้เด็กรู้จักคิดและใช้กระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลและสามารถนา ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ประโยชน์ที่เกิดจากผลงาน/นวัตกรรม

1. ผู้อำนวยการและคณะครูในโรงเรียน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดและจัดประสบการณ์โดยการใช้กระบวนการเรียนรู้ KSA เพื่อการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย นำมาใช้ในการส่งเสริมและพัฒนากระบวนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ต่อผู้เรียน

2. แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ทางวิชาชีพพี PLC เกี่ยวกับปัญหาการดำเนินงานความสำเร็จและอุปสรรคในการจัดประสบการณ์ต่อเพื่อนครูในโรงเรียน

3. สถานศึกษาได้รับความไว้วางใจในการจัดประสบการณ์ในระดับปฐมวัยจากชุมชนในเขตบริการของโรงเรียน และนอกเขตบริการอย่างต่อเนื่องทุกปี

4. ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย และให้การสนับสนุนร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมของครูผู้สอน

5. ชุมชนจัดการศึกษาที่สนองนโยบายสอดคล้องกับมาตรฐานและพระราชบัญญัติการศึกษาชาติ

6. เด็กได้รับการส่งเสริมการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยการใช้กระบวนการเรียนรู้ KSA

7. ช่วยส่งเสริมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน ด้านร่างกาย จิตใจ-อารมณ์ สังคมและสติปัญญา

8. เด็กได้พัฒนาความสามารถในการค้นคว้า สืบสอบสิ่งต่าง ๆ

9. เด็กได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 8 ทักษะ

10.เด็กกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น ตอบสนอง ความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก

11.เด็กมีประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์

12.เด็กมีอิสระในการคิด การเลือกทำกิจกรรมตาม ความพึงพอใจ

13.ช่วยให้เด็กเป็นนักคิด นักค้นคว้า ทดลอง เพื่อ ส่งเสริมให้เด็กสัมผัสและปฏิบัติด้วยตนเอง

สิ่งที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จ

1. ผู้บริหารตระหนักเห็นความสำคัญของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย มีวิสัยทัศน์ มีความรอบรู้ ความสามารถ มีภาวะผู้นำ และนิเทศกำกับติดตาม ดูแลให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน ส่งเสริมสม่ำเสมอและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

2. ครูผู้สอนมีความมุ่งมั่น ในการจัดกิจกรรมในห้องเรียน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ KSA เพื่อการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ดีขึ้น

3. คณะครูให้การสนับสนุน ช่วยเหลือให้คำปรึกษาและให้กำลังใจในการทำผลงาน

4. เด็กมีความสนใจ สนุกสนาน และเกิดความกระตือรือร้น ในการเรียน

5. ผู้ปกครองให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ดูแลเอาใจใส่ เด็ก ๆ เป็นอย่างมากและให้กำลังใจครูผู้สอนสม่ำเสมอและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

6. งบประมาณที่ได้รับจัดสรรในการดำเนินกิจกรรมมีความเหมาะสมและใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ KSA เพื่อการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย เป็นกระบวนการที่ผู้สอนพัฒนาขึ้นจากแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย และแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ จึงสามารถพัฒนาเด็กได้ตามวัตถุประสงค์ และประสบผลสำเร็จ

8. สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้มีทั้งสิ่งที่เด็กพบเห็นในชีวิตประจำวัน และมีสื่อ วัสดุที่แปลกใหม่ ที่เด็กไม่เคยเห็น ทำให้เด็กสนใจอยากเรียนรู้เพิ่มขึ้น

โพสต์โดย ครูอนุบาล : [17 ส.ค. 2566 เวลา 12:55 น.]
อ่าน [1977] ไอพี : 182.53.132.205
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 11,013 ครั้ง
ตามไปดูการศึกษานอกหลักสูตร : ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ คำตอบสุดท้ายจะออกมาอย่างไร
ตามไปดูการศึกษานอกหลักสูตร : ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ คำตอบสุดท้ายจะออกมาอย่างไร

เปิดอ่าน 13,275 ครั้ง
คลิปสุดฮา ฝรั่งเผยโดนคนไทยด่าครั้งแรก
คลิปสุดฮา ฝรั่งเผยโดนคนไทยด่าครั้งแรก

