ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
เผยแพร่ผลงานวิจัย ของ นางสาวภาสินี สุวรรณโก

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

นางสาวภาสินี สุวรรณโก

ครูชำนาญการพิเศษ

โรงเรียนเทศบาล 1 (อนุบาลเด็กน่ารัก) เทศบาลตำบลหนองบัวแดง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1 เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2 เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 3 เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาล 1 (อนุบาลเด็กน่ารัก) กองการศึกษาเทศบาลตำบลหนองบัวแดง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1 แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามวิธีการของลิเคิร์ท 2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3 แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่น

ผลการวิจัยพบว่า

1. ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ครูผู้สอนเน้นวิธีการสอนแบบการบรรยาย ไม่จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ไม่ส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แสวงหาคำตอบ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ไม่ส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม ไม่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ไม่เห็นความสำคัญของบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ สื่อและแหล่งเรียนรู้ไม่ทันสมัยและไม่เพียงพอ ไม่เน้นการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามภาพจริง นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ชอบเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ไม่กระตือรือร้อนต่อการเรียน ไม่ตั้งใจเรียน เบื่อการเรียน ไม่มีสมาธิในการเรียน ไม่เข้าใจเนื้อหาสาระ ไม่รักการอ่าน ขาดความรับผิดชอบ ไม่กล้าแสดงออก ไม่เห็นความสำคัญของการเรียน ไม่ให้ความร่วมมือในการเรียน ไม่เห็นประโยชน์ของการเรียน และไม่นำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนขอนักเรียนจึงต่ำกว่าเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของ Joyce, Weil and Calhoun จำนวน 6 องค์ประกอบ คือ 1 หลักการ 2 วัตถุประสงค์ 3 กระบวนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นเสนอความรู้ใหม่ ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขั้นสรุปองค์ความรู้ ขั้นนำเสนอผลงาน 4 ระบบสังคม 5 หลักการตอบสนอง และ 6 ระบบสนับสนุน โดยผู้วิจัยตั้งชื่อรูปแบบนี้ว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ซึ่งมีผลการประเมินความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

3. ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า 1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 21.04 คิดเป็นร้อยละ 52.60 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 34.54 คิดเป็นร้อยละ 85.93 และ 2 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

บทนำ

ภาษาไทยถือเป็นองค์ความรู้ที่เสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติ ให้มีเอกลักษณ์ ความเป็นไทย รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุระ การงาน และดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างสันติสุข และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อพัฒนา ความรู้ กระบวนการคิดวิเคราะห์วิจารณ์ และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มั่นคง ทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นสื่อแสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม ประเพณี สุนทรียภาพ เป็นสมบัติล้ าค่าควรแก่การเรียนรู้ อนุรักษ์ และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป(กระทรวงศึกษาธิการ. 2551) อีกทั้งภาษาไทยมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต ความเป็นปึกแผ่นของสังคมไทย คนไทยจำเป็นต้องตระหนักถึงความสำคัญของภาษาไทย ความเข้าใจ ศึกษาหลักเกณฑ์ทางภาษาและฝึกฝนให้เกิดทักษะการฟัง การดู การอ่าน และการเขียนภาษาไทย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปใช้ในการสื่อสาร การเรียนรู้ การแสวงหาความรู้ การเสริมสร้าง ความเข้าใจอันดีต่อกัน การสร้างความเป็นเอกภาพของคนในชาติ (วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. 2554)

พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 ในหมวด 4 มาตรา 24 กําหนดให้มีการจัดกระบวนการเรียนรู้โดย สถานศึกษาต้องจัดเนื้อหา สาระกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดตามความแตกต่าง ของผู้เรียน ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้ทําได้ คิดเป็น ทําเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างสมดุล รวมทั้งปลูกฝัง คุณธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนรู้ อํานวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และใช้การวิจัย เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนรู้และ แหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย พ่อแม่ ผู้ปกครอง และชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ ทุกเวลา ทุกสถานที่เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2553)

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จึงกำหนดสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนไว้ 5 สมรรถนะ คือ ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี และกำหนดสาระและมาตรฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยไว้ 5 สาระ ได้แก่ สาระการอ่าน สาระการเขียน สาระการฟัง การดู และการพูด สาระหลักการใช้ภาษา สาระวรรณคดีและวรรณกรรม และกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ไว้ 5 มาตรฐาน ส่วนสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่ผู้เรียนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจำเป็นต้องเรียนรู้ คือ ความรู้ ทักษะ และวัฒนธรรมการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ชื่นชม เห็นคุณค่าภูมิปัญญาไทย และภูมิใจในภาษาประจำชาติ เพื่อให้สถานศึกษาใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนให้บรรลุผลและสนองต่อความสำคัญดังกล่าว ทั้งนี้จะต้องให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551)

การเรียนการสอนแบบบูรณาการ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 4 แนวการจัดการศึกษาในมาตราที่ 23 กำหนดไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องความรู้เกี่ยวกับตนเอง ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ภูมิปัญญาความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์และภาษา ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างสงบสุข (บุรินทร์ ทองแม้น. 2546) การจัดการเรียนแบบบูรณาการ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดแนวการจัดการเรียนรู้คือเรียนรู้ตรงจากประสบการณ์จริงและสัมพันธ์เชื่อมโยงกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ผู้เรียนได้ค้นพบความจริงด้วยตนเอง ค้นคว้า แสวงหา ความรู้อย่างอิสระ ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับตนเอง ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกวิธีเรียนรู้ให้หลากหลายเหมาะสมกับตนเอง ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น มีทักษะกระบวนการคิด การจัดการและการอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข ใช้สื่อที่หลากหลายรวมทั้งนำภูมิปัญญาไทยมาประยุกต์ใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ จัดกิจกรรม และเนื้อหาสาระที่ผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างสมดุลในลักษณะของการบูรณาการ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบองค์รวมและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ (อรทัย มูลคำ และสุวิทย์ มูลคำ. 2544)

