ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
ชื่อเรื่อง พัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทย โดยใช้ แบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 จังหวัดสตูล

ชื่อเรื่อง พัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทย โดยใช้ แบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 จังหวัดสตูล

1.ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรม อันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและ เสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความ เข้าใจ และความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุระ การงานและดำเนินชีวิตร่วมกันใน สังคมประชาธิปไตยได้อย่างสันติสุขและเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์จาก แหล่งข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความรู้ กระบวนการคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ ให้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ตลอดจนนำไปใช้ใน การพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นสื่อแสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้าน วัฒนธรรม ประเพณี สุนทรียภาพเป็นสมบัติล้ำค่าควรแก่การเรียนรู้ อนุรักษ์และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติ ไทยตลอดไป กระทรวงศึกษาธิการ (2551 : 37)

ด้วยความสำคัญดังกล่าว หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้ กำหนดให้ภาษาไทยเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร การ เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริง กระทรวงศึกษาธิการ (2551 : 37)

ดังนั้น เด็กไทยทุกคนควรเรียนรู้และใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องทุกโอกาส ซึ่งการเรียนการสอน ภาษาไทยเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ ในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร การอ่านและการฟัง เป็นทักษะของการรับรู้เรื่องราว ความรู้ ประสบการณ์ ส่วนการพูดและการเขียนเป็นทักษะของการ แสดงออกด้วยการแสดงความคิดเห็น ความรู้และประสบการณ์ การเรียนภาษาไทยจึงต้องเรียนเพื่อการ สื่อสาร ให้สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างพินิจพิเคราะห์ สามารถนำความรู้ ความคิดมาเลือกใช้เรียบ เรียงคำมาใช้ตามหลักภาษาได้ถูกต้องตรงตามความหมาย กาลเทศะและใช้ภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์ (2549 : 80)

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็น พลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุขมีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและ การศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ ธรรมชาติของภาษาไทยเป็นเรื่องทักษะ จะแยกเนื้อหาสาระของทักษะแต่ละชั้นปีโดยเด็ดขาด ไม่ได้ จำเป็นจะต้องมีกระบวนการฝึกทักษะต่าง ๆ ให้ต่อเนื่องกันไป เนื้อหา เช่น การอ่านและการเขียน สะกดคำ การอ่านจับใจความ การเลือกใช้คำให้ตรงตามความหมาย การเขียนแสดงความรู้สึก ความคิดประสบการณ์ ความต้องการ จินตนาการ การนำความรู้จากการอ่านไปใช้ในการตัดสินใจ การ แก้ปัญหาและการดำเนินชีวิต จำเป็นต้องสอนทุกชั้นในเรื่องของทักษะภาษา และแต่ละชั้นจะมีเนื้อหาใน การฝึกทักษะที่เพิ่มความซับซ้อนและยากมากขึ้น เช่น จำนวนคำเพิ่มมากขึ้น ประโยคที่ใช้ยาวและ ซับซ้อนขึ้น เรื่องที่นำมาอ่านยาวขึ้น กรมวิชาการ (2544 : 22) กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประเมินสภาพการจัดการเรียน การสอนภาษาไทย ในโรงเรียนประถมศึกษาแล้วพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ สมรรถภาพที่มีปัญหาได้แก่ ทักษะการอ่านและการเขียน ปัญหา คือการออกเสียงพยัญชนะ สระ คำควบกล้ำไม่ชัดเจน การแจกลูกสะกดคำ การใช้หลักภาษาไทยไม่ ถูกต้อง การแจกลูกสะกดคำเป็นเรื่องจำเป็นมากสำหรับผู้เริ่มเรียน หากครูไม่ได้สอนแจกลูกสะกดคำแก่ นักเรียนในระยะเริ่มเรียน การอ่านของนักเรียนจะขาดหลักเกณฑ์การประสมคำ เมื่ออ่านหนังสือมากขึ้น ทำให้สับสนอ่านหนังสือไม่ออก เขียนหนังสือผิด ซึ่งเป็นปัญหามากของนักเรียนไทยในปัจจุบัน ผลจาก การอ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้ ย่อมส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนในวิชาอื่น ๆ ด้วย เพราะการ อ่านเป็นเครื่องมือสำหรับการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง กรมวิชาการ (2546 : 134) การสอนภาษาไทยให้บรรลุวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องฝึกทักษะต่าง ๆ ให้สัมพันธ์กันทั้งการรับเข้ามา คือ การอ่านและการฟังกับทักษะการถ่ายทอดออกไป คือ การพูดและการ เขียน ในด้านการเขียน ถือเป็นทักษะที่ยุ่งยากซับซ้อนและเป็นทักษะถ่ายทอดที่สำคัญต่อการสื่อสาร อย่างยิ่ง จากข้อมูลสภาพปัญหา ความสำคัญ และหลักการดังกล่าว ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวครูผู้สอน ควรจะมีการศึกษาหาวิธีปรับปรุงพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้มี ประสิทธิภาพ ให้ทั้งความรู้ทักษะการคิด ความสนุกสนานเพลิดเพลินไปพร้อม ๆ กัน มีเทคนิคการสอนที่ หลากหลาย ทำให้เกิดการเรียนรู้เกิดความแม่นยำ จดจำง่าย และเข้าใจ