เปิดอ่าน 10,035 ครั้ง
วิธีง่าย ๆ ในการเผาผลาญแคลอรีนอกยิม
วิธีง่าย ๆ ในการเผาผลาญแคลอรีนอกยิม

เปิดอ่าน 15,542 ครั้ง
คลิปโจรกระจอก…โดนหนูน้อยยูโดยำน่วมคาลิฟท์
คลิปโจรกระจอก…โดนหนูน้อยยูโดยำน่วมคาลิฟท์

เปิดอ่าน 33,473 ครั้ง
ลายมือของคนจะสบายตอนบั้นปลาย
ลายมือของคนจะสบายตอนบั้นปลาย

เปิดอ่าน 13,344 ครั้ง
การออกกำลังกายเพิ่มภูมิต้านทานความเครียดให้กับสมอง
การออกกำลังกายเพิ่มภูมิต้านทานความเครียดให้กับสมอง

เปิดอ่าน 2,270 ครั้ง
ความแตกต่างระหว่างด้ายเย็บผ้าและด้ายปัก และประเภทของด้ายปัก
ความแตกต่างระหว่างด้ายเย็บผ้าและด้ายปัก และประเภทของด้ายปัก

เปิดอ่าน 18,097 ครั้ง
ปลูก"ไผ่นานาพันธุ์" ฟันธง…ปลูกแล้วสร้างรายได้ดีแน่นอน!!
ปลูก"ไผ่นานาพันธุ์" ฟันธง…ปลูกแล้วสร้างรายได้ดีแน่นอน!!

เปิดอ่าน 9,028 ครั้ง
Windows 7 RC พร้อมให้ทดสอบแล้ว
Windows 7 RC พร้อมให้ทดสอบแล้ว

เปิดอ่าน 55,943 ครั้ง
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561

เปิดอ่าน 12,017 ครั้ง
บทร้อยกรองสำหรับการฝึกการออกเสียง สระเอือ
บทร้อยกรองสำหรับการฝึกการออกเสียง สระเอือ

เปิดอ่าน 12,213 ครั้ง
คลิปข่าว ผลสอบ o-net ป.6 พบคะแนนเฉลี่ยโอเน็ต ต่ำกว่าครึ่งถึง 6 วิชา
คลิปข่าว ผลสอบ o-net ป.6 พบคะแนนเฉลี่ยโอเน็ต ต่ำกว่าครึ่งถึง 6 วิชา

เปิดอ่าน 17,981 ครั้ง
จดหมายฉบับที่ 54 ถึงนายกรัฐมนตรี+รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
จดหมายฉบับที่ 54 ถึงนายกรัฐมนตรี+รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

เปิดอ่าน 26,459 ครั้ง
เคล็ดลับสำหรับบ้านไม้ ทำอย่างไรให้ไร้ปลวก
เคล็ดลับสำหรับบ้านไม้ ทำอย่างไรให้ไร้ปลวก

เปิดอ่าน 14,391 ครั้ง
3G มาแล้ว พร้อมหรือยัง?
3G มาแล้ว พร้อมหรือยัง?

เปิดอ่าน 13,914 ครั้ง
ตูนส์ศึกษา : ปรัชญาการศึกษาไทยในปัจจุบันคือ?
ตูนส์ศึกษา : ปรัชญาการศึกษาไทยในปัจจุบันคือ?
เปิดอ่าน 13,281 ครั้ง
บารัค โอบามา (Barack Obama)
บารัค โอบามา (Barack Obama)
เปิดอ่าน 15,092 ครั้ง
มอบอำนาจเกี่ยวกับการลาบางกรณีให้ ผอ.สพท.,ผอ.สำนักบริหารงานงานการศึกษาพิเศษ
มอบอำนาจเกี่ยวกับการลาบางกรณีให้ ผอ.สพท.,ผอ.สำนักบริหารงานงานการศึกษาพิเศษ
เปิดอ่าน 12,957 ครั้ง
3 เรื่องที่ต้องรู้ "ตั้งเป้ารวยก่อนแก่"
3 เรื่องที่ต้องรู้ "ตั้งเป้ารวยก่อนแก่"
เปิดอ่าน 11,376 ครั้ง
ป้องกันแสงแดดให้ได้ผล
ป้องกันแสงแดดให้ได้ผล

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