การสอนภาษาไทยในโรงเรียนมิได้มุ่งหวังให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้เพียงอย่างเดียว แต่สามารถนำความรู้ความสามารถไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง สื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ และใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารได้เป็นอย่างดี รวมทั้งต้องรักษาภาษาไทยไว้ในฐานะที่เป็นสมบัติของชาติ (กรมวิชาการ. 2546) การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะต้องสอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่ชาติ พุทธศักราช 2542 โดยกำหนดว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการเรียนการสอนจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการเรียนการสอนจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ ใช้การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญหรือเป็นศูนย์กลาง (กรมวิชาการ. 2545) การจัดการเรียนการสอนภาษาไทย จะต้องเน้นการจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ร่วมกันกับบุคคลอื่น เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง การเรียนรู้แบบบูรณาการเป็นกระบวนการเรียนรู้ข้ามกลุ่มสาระการเรียนรู้ในลักษณะองค์รวมที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการนำกระบวนการเรียนรู้จากกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ได้แก่ การอ่าน การเขียน การพูด การฟัง และการดู มาบูรณาการกันในการจัดการเรียนการสอนหรือนำสาระการเรียนรู้ต่างกลุ่มสาระการเรียนรู้มาบูรณาการ (กรมวิชาการ. 2545) โดยจัดให้สอดคล้องกับความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละบุคคล ความสามารถทางปัญญา วิธีการเรียนรู้โดยการบูรณาการคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติจริง ได้พัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง และแสวงหาความรู้ด้วยตนเองตามความถนัดและความสนใจ ด้วยวิธีการ กระบวนการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริงทั้งในและนอกห้องเรียน มีการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามมาตรฐานหลักสูตรที่กำหนด (กรมวิชาการ. 2544)

การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 1 (อนุบาลเด็กน่ารัก) กองการศึกษาเทศบาลตำบลหนองบัวแดง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ปีการศึกษา 2565 ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ดังจะเห็นได้จากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 67.52 ถือว่าเป็นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ ร้อยละ 75 ทั้งนี้เนื่องมาจากการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนเทศบาล 1 (อนุบาลเด็กน่ารัก) กองการศึกษาเทศบาลตำบลหนองบัวแดง อำเภอหนองบัวแดงจังหวัดชัยภูมิ บางคนยังใช้วิธีการสอนแบบบรรยายที่เน้นครูเป็นสำคัญ และมุ่งเน้นถ่ายทอดเนื้อหาวิชามากกว่าการส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้จากสภาพจริง ไม่ส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แสวงหาคำตอบและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ตลอดจนไม่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ส่งผลให้นักเรียนขาดทักษะดังกล่าว ไม่มีปฏิสัมพันธ์ต่อเพื่อนเพราะไม่ได้ทำงานด้วยกระบวนการกลุ่ม ไม่แสวงหาคำตอบและไม่สามารถสรุปองค์ความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งทำให้นักเรียนมีความรู้ไม่กว้างและไม่ลุ่มลึก การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการดังกล่าวข้างต้นคือ การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

การเรียนการสอนแบบบูรณาการ (Intergration) เป็นการจัดการเรียนรู้โดยใช้ความรู้ความเข้าใจ และทักษะในศาสตร์หรือวิชาต่าง ๆ มากกว่า 1 วิชาขึ้นไป เพื่อแก้ปัญหาหรือแสวงหาความรู้ความเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ทำให้ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้ความคิด ประสบการณ์ ความสามารถ และทักษะต่าง ๆ ในเวลาเดียวกัน ทำให้ได้รับความเข้าใจในลักษณะองค์รวม ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง เนื่องจากเป็นการเรียนรู้ที่มีสภาพใกล้เคียงกับชีวิตจริง (กรมวิชาการ. 2544) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ถือว่าเป็นนวัตกรรมที่มีความสำคัญและจำเป็นที่จะช่วยให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 เพราะกิจกรรมบูรณาการเป็นการเรียนรู้แบบเปิด มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบรอบด้าน หลากหลาย หลอมรวมมวลความรู้เข้าเป็นองค์รวมแห่งความรู้ จึงทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายและยั่งยืน ตลอดทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาอย่างลุ่มลึกด้วยตนเองภายใต้ทักษะกระบวนการกลุ่ม ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข และเต็มตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคน (สำลี รักสุทธี และคนอื่น ๆ. 2544) หลักการที่สำคัญในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ คือ การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง การส่งเสริมให้นักเรียนได้ร่วมทำงานกลุ่มด้วยตนเอง จัดประสบการณ์การณ์ตรงให้กับผู้เรียน จัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกกล้าคิด กล้าทำ เน้นการปลูกฝังจิตสำนึก ค่านิยม และจริยธรรมที่ถูกต้องดีงาม (วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. 2545) ซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัยของ ดวงจันทร์ จันทะเกษ (2547) ที่ได้พัฒนาแผนและสื่อประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยแบบบูรณาการโดยใช้กลุ่มร่วมมือ เรื่อง จำปาสี่ต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผลการวิจัยพบว่า แผนและสื่อประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยแบบบูรณาการ โดยใช้กลุ่มร่วมมือ เรื่องจำปาสี่ต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 82.54/82.20 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.5379 หมายความว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.79 จากก่อนเรียน ซึ่งสอดคล้องกับ สุปรานี หงษ์อุดร (2548) ที่ได้พัฒนาการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง รั้วน้ำใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผลการศึกษาพบว่า แผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง รั้วน้ำใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.25/81.35 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ เท่ากับ 0.5525 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 55.25

จากการศึกษาหลักการและเหตุผลดังกล่าว พบว่า การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ

เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และเป็นการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จึงมีความสนใจในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เพื่อเป็นการวางพื้นฐานที่ดีให้แก่ผู้เรียนในการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อเป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

2. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

3. เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในประเด็นต่อไปนี้

3.1 เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

3.2 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ขอบเขตของการวิจัย

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตของการวิจัยไว้ 3 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

1.1 ขอบเขตด้านวิธีการวิจัย 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ 2 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

1.2 ขอบเขตด้านผู้ให้ข้อมูล 1 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนเทศบาล 1 (อนุบาลเด็กน่ารัก) กองการศึกษาเทศบาลตำบลหนองบัวแดง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 10 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 1 (อนุบาลเด็กน่ารัก) กองการศึกษาเทศบาลตำบลหนองบัวแดง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 30 คน

ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1. สร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2. หาประสิทธิภาพของรูปแบบโดยการประเมินความสอดคล้องเหมาะสมของรูปแบบ และการปรับปรุง แก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3. ทดลองใช้ (Try Out) รูปแบบการจัดการเรียนรู้

2.1 ขอบเขตด้านวิธีการวิจัย

2.1.1 การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้รู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

2.2.2 การหาประสิทธิภาพของรูปแบบโดยการประเมินความสอดคล้องเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน และการปรับปรุง แก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้