ผู้วิจัยได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยพร้อมทั้งวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 จังหวัดสตูล นักเรียน มีปัญหาทางด้านการเขียนสะกดคำไม่ถูกต้องและอ่านไม่ออก ทำให้ผู้วิจัยทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องการอ่านและการเขียนสะกดคำ จึงได้ศึกษาหานวัตกรรมทั้งเก่าและใหม่นำมา แก้ปัญหาพบว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะจะทำให้สามารถ แก้ปัญหาดังกล่าวได้ ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนา ทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำของนักเรียนและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย

2.1 เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการอ่านและเขียนคำพื้นฐาน ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

2.2 เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะสาระภาษาไทย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80

3 ขอบเขตของการศึกษา

3.1 ประชากร ที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 จังหวัดสตูล อำเภอเมืองสตูล ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 22 คน

3.2 ระยะเวลาในการศึกษา ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 11 ชั่วโมง ทั้งนี้ไม่รวมเวลาที่ใช้ในการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

3.3 เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สาระการอ่านและการเขียนคำพื้นฐาน โดยใช้แบบฝึกทักษะ จำนวน 6 แบบฝึก

3.4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 จังหวัดสตูล อำเภอเมืองสตูล ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 16 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

4 ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา

- ตัวแปรต้น ได้แก่ แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

- ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านและการเขียนคำพื้นฐาน หลังเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

วิธีดำเนินการ

การศึกษาในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการรายงานการพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำพื้นฐานภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะสาระภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ซึ่งสรุปได้ดังนี้

1. ประชากร

2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

3. การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

4. การเก็บรวบรวมเครื่องมือ

5. การวิเคราะห์ข้อมูล

6. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

1. ประชากร

1.1 ประชากร ที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 จังหวัดสตูล อำเภอเมืองสตูล ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 22 คน

1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 จังหวัดสตูล อำเภอเมืองสตูล ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 16 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

2.1 แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นเพื่อใช้ฝึกปฏิบัติด้านการอ่านและการเขียน จำนวน 6 ชุด

2.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่านและการเขียนคำพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ

3. แบบแผนการทดลองและขั้นตอนการทดลอง

3.1 แบบแผนการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ ได้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pre-test Post-test Design เสริมพงศ์ วงศ์กมลาไสย (2548 : 57) โดยมีลักษณะการวิจัย ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pre-test Post-test Design

กลุ่ม Pre-test Treatment Post-test

ทดลอง T1 X T2

T1 หมายถึง การทดสอบก่อนเรียน (Pre-test )

X หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้

การอ่านและการเขียนสะกดคำ โดยใช้แบบฝึกทักษะ

T2 หมายถึง การทดสอบหลังเรียน (Post-test)

3.2 ขั้นตอนการดำเนินการ การดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง รายงานการพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำพื้นฐานภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะสาระภาษาไทย ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 จังหวัดสตูล อำเภอเมืองสตูล จำนวน 14 คน ใช้เวลาในการดำเนินการ 11 ชั่วโมง ไม่รวมเวลาทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยมีลำดับขั้นตอน การดำเนินการ ดังนี้

3.2.1 ทดสอบก่อนเรียน (Pre-test ) ด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การอ่านและเขียนคำพื้นฐานภาษาไทย ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 30 ข้อ กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง

3.2.2 ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแผนการจัดการเรียนรู้ ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้บันทึกคะแนนการทำกิจกรรมกลุ่มและการทำแบบฝึกทักษะไว้ทุกครั้ง

3.2.3 เมื่อดำเนินการสอนครบทุกแผนแล้วทำการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียน (Post-test) กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบทดสอบชุดเดิมกับก่อนเรียน

4. การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือ

ผู้รายงาน ได้ดำเนินการสร้างเครื่องมือในการศึกษาตามลำดับ ดังนี้

1. การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำพื้นฐานภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ผู้รายงานได้ดำเนินการสร้างเครื่องมือในการวิจัย ดังนี้