2.2.3 การทดลองใช้ (Try-out) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 คน

ระยะที่ 3 การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างดังนี้

3.1 ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

3.1.1 ประชากร จำนวน 50 คน ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 1 (อนุบาลเด็กน่ารัก) กองการศึกษาเทศบาลตำบลหนองบัวแดง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 24 คน ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาล 1 (อนุบาลเด็กน่ารัก) กองการศึกษาเทศบาลตำบลหนองบัวแดง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ภาคเรียนที่ 1

ปีการศึกษา 2566 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)

3.2 ขอบเขตด้านตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย

3.2.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

3.2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจของนักเรียน

3.3 เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ใช้เวลาในการจัดกาเรียนรู้แผนละ 2 ชั่วโมง จำนวน 8 แผน รวม 16 ชั่วโมง

3.4 ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นปรถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 2 สัปดาห์ รวม 16 ชั่วโมง โดยไม่รวมเวลาทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

วิธีดำเนินการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา (Researchand Development : R&D) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ผู้วิจัยได้กำหนดขั้นตอนดำเนินการวิจัยให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป็น 3 ระยะ ดังนี้

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 คน ได้แก่ ครู 10 คน และนักเรียน จำนวน 30 คน โรงเรียนเทศบาล 1 (อนุบาลเด็กน่ารัก) เทศบาลตำบลหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการ

เรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ได้แก่ 1 สร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

2 การหาประสิทธิภาพของรูปแบบโดยการประเมินความสอดคล้องเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน และการปรับปรุง แก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) ทดลองใช้ (Try Out) กับนักเรียน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 คน

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยนำรูปแบบไปใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ให้นักเรียนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน เมื่อจัดการเรียนรู้ครบทุกแผนการจัดการเรียนรู้แล้ว จึงให้นักเรียนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน และประเมินความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินประสิทธิภาพรูปแบบ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ

3. การสร้างเครื่องมือ

3.1 การสร้างรูปแบบการจัดกาเรียนรู้

3.1.1 กำหนดรูปแบบและสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ข้อมูลพื้นฐาน รวมถึงการศึกษาแนวคิดทฤษฎีประกอบการจัดการเรียนรู้ ร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้มี 6 องค์ประกอบตามแนวคิดของ Joyce, Weil และ Calhoun (2011) ประกอบด้วย 1 หลักการ 2 วัตถุประสงค์ 3กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4 ระบบสังคม 5 หลักการตอบสนอง และ 6 ระบบสนับสนุน

3.1.2 หาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนแบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดกาเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ทำการประเมินประสิทธิภาพความสอดคล้องเหมาะสมของรูปแบบ

3.1.3 ปรับปรุง แก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในส่วนที่ 1 หลักการของรูปแบบ การใช้ภาษา และคำที่พิมพ์ผิดตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ

3.2 การสร้างแผนการจัดกาเรียนรู้

3.2.1 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และศึกษาสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ คำอธิบายรายวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

3.2.2 ศึกษาทฤษฎี หลักการ แนวคิดในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ และจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้

3.2.3 กำหนดรูปแบบและเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ และสร้างแผนการจัดการเรียนรู้

3.2.4 นำแผนการจัดการเรียนรู้ พร้อมแบบประเมินชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ซึ่งมี 5 ระดับ คือ เหมาะสมมากที่สุด เหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง เหมาะสมน้อย และเหมาะสมน้อยที่สุด เสนอผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ความถูกต้องเหมาะสมของการใช้ภาษา และความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้ ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.78 ซึ่งหมายความว่า แผนการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด

3.2.5 นำแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาล 1 (อนุบาลเด็กน่ารัก) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 24 คน

3.3 การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

3.3.1 ศึกษาสาระ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

3.3.2 ศึกษาเอกสาร ทฤษฎี แนวคิด และจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องในการสร้างแบบทดสอบ (บุญชม ศรีสะอาด. 2546 ; สมนึก ภัททิยธนี. 2546 )

3.3.3 สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ เพื่อใช้จริง จำนวน 40 ข้อ

3.3.4 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพร้อมแบบประเมินความสอดคล้องเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เพื่อประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยวิธีของ โรวิเนลลี่ (Rovinelli) และ แฮมเบลตัน (R.K Hambleton)

3.3.5 วิเคราะห์หาดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยใช้สูตร IOC (Index of Item Objective Congruence) เลือกข้อสอบที่มีค่า IOC ตั้งแต่ .50 ถึง 1.00 ซึ่งถือว่าเป็นแบบทดสอบที่อยู่ในเกณฑ์ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ปรากฏว่าแบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นอยู่ในเกณฑ์ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจำนวน 50 ข้อ ซึ่งมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.66 ถึง 1.00

3.3.6 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไปทดลองสอบ (Try Out) กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 40 คน ซึ่งไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง

3.3.7 นำกระดาษคำตอบมาตรวจให้คะแนน โดยตอบถูกให้ 1 คะแนน ตอบผิดหรือไม่ชัดเจนหรือไม่ตอบให้ 0 คะแนน แล้ววิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนกรายข้อ โดยใช้ ดัชนีบี (B-Index) ตามวิธีของ เบรนแนน (Brennan) และพิจารณาข้อสอบที่มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.20 ถึง 0.80 แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.28 ถึง 0.76 มีข้อสอบที่เข้าเกณฑ์จำนวน 43 ข้อ จึงคัดเลือกไว้ จำนวน 40 ข้อ

3.3.8 นำแบบทดสอบที่คัดเลือกไว้ จำนวน 40 ข้อ มาวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ โดยใช้วิธีของ โลเวท (Lovett Method) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93

3.3.9 นำแบบทดสอบที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 24 คน

3.4 การสร้างแบบวัดความพึงพอใจ

3.4.1 ศึกษาวิธีสร้างแบบวัดความพึงพอใจ (ถวิล ธาราโรจน์. 2536 ; โยธิน ศันสนยุทธ. 2530 )

3.4.2 สร้างแบบวัดความพึงพอใจชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale)

มี 5 ระดับ คือ พึงพอใจมากที่สุด พึงพอใจมาก พึงพอใจปานกลาง พึงพอใจน้อย และพึงพอใจน้อยที่สุด จำนวน 1 ฉบับ รวม 12 ข้อ