1.1 ศึกษาสภาพปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 จังหวัดสตูล

1.2 ศึกษาหลักสูตร ค้นคว้าข้อมูล คู่มือการจัดการเรียนรู้หลักสูตรโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 จังหวัดสตูล ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เกี่ยวกับการจัดทำหน่วยการเรียนรู้

1.3 ศึกษาการสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำพื้นฐานภาษาไทยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จากเอกสารต่าง ๆ

1.4 ดำเนินการสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำพื้นฐานภาษาไทยสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 6 ชุด

1.5 สร้างแบบประเมินแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการ เรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยถามครอบคลุมองค์ประกอบของแบบฝึกทักษะ 5 ด้านคือ 1) จุดประสงค์ 2) เนื้อหา 3) รูปแบบ 4) การใช้ภาษา 5) การวัดและประเมินผล

1.6 นำแบบฝึกทักษะพร้อมแบบประเมินที่สร้างขึ้น เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของแบบฝึกทักษะ ความถูกต้องของภาษา

1.7 นำแบบฝึกทักษะไปทดลองใช้กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 จังหวัดสตูล จำนวน 3 คน เพื่อดูเวลาที่ใช้ความเหมาะสมของแบบฝึกทักษะ เร้าความสนใจของนักเรียน สอดคล้องกับเนื้อหา

1.8 นำแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทยไปปรับปรุงแก้ไขแล้ว นำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 จังหวัดสตูล จำนวน 14 คน

2. การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านและการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะ ผู้รายงานได้ดำเนินการสร้างตามลำดับ ดังนี้

2.1 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักเกณฑ์และวิธีการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนแบบอิงเกณฑ์ของบุญชม ศรีสะอาด (2545 : 89-90)

2.2 ศึกษาหลักสูตร คู่มือการวัดผลและประเมินผลตามหลักสูตรโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 จังหวัดสตูล ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

2.3 กำหนดเนื้อหาและกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระ

2.4 สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ

2.5 นำแบบทดสอบที่สร้างขึ้น เสนอผู้เชี่ยวชาญชุดเดิมกับข้อ (1.6) เพื่อพิจารณา ความเที่ยงตรงของเนื้อหา ความเหมาะสมของภาษาที่ใช้ และประเมินความสอดคล้องระหว่าง แบบทดสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้

ให้คะแนน +1 เมื่อแน่ใจว่า ข้อสอบนั้นวัดตรงตามจุดประสงค์

ให้คะแนน 0 เมื่อไม่แน่ใจว่า ข้อสอบนั้นวัดตรงตามจุดประสงค์

ให้คะแนน -1 เมื่อแน่ใจว่า ข้อสอบนั้นวัดไม่ตรงตามจุดประสงค์

2.6 นำคะแนนผลการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ มาหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง คำถามกับจุดประสงค์โดยใช้สูตรของโรวิเนลลีและแฮมแบลตัน (Rowinelli and Hambleton 1977, อ้างใน บุญชม ศรีสะอาด 2545 : 64-65)

IOC = R

N

IOC = ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับ จุดประสงค์

R = ผลรวมของคะแนนความคิดเห็นของ ผู้เชี่ยวชาญ

N = จำนวนผู้เชี่ยวชาญ

หลักเกณฑ์การคัดเลือกข้อคำถามมีดังนี้

1. ข้อคำถามที่มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.5-1.00 คัดเลือกไว้ใช้ได้

2. ข้อคำถามที่มีค่า IOC ต่ำกว่า 0.5 ควรพิจารณาปรับปรุงหรือตัดทิ้ง

2.7 นำแบบทดสอบไปทดลองใช้ (Try-Out) กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 จังหวัดสตูล 2 จำนวน 3 คน

5. การวิเคราะห์ข้อมูล

การศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้

1. วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยและร้อยละของคะแนนเฉลี่ยที่ได้จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน

2. วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ

3. วิเคราะห์หาคะแนนเฉลี่ยและร้อยละของคะแนนเฉลี่ยที่ได้จากการประเมินการทำแบบฝึก ทักษะระหว่างเรียน

6. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

6.1 การวิเคราะห์แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ ได้แก่

6.1.1 ร้อยละ (Percentage ) ใช้สูตร P ของบุญชม ศรีสะอาด ( 2545 : 104 )

สูตร P = f 100

N

เมื่อ P แทน ร้อยละ

f แทน ความถี่ที่ต้องการแปลงให้เป็นร้อยละ

N แทน จำนวนความถี่ทั้งหมด

6.1.2 ค่าเฉลี่ย(Arithmetic Mean)ของคะแนน โดยใช้สูตรของบุญชม ศรีสะอาด(2545:105 )

สูตร X = X

เมื่อ X แทน ค่าเฉลี่ย

X แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมดในกลุ่ม

N แทน จำนวนนักเรียน

6.1.3 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( Standard Deviation) โดยใช้สูตร S.D. ของ บุญชม ศรีสะอาด ( 2545 : 106 )

สูตร S.D.