3.4.3 นำแบบวัดความพึงพอใจ พร้อมแบบประเมินชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ซึ่งมี 5 ระดับ คือ เหมาะสมมากที่สุด เหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง เหมาะสมน้อย และเหมาะสมน้อยที่สุด เสนอผู้เชี่ยวชาญชุดเดิม จำนวน 5 คน แล้วนำผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 คน มาหาค่าเฉลี่ยและนำไปเทียบกับเกณฑ์ พบว่า แบบวัดความพึงพอใจ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 หมายความว่า แบบวัดความพึงพอใจ มีความเหมาะสมมากที่สุด

3.4.4 หาคุณภาพของแบบวัดความพึงพอใจ โดยนำผลการทดลองใช้มาวิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนกรายข้อ โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน ตามวิธี Item Total Correlation (บุญชม ศรีสะอาด. 2545) พบว่า แบบวัดความพึงพอใจมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.31 ถึง 0.50

3.4.5 หาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับของแบบวัดความพึงพอใจด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ตามวิธีของ ครอนบาค (Cronbach) พบว่า ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับของแบบวัดความพึงพอใจ เท่ากับ 0.86

3.4.6 นำแบบวัดความพึงพอใจไปใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 24 คน

3.5 การสร้างแบบสัมภาษณ์

3.5.1 ศึกษาเอกสาร แนวคิดและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

3.5.2 สร้างแบบสัมภาษณ์เป็นแบบกึ่งโครงสร้าง โดยกำหนดรายละเอียดเนื้อหาของเรื่องที่ต้องการสัมภาษณ์

3.5.3 สร้างแบบสัมภาษณ์ให้ครอบคลุมแนวคิดการวิจัย แล้วเสนอผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสม เสนอแนะ ปรับปรุง แก้ไขให้มีความเหมาะสม

3.5.4 นำแบบสอบสัมภาษณ์ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครู จำนวน 10 คน และนักเรียน จำนวน 30 คน

การเก็บรวบรวมข้อมูล

ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ดังนี้

1. ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยสัมภาษณ์ครู และนักเรียน

2. ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้

ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ดังนี้

1. สร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

2. ประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

3. ทดลองใช้ (Try Out) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

ระยะที่ 3 ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ดังนี้

1. นำรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่าง

2. วิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย

2.1 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

2.2 ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

การวิเคราะห์ข้อมูล

สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ วิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ

ค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่น

ผลการวิจัย

1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 1 (อนุบาลเด็กน่ารัก) กองการศึกษาเทศบาลตำบลหนองบัวแดง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ จากครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 10 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 30 คน และการศึกษาข้อมูลการพัฒนาในปีการศึกษาที่ผ่านมาเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า 1 สภาพปัญหาด้านครูผู้สอน ครูผู้สอนเน้นวิธีการสอนแบบการบรรยาย ไม่จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ไม่ส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แสวงหาคำตอบ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ไม่ส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม ไม่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ไม่เห็นความสำคัญของบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ สื่อและแหล่งเรียนรู้ไม่ทันสมัยและไม่เพียงพอ ไม่เน้นการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามภาพจริง ด้านนักเรียน นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ชอบเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ไม่กระตือรือร้อนต่อการเรียน ไม่ตั้งใจเรียน เบื่อการเรียน ไม่มีสมาธิในการเรียน ไม่เข้าใจเนื้อหาสาระ ไม่รักการอ่าน ขาดความรับผิดชอบ ไม่กล้าแสดงออก ไม่เห็นความสำคัญของการเรียน ไม่ให้ความร่วมมือในการเรียน ไม่เห็นประโยชน์ของการเรียน และไม่นำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง ทำให้นักเรียนมีความรู้ไม่กว้างและไม่ลุ่มลึก และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด 2 ความต้องการในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ประถมศึกษาปีที่ 2 ด้านครูผู้สอน ครูผู้สอนต้องการจัดการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยบูรณาการภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงและฝึกฝนจนเป็นนิสัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องฝึกการอ่าน การเขียน การฟัง การดูและการพูด หลักการใช้ภาษา วรรณคดีและวรรณกรรม เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แสวงหาคำตอบและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล จัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มที่คละความสามารถให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จัดกระบวนการเรียนรู้ให้นักเรียนแสวงหาคำตอบและสามารถสรุปองค์ความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งทำให้นักเรียนมีความรู้กว้างและลุ่มลึก จัดตกแต่งห้องเรียนหรือมุมความรู้ให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ในแต่ละหน่วย ทางโรงเรียนควรสนับสนุนสื่อและแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน วัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง สถานศึกษาต้องมีนโยบายการพัฒนาที่ชัดเจนที่สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ ด้านนักเรียน นักเรียนต้องการให้ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการสาระการเรียนรู้ทั้ง 5 สาระ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ทุกชั่วโมง จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แสวงหาคำตอบและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล จัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มที่คละความสามารถ และให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ต่อเพื่อน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนแสวงหาคำตอบและสามารถสรุปองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตร สามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ควรจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาการเรียนรู้

2. การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยอาศัยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ของ Joyce, Weil and Calhoun จำนวน 6 องค์ประกอบ คือ 1 หลักการ 2 วัตถุประสงค์ 3 กระบวนการจัดการเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นเสนอความรู้ใหม่ ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขั้นสรุปองค์ความรู้ ขั้นนำเสนอผลงาน 4 ระบบสังคม 5 หลักการตอบสนอง และ 6 ระบบสนับสนุน โดยผู้วิจัยตั้งชื่อรูปแบบนี้ว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ซึ่งมีผลการประเมินความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

3. ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบแบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปรากฎดังนี้

3.1 นักเรียนที่ได้เรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบแบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 21.04 คิดเป็นร้อยละ 52.60 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 34.54 คิดเป็นร้อยละ 85.93

3.2 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

อภิปรายผล

1. ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ปัญหาในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการจัดการเรียนรู้ ครูผู้สอนมุ่งเน้นให้ความรู้เนื้อหาแก่นักเรียนโดยวิธีการสอนแบบการบรรยายที่เน้นครูเป็นสำคัญ และมุ่งเน้นถ่ายทอดเนื้อหาวิชามากกว่าการส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้จากสภาพจริง ไม่ส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แสวงหาคำตอบและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ตลอดจนไม่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ส่งผลให้นักเรียนขาดทักษะดังกล่าว ไม่มีปฏิสัมพันธ์ต่อเพื่อนเพราะไม่ได้ทำงานด้วยกระบวนการกลุ่ม ไม่แสวงหาคำตอบและไม่สามารถสรุปองค์ความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งทำให้นักเรียนมีความรู้ไม่กว้างและไม่ลุ่มลึก ครูผู้สอนขาดความหลากหลายในการจัดกระบวนการเรียนรู้ต่อนักเรียน เน้นให้มีการสอนเสร็จภายในชั่วโมงของการจัดการเรียนรู้ อาจจะทำให้นักเรียนไม่สามารถสรุปองค์ความรู้ ไม่สามารถนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้จะเป็นการจัดการเรียนรู้โดยทั่วไป เช่น ขั้นนำ ขั้นสอน และขั้นสรุป ด้านบรรยากาศการจัดการเรียนรู้ ครูผู้สอนไม่เห็นความสำคัญของบรรยากาศการเรียนรู้ ไม่จัดบอร์ดหรือมุมความรู้ให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ในแต่ละหน่วย ด้านสิ่งสนับสนุน สื่อและแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การจัดการเรียนรู้ให้ทันสมัย ยังขาดโปรเจกเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้คุณภาพ ระบบสัญญาณอินเทอร์เน็ตไปไม่ถึงห้องเรียน ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การทดสอบก่อนเรียน การทดสอบระหว่างเรียน การทดสอบหลังเรียนและการทดสอบปลายภาคเรียน จากการสัมภาษณ์ครูผู้สอนจะใช้การทดสอบหลังเรียนเป็นหลัก ซึ่งมีทุกหน่วยการเรียนรู้ ในแต่ละหน่วยจะมีแบบฝึกทักษะท้ายหน่วยการเรียนรู้มีจำนวนมากเกินไป จึงทำให้นักเรียนวัดและประเมินผลการเรียนรู้ไม่ทัน และครูผู้สอนก็วัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้วยการให้นักเรียนไปทำเป็นการบ้าน ทำให้นักเรียนไม่ทราบผลการประเมินในชั่วโมงนั้น ๆ

ปัญหาด้านนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า นักเรียนบางคนไม่ชอบเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ไม่กระตือรือร้อนต่อการเรียน ไม่มีสมาธิในการเรียน ไม่เข้าใจเนื้อหา เรียนไม่ทันเพื่อน ไม่รักการอ่าน ไม่ตั้งใจเรียน เบื่อการเรียน ขาดความรับผิดชอบ ไม่กล้าแสดงออก ไม่กล้าพูดนำเสนอความรู้หน้าชั้นเรียน ไม่กล้าตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นในเวลาเรียน ไม่เห็นความสำคัญของการเรียน ไม่ให้ความร่วมมือในการเรียน ไม่เห็นประโยชน์ของความรู้ที่เรียน และไม่นำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง ตลอดจนนักเรียนขาดการพัฒนาการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แสวงหาคำตอบและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ไม่มีปฏิสัมพันธ์ต่อเพื่อนเพราะไม่ได้ทำงานด้วยกระบวนการกลุ่ม ไม่ได้แสวงหาคำตอบและไม่ได้สรุปองค์ความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งทำให้นักเรียนมีความรู้ไม่กว้างและไม่ลุ่มลึก

ความต้องการในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ครูผู้สอนควรจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แสวงหาคำตอบและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล จัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มที่คละความสามารถ เพื่อคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ต่อเพื่อน จัดกระบวนการเรียนรู้ให้นักเรียนแสวงหาคำตอบและสามารถสรุปองค์ความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งทำให้นักเรียนมีความรู้กว้างและลุ่มลึก ครูผู้สอนควรให้ความสำคัญของบรรยากาศการเรียนรู้ จัดตกแต่งห้องเรียนหรือมุมความรู้ให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ในแต่ละหน่วย ทางโรงเรียนควรสนับสนุนสื่อและแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน เช่น โปรเจกเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพ ระบบสัญญาณอินเทอร์เน็ตส่งถึงทุกห้องเรียน วัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง แจ้งผลการประเมินให้นักเรียนทราบทุกครั้งเพื่อให้นักเรียนทราบและปรับปรุงการเรียน

จากข้อมูลพื้นฐานดังกล่าว ผู้วิจัยได้ศึกษาหลักการ แนวคิด และทฤษฎีเพื่อนำไปใช้ในการ พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ คือ แนวคิดการจัดการ เรียนรู้แบบบูรณาการภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน การฟัง การดู การพูด หลักการใช้ภาษา วรรณคดีและวรรณกรรม ตามแนวคิดของกระทรวงศึกษาธิการ (2539) โดยการจัดเนื้อหาวิชาและกิจกรรมการบูรณาการภายในแต่ละวิชาหรือกลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงแนวคิด ทักษะ และความคิดรวบยอดของเนื้อหาสาระวิชาใดวิชาหนึ่ง การสอนบูรณาการภายในวิชาเดียวกันมีใช้กันมาก ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ได้แก่ การอ่านและการเขียน รวมทั้งสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการรู้หนังสือหรือการอ่านออกเขียนได้ การบูรณาการดังกล่าวเป็นกระบวนการพัฒนาความคิดจากการสัมพันธ์ เชื่อมโยงระหว่างการฟัง การพูด การอ่านและการเขียนในรูปแบบต่าง ๆ ที่หลากหลาย การจัดการเรียนการสอนในลักษณะนี้จะมีผลทำให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมหรือโลกรอบตัว เรื่องของไวยากรณ์ ตัวสะกด เครื่องหมายวรรคตอน ตลอดจนการใช้ที่ถูกต้องจะชัดเจนขึ้น เมื่อนักเรียนได้ร่วมกิจกรรมการเรียนและจะได้ผลมากเมื่อถึงขั้นที่ผู้เรียนสร้างตำราขึ้นด้วยตนเอง อ่านและประยุกต์สู่การเขียนด้วยตนเอง นั่นก็คือการเรียนการสอนในลักษณะบูรณาการจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่า เมื่อเทียบกับการเรียนการสอนที่แยกเป็นส่วน ๆ ขาดการสัมพันธ์เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ในการเรียนการสอนแบบบูรณาการนั้นทั้งครูและนักเรียนจะต้องช่วยกันพิจารณาเลือกหัวเรื่อง (Theme) ที่จะเรียน ช่วยกันพิจารณาเลือกหนังสืออ่าน ซึ่งการเลือกหนังสืออ่านเป็นกิจกรรมสำคัญมาก เพราะหนังสืออ่านต่าง ๆ นั้นจะช่วยทำให้เกิดแนวคิดในการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ

จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการสัมภาษณ์ครูผู้สอน สอบถามนักเรียน รวมทั้งศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการใช้รูปแบบการจัดการ เรียนรู้แบบบูรณาการ ผู้วิจัยได้องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวทางของ Joyce, Weil และ Calhoun (2011) ดังนี้ 1หลักการของรูปแบบ การจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วยแนวคิดการจัดการเรียนรู้ภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 2วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ 3 กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นที่ 2 ขั้นเสนอความรู้ใหม่ ขั้นที่ 3 ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขั้นที่ 4 ขั้นสรุปองค์ความรู้ ขั้นที่ 5 ขั้นนำเสนอผลงาน 4 ระบบสังคม 5 หลักการตอบสนอง และ 6 ระบบสนับสนุน

2. การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ มีองค์ประกอบทั้งหมด 6 องค์ประกอบ คือ 1 หลักการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3 กระบวนการจัดการเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นที่ 2 ขั้นเสนอความรู้ใหม่ ขั้นที่ 3 ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขั้นที่ 4 ขั้นสรุปองค์ความรู้ ขั้นที่ 5 ขั้นนำเสนอผลงาน 4 ระบบสังคม 5 หลักการตอบสนอง และ 6 ระบบสนับสนุน เป็นไปตามกรอบของ องค์ประกอบรูปแบบการจัดกาเรียนรู้ในการวิจัย โดยผู้วิจัยได้นำแนวคิดของ Joyce, Weil และ Calhoun (2011) ที่เสนอแนะไว้ว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและเหมาะสมนั้นควรมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ แนวคิดทฤษฎีพื้นฐานและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องให้บรรลุประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ด้วยการตอบสนองและการปรับตัวของผู้เรียน การจัดการเรียนรู้ที่มีสมรรถนะและความสะดวกเหมาะสมในการนำไปปฏิบัติ ตลอดจนรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ ทำให้ทราบข้อบกพร่องของรูปแบบการจัดการเรียนรู้และนำข้อบกพร่องมาปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้มีความเหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่างมากที่สุด จึงทำให้ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่มีความสมบูรณ์และมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น และมีความเหมาะสมสำหรับนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะและได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย สอดคล้องกับ วีณา ประชากูล และประสาท เนืองเฉลิม (2554) ที่กล่าวว่าการสอนเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนที่จะต้องมีความ สอดคล้องและความเหมาะสม ผู้สอนต้องเตรียมการสอนมาอย่างดี ควรจัดการเรียนการสอนอย่างมีกระบวนการและให้ครบองค์ประกอบของการสอน ได้แก่ การตั้งจุดประสงค์การสอน การกำหนดเนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อการสอนและการวัดผลประเมินผล สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และตรงตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ผู้สอนควรคำนึงถึงหลักพื้นฐานในการสอน ลักษณะการสอนที่ดีและปัจจัยส่งเสริมการเรียนรู้ ตลอดจนรู้จักใช้หลักการสอนให้สอดคล้องกับหลัก จิตวิทยาการเรียนรู้ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดที่กำหนดไว้

3. ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปรากฎดังนี้

3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน เท่ากับ 21.04 คิดเป็นร้อยละ 52.60 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 34.54 คิดเป็นร้อยละ 85.93 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน เนื่องจากผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบจัดการเรียนรู้ และการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ทำให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกขั้นตอน และยังเป็นการฝึกให้นักเรียนกล้าแสดงออกโดยมีโอกาสได้นำเสนอผลงานของกลุ่ม และสามารถทำงานร่วมกับเพื่อน ๆ ได้ ซึ่งจะนำไปสู่การอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการมีกิจกรรมที่หลากหลาย ทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกขั้นตอน และลงมือปฏิบัติด้วยตนเองอย่างแท้จริงจึงทำให้นักเรียนไม่รู้สึกเบื่อหน่ายในการเรียน มีความกระตือรือร้นในการเรียน เกิดความสนุกสนานกับกิจกรรมการเรียนรู้ ช่วยดึงดูดความสนใจของนักเรียนเข้าสู่เนื้อหาสาระที่เรียนอย่างเหมาะสมกับวัยและต้องการของผู้เรียน จึงทำให้พัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนจึงมีพัฒนาการทางการเรียนสูงขึ้น สอดคล้องกับ กรมวิชาการ (2539) ซึ่งกล่าวว่า การบูรณาการการอ่าน การเขียน รวมทั้งสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการรู้หนังสือหรือการอ่านออกเขียนได้ เป็นกระบวนการพัฒนาความคิดจากการสัมพันธ์ เชื่อมโยงระหว่างการฟัง การพูด การอ่านและการเขียนในรูปแบบต่าง ๆ ที่หลากหลาย การจัดการเรียนการสอนในลักษณะนี้จะมีผลทำให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมหรือโลกรอบตัว เรื่องของไวยากรณ์ ตัวสะกด เครื่องหมายวรรคตอน ตลอดจนการใช้ที่ถูกต้องจะชัดเจนขึ้น สอดคล้องกับ ทิศนา แขมมณี (2548 : 147) ซึ่งกล่าวว่า การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เป็นการนำเนื้อหาสาระที่มีความเกี่ยวข้องกันมาสัมพันธ์ให้เป็นเรื่องเดียวกัน และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในลักษณะที่เป็นองค์รวม และสามารถนำความรู้ความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ และสอดคล้องกับ วิเศษ ชิณวงค์ (2544) ที่กล่าวว่า การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการนั้น สอดคล้องกับแนวการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กล่าวคือ นักเรียนได้เรียนรู้จากการได้คิดและปฏิบัติจริงตามความสนใจและความถนัดของตนเองอย่างมีความสุข เรียนรู้จากกลุ่มและเพื่อน เรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม (บูรณาการเข้าด้วยกัน) และเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ของตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของ สอดคล้องกับ อนงค์รักษ์ แก่นสาร (2547) ที่ได้พัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง พญานกออก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผลการศึกษาพบว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.53/83.77 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.5828 หมายความว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนร้อยละ 58.28 ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของ จันทอง นามวัตร (2547) ที่ได้พัฒนาแผนแบบบูรณาการเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนภาษาไทยแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา เรื่อง หลวงพ่อคูณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ผลการศึกษาพบว่า แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ มีประสิทธิภาพ 82.56/82.90 และมีค่าดัชนีประสิทธิผล 0.71 หมายความว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ภาษาไทยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 71.00 และสอดคล้องกับ สุภาพร แก้วไสย (2547) ที่ได้พัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ร้านค้าริมทาง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผลการศึกษาพบว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ มีประสิทธิภาพ 82.00/81.32 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.64 หมายความว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 64 สอดคล้องกับผลการศึกษาของ อรจิต อุดมฤทธิ์ (2547) ที่ได้พัฒนาแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง นกกางเขนเพื่อนรัก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ผลการศึกษาพบว่า แผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.32/88.81 และดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.73 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 73.00 และสอดคล้องกับ สุปรานี หงษ์อุดร (2548) ที่ได้พัฒนาแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง รั้วน้ำใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผลการศึกษาพบว่า แผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.25/81.35 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.5525 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.25