เมื่อ S.D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

x 2 แทน คะแนนแต่ละตัว

N แทน จำนวนคะแนนในกลุ่ม

 แทน ผลรวม

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ตอนที่ 1 การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80/80 ปรากฏผลดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 คะแนนเฉลี่ย และร้อยละ เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำ พื้นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

แบบฝึกทักษะ คะแนนเต็ม X

ร้อยละ

แบบฝึกทักษะที่ 1 10 7.12 71.25

แบบฝึกทักษะที่ 2 10 7.68 76.87

แบบฝึกทักษะที่ 3 10 8.62 86.25

แบบฝึกทักษะที่ 4 10 8.12 81.25

แบบฝึกทักษะที่ 5 10 8.31 83.12

แบบฝึกทักษะที่ 6 10 8.43 84.37

รวม 60 8.04 80.51

จากตารางที่ 1 แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำพื้นฐานภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน6 แบบฝึก มีคะแนนเฉลี่ย 8.04 คิดเป็นร้อยละ 80.51 ดังนั้น แบบฝึกทักษะที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้

ตอนที่ 2 วิเคราะห์หาความแตกต่างระหว่างคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏดังใน ตารางที่ 3 ดังนี้

ตารางที่ 3 ตารางแสดงคะแนนเฉลี่ยและค่าร้อยละของคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

คะแนน จำนวนนักเรียน คะแนนเต็ม คะแนนรวม คะแนนเฉลี่ย ร้อยละ

ก่อนเรียน 16 30 315 19.68 65.62

หลังเรียน 16 30 400 25.00 83.33

จากตารางที่ 3 พบว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการอ่านและเขียนคำพื้นฐานภาษาไทย จากการทดสอบก่อนเรียน เท่ากับ 19.68 คิดเป็นร้อยละ 65.62 ทดสอบหลังเรียน เท่ากับ 25 คิดเป็นร้อยละ 83.33 แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการอ่านการเขียนคำใน ภาษาไทยสูงขึ้น

อภิปรายผล

จากการรายงาน ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการอ่านและเขียน คำพื้นฐาน ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบประเด็นสำคัญที่ควรนำมาอภิปรายผล ดังนี้

6.1 แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น จำนวน 6 แบบฝึก มีประสิทธิภาพ 80.51./83.33 หมายถึง นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำพื้นฐานทั้ง 6 แบบฝึก คิดเป็น ร้อยละ 80.51 และได้คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่าน และการเขียนคำพื้นฐาน คิดเป็นร้อยละ 83.33 แสดงว่าการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านและการ เขียนคำพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะ ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้อาจเนื่องมาจากการจัด กิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะที่ผู้รายงานได้ศึกษาวิธีการและขั้นตอนการสร้างแบบฝึก ทักษะ ได้ผ่านการตรวจ แนะนำ แก้ไขข้อบกพร่องและประเมินความถูกต้องเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ ผ่านการทดลองใช้เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ก่อนนำไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งการทำแบบฝึก ทักษะช่วยให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น

6.2 คะแนนแบบทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ แสดงให้เห็นว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ การอ่านและการเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ทำให้ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน ด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำสูงขึ้น อาจเนื่องมาจาก

6.2.1 แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นักเรียนมี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นได้เรียนรู้ทีละน้อยตามขั้นตอนที่ครูเตรียมการสอนมาแล้วทำให้ นักเรียนมีกำลังใจที่จะเรียนรู้เนื้อหาใหม่ต่อไป

6.2.2 การใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำพื้นฐานในการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ ได้ยึดหลักการสอนตามความต้องการของผู้เรียน ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนตั้งแต่ เริ่มฟัง อ่าน พูด และเขียน ตลอดถึงขั้นตรวจผลงานด้วยตนเอง นักเรียนเรียนรู้ด้วยความเข้าใจ ใช้สื่อที่ เป็นรูปธรรมมากกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรมและประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง ทำงานร่วมกับเพื่อนเป็นกลุ่ม เพื่อใช้ให้นักเรียนเข้าใจการเรียนรู้แบบประสบการณ์ เนื้อหาเหมาะสมกับความสามารถในการรับรู้ของ นักเรียนระดับประถมศึกษา ทำให้นักเรียนเกิดความเพลิดเพลินสนุกสนาน มีความกระตือรือร้นที่จะ เรียน เพราะการเรียนการสอนที่น่าสนใจ ช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนสูงขึ้น