3.2 ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ทั้งนี้เนื่องจาก การจัดการเรียนรู้ตามรูปบแบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนมีความน่าสนใจ เพราะนักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของกลุ่มทุกขั้นตอนและนักเรียนได้แสดงออกโดยการนำเสนอผลงาน ทำให้นักเรียนไม่รู้สึกเบื่อหน่าย กล้าแสดงออก เรียนรู้อย่างมีความสุขและเต็มตามศักยภาพ สอดคล้องกับ มาสโลว์ (Maslow. 1970) ซึ่งกล่าวว่ามนุษย์มีความต้องการทางสังคม (Social or Belonging Needs) ได้แก่ ความต้องการจะเข้าร่วม และได้รับการยอมรับในสังคม ความเป็นมิตร และความรักจากเพื่อน และสอดคล้องกับ สก๊อตต์ (Scott. 1970) ที่ได้เสนอแนวคิดในการสร้างแรงจูงใจให้เกิดความพึงพอใจต่อการทำงาน ซึ่งกล่าวว่า ในการสร้างสิ่งจูงใจภายในเป้าหมายของงาน จะต้องให้ คนทำงานมีส่วนร่วมในการตั้งเป้าหมาย ผู้ปฏิบัติได้รับทราบผลสำเร็จในการทำงานโดยตรง และงานนั้นสามารถทำให้สำเร็จได้ สอดคล้องกับผลการศึกษาของ จุฑาธิป ศรีสถิตย์ (2547) ที่ได้พัฒนาแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง สัญญาของเอก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผลการศึกษาพบว่า แผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ มีประสิทธิภาพ 89.35/84.47 ดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.5141 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ อยู่ในระดับมาก และสอดคล้องกับ ดวงจันทร์ จันทะเกษ (2547) ที่ได้พัฒนาแผนและสื่อประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยแบบบูรณาการ โดยใช้กลุ่มร่วมมือ เรื่อง จำปาสี่ต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผลการศึกษาพบว่า แผนและสื่อประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยแบบบูรณาการ มีประสิทธิภาพ 82.54/82.20 ดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ .5379 นักเรียนมีทักษะการเรียนรู้ภาษาไทยคิดเป็นร้อยละ 82.85 และมีความพึงพอใจต่อการเรียนอยู่ในระดับมาก

ข้อเสนอแนะ

1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการวิจัยยไปใช้ประโยชน์

1.1 ควรนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ไปพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

1.2 ควรนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ไปวางแผนขยายผลและสร้างเครือข่ายการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

1.3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรประชาสัมพันธ์ผลการปฏิบัติโครงการ กิจกรรมดีเด่น (Best Practice) ให้เป็นต้นแบบในการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย แก่สถานศึกษาอื่น ๆ

1.4 ควรนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการไปใช้ในการจัดการเรียนการรู้

กลุ่มสาระอื่น ๆ เพราะเป็นการจัดการเรียนรู้ที่นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง จึงทำให้นักเรียนไม่รู้สึกเบื่อหน่ายเพราะมีกิจกรรมที่หลากหลาย

2. ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป

2.1 ควรวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

2.2 ควรวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เพื่อสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน

2.5 ควรวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ให้ครอบคลุมภารกิจหลักของสถานศึกษา 4 ฝ่าย

เอกสารอ้างอิง

กรมวิชาการ. การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,

2546.

. คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,

2545.

. หนังสือความรู้สำหรับครูเรื่องบูรณาการ. กรุงเทพฯ : รุ่งเรืองการพิมพ์, 2539.

. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและ

พัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.), 2544.

กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร :

โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2551.

จิระวัฒน์ วงศ์สวัสดิวัฒน์. ทัศนคติ ความเชื่อ และพฤติกรรม : การวัด การพยากรณ์และการเปลี่ยนแปลง.

พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2547.

จุฑาธิป ศรีสถิตย์. การพัฒนาแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่องสัญญาของเอก กลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย

มหาสารคาม, 2547.

จันทอง นามวัตร. การพัฒนาแผนแบบบูรณาการเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย แบบมุ่งประสบการณ์

ภาษาเรื่อง หลวงพ่อคูณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม :

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2547.

ดวงจันทร์ จันทะเกษ. การพัฒนาแผนและสื่อประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยแบบบูรณาการ

โดยใช้กลุ่มร่วมมือ เรื่องจำปาสี่ต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม.

มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2547.

ถวิล ธาราโรจน์. จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ : อักษราพิพัฒน์, 2536.

ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4.

กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.

ธีระชัย ปูรณโชติ. “การเรียนการสอนแบบบูรณาการ ทัศนะของผู้เชี่ยวชาญ,” ใน คู่มือฝึกอบรมเพื่อ

พัฒนาการเรียนการสอนแบบหน่วยบูรณาการวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์. หน้า 17 – 18 ;

กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2540.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. การวัดเจตคติ. อุบลราชธานี : คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี, 2542.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2545.

. การวิจัยสำหรับครู. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2546.

บุรินทร์ ทองแม้น. แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช, 2545.

ประเทือง ทาอามาตย์. การพัฒนาแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง บ้านไร่

ไผ่งาม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย

มหาสารคาม, 2547.

เผชิญ กิจระการ. ดัชนีประสิทธิผล. มหาสารคาม : ภาควิชาเทคโนโลยีและการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2546.

โยธิน ศันสนยุทธ. จิตวิทยา. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมวิชาการ, 2530.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ, 2542.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. การพัฒนาการเรียนการสอน. มหาสารคาม : ม.ป.พ., 2545.

วิเศษ ชิณวงค์. “ การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ,” วารสารวิชาการ. 4(10) : 27 –33 ; ตุลาคม,

2544.

สุปราณี หงษ์อุดร. การพัฒนาแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่องรั้วน้ำใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,

2548.

สุภาพร แก้วไสย. การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

เรื่อง ร้านค้าริมทาง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม :

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2547.

สุวิทย์ มูลคำ และคณะ. การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิด. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์,

2549.

สมนึก ภัททิยธนี. การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์, 2546.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชุด ภาษาพาทีภาษา

เพื่อชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2547.

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. เอกสารเสริมความรู้กลุ่มทักษะภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 5 โดยการอบรมครูผู้สอน ปีงบประมาณ 2538. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2539.

สำลี รักสุทธี และคนอื่น ๆ. “เทคนิคและวิธีการเขียนหลักสูตร.” : วารสารพัฒนาศึกษา. 5(6)2 ; มิถุนายน,

2544.

อนงค์รักษ์ แก่นสาร. การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

เรื่องพญานกออก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม :

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2547.

อรจิต อุดมฤทธิ์. การพัฒนาแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง นกกางเขน

เพื่อนรัก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย

มหาสารคาม, 2547.

อรทัย มูลคำ และสุวิทย์ มูลคำ. CHILD CENTRED : STORYLINE METHOD : การบูรณาการหลักสูตร

และการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. เล่ม 2. กรุงเทพฯ : หจก. ภาพพิมพ์, 2544.

. การบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนโดยเน้นผู้สอนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์,

2544.

อรัญญา สุธาสิโนบล. “การสอนแบบบูรณาการ,” วารสารวิชาการ. 5(12) : 22 ; ธันวาคม, 2545.

โพสต์โดย นางสาวภาสินี สุวรรณโก : [5 ส.ค. 2566 เวลา 09:26 น.]
อ่าน [1438] ไอพี : 49.229.248.196
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 12,440 ครั้ง
เข้าใจผิดทั่วโลก! นางแบบไต้หวันจ่อฟ้องคนปล่อยข่าวมั่วทำชีวิตพัง
เข้าใจผิดทั่วโลก! นางแบบไต้หวันจ่อฟ้องคนปล่อยข่าวมั่วทำชีวิตพัง

เปิดอ่าน 10,264 ครั้ง
พฤติกรรมทำร้ายกระดูกสันหลัง
พฤติกรรมทำร้ายกระดูกสันหลัง

เปิดอ่าน 10,466 ครั้ง
จดหมายฉบับที่ 55 ถึงนายกรัฐมนตรี+รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หยุดใช้ผลการสอบ O-NET ผิดทาง
จดหมายฉบับที่ 55 ถึงนายกรัฐมนตรี+รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หยุดใช้ผลการสอบ O-NET ผิดทาง

เปิดอ่าน 16,092 ครั้ง
หญ้าแฝก
หญ้าแฝก

เปิดอ่าน 618 ครั้ง
PBISS | The Most Caring and Innovative International School of Koh Samui
PBISS | The Most Caring and Innovative International School of Koh Samui

เปิดอ่าน 57,022 ครั้ง
เหตุใดน้ำแข็ง จึงลอยอยู่บนน้ำได้
เหตุใดน้ำแข็ง จึงลอยอยู่บนน้ำได้

เปิดอ่าน 69,574 ครั้ง
ทำไมมีจุดแดงบนหน้าผากสตรีอินเดีย
ทำไมมีจุดแดงบนหน้าผากสตรีอินเดีย

เปิดอ่าน 11,685 ครั้ง
ตูนส์ศึกษา : เด็กจะกระตือรือร้นและมีความสุขในการเรียนเมื่อใด......ภาพนี้มีคำตอบ
ตูนส์ศึกษา : เด็กจะกระตือรือร้นและมีความสุขในการเรียนเมื่อใด......ภาพนี้มีคำตอบ

เปิดอ่าน 97,237 ครั้ง
กรีฑา (Athletics)
กรีฑา (Athletics)

เปิดอ่าน 16,372 ครั้ง
รู้หรือไม่ สิทธิบัตรการออกแบบชิ้นแรก ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา คือ...
รู้หรือไม่ สิทธิบัตรการออกแบบชิ้นแรก ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา คือ...

เปิดอ่าน 13,928 ครั้ง
รายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะครุภัณฑ์ จำนวน 5 รายการ
รายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะครุภัณฑ์ จำนวน 5 รายการ

เปิดอ่าน 1,792 ครั้ง
เตือน!กลโกงคนใกล้ตัว ระวังเซ็นเอกสารอาจเสียทรัพย์ เป็นหนี้หมดตัว
เตือน!กลโกงคนใกล้ตัว ระวังเซ็นเอกสารอาจเสียทรัพย์ เป็นหนี้หมดตัว

เปิดอ่าน 15,101 ครั้ง
กำจัดความเครียดได้ง่าย ๆ ด้วยการกินอาหาร
กำจัดความเครียดได้ง่าย ๆ ด้วยการกินอาหาร

เปิดอ่าน 20,118 ครั้ง
คลิปสุดซึ้ง รับวันครู 2559 สร้างจากเรื่องจริงของครูใหญ่ กับเงิน 1,000 ล้าน (Full Version)
คลิปสุดซึ้ง รับวันครู 2559 สร้างจากเรื่องจริงของครูใหญ่ กับเงิน 1,000 ล้าน (Full Version)

เปิดอ่าน 15,719 ครั้ง
คลิปแนะนำวิธีระบายความร้อนรถตากแดดแบบเร่งด่วน แบบนี้ต้องลอง
คลิปแนะนำวิธีระบายความร้อนรถตากแดดแบบเร่งด่วน แบบนี้ต้องลอง

เปิดอ่าน 27,090 ครั้ง
สมุนไพรรักษาโรคเบาหวาน
สมุนไพรรักษาโรคเบาหวาน
เปิดอ่าน 13,373 ครั้ง
ทราบหรือไม่ว่ามีประโยชน์อะไรบ้าง?
ทราบหรือไม่ว่ามีประโยชน์อะไรบ้าง?
เปิดอ่าน 1,742 ครั้ง
เติมความหวานด้วยของขวัญวันวาเลนไทน์ ส่งรักแทนใจให้คนพิเศษ
เติมความหวานด้วยของขวัญวันวาเลนไทน์ ส่งรักแทนใจให้คนพิเศษ
เปิดอ่าน 15,950 ครั้ง
การรักษาโรคตาแห้ง
การรักษาโรคตาแห้ง
เปิดอ่าน 86,712 ครั้ง
สรุปสูตร วงกลม
สรุปสูตร วงกลม

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