โพสต์โดย ซูบีดี : [9 ก.ค. 2566 เวลา 09:51 น.]
อ่าน [1464] ไอพี : 1.0.164.194
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 36,901 ครั้ง
รายงานการวิจัยและพัฒนานโยบายกาศึกษาครูและบุคลากรทางการศึกษา (2553)
รายงานการวิจัยและพัฒนานโยบายกาศึกษาครูและบุคลากรทางการศึกษา (2553)

เปิดอ่าน 23,075 ครั้ง
สรรพคุณทางยาของ "บวบหอม"
สรรพคุณทางยาของ "บวบหอม"

เปิดอ่าน 18,532 ครั้ง
รับชมย้อนหลัง “รมว.ศึกษาฯ” กับนโยบายแก้ปัญหา โรงเรียน ICU จากรายการ ผชิญหน้า FaceTime (8 ก.พ. 2560)
รับชมย้อนหลัง “รมว.ศึกษาฯ” กับนโยบายแก้ปัญหา โรงเรียน ICU จากรายการ ผชิญหน้า FaceTime (8 ก.พ. 2560)

เปิดอ่าน 10,813 ครั้ง
ตัดวงจรเครียด...ก่อนระเบิด
ตัดวงจรเครียด...ก่อนระเบิด

เปิดอ่าน 8,235 ครั้ง
โรงเรียนยุคมิลเลนเนียล
โรงเรียนยุคมิลเลนเนียล

เปิดอ่าน 19,791 ครั้ง
สมุนไพรไทยลดความอ้วน ลดไขมัน ตัวช่วยเพื่อหุ่นสวยเป๊ะ
สมุนไพรไทยลดความอ้วน ลดไขมัน ตัวช่วยเพื่อหุ่นสวยเป๊ะ

เปิดอ่าน 10,925 ครั้ง
หนังสือ 108 คำถาม พนักงานราชการ 2
หนังสือ 108 คำถาม พนักงานราชการ 2

เปิดอ่าน 66,913 ครั้ง
วิธีปฐมพยาบาลบาดแผลถลอก
วิธีปฐมพยาบาลบาดแผลถลอก

เปิดอ่าน 14,400 ครั้ง
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู พ.ศ. 2558
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู พ.ศ. 2558

เปิดอ่าน 35,394 ครั้ง
ทำ "แผลแห้ง-แผลเปียก" ถูกวิธี
ทำ "แผลแห้ง-แผลเปียก" ถูกวิธี

เปิดอ่าน 612 ครั้ง
9 ประเภทธุรกิจที่โดดเด่นและน่าจับตามอง ปี 2567
9 ประเภทธุรกิจที่โดดเด่นและน่าจับตามอง ปี 2567

เปิดอ่าน 20,164 ครั้ง
"e-Learning" บทเรียนออนไลน์ กับสิ่งที่ผู้เรียนควรรู้
"e-Learning" บทเรียนออนไลน์ กับสิ่งที่ผู้เรียนควรรู้

เปิดอ่าน 22,072 ครั้ง
ผวาทั้งเอเชีย ข้าวพลาสติกเมดอินไชน่าระบาด กินแล้วอาจถึงตาย
ผวาทั้งเอเชีย ข้าวพลาสติกเมดอินไชน่าระบาด กินแล้วอาจถึงตาย

เปิดอ่าน 10,397 ครั้ง
ถ้อยคำกินใจ..จากแม่ผู้เป็นแม่ค้า ส่งเสียลูกเรียนมหาวิทยาลัย
ถ้อยคำกินใจ..จากแม่ผู้เป็นแม่ค้า ส่งเสียลูกเรียนมหาวิทยาลัย

เปิดอ่าน 56,853 ครั้ง
ห้องสมุด 3 ดี
ห้องสมุด 3 ดี

เปิดอ่าน 22,672 ครั้ง
Franck Muller นาฬิกาไม่เรียงเลข โดดไปมา คลิกดูซิว่าทำงานยังไง
Franck Muller นาฬิกาไม่เรียงเลข โดดไปมา คลิกดูซิว่าทำงานยังไง
เปิดอ่าน 15,020 ครั้ง
ขนส่งฯ แจ้ง เปลี่ยนทะเบียนแตกลายงา ฟรี! วันนี้ - 30 ก.ย. 56
ขนส่งฯ แจ้ง เปลี่ยนทะเบียนแตกลายงา ฟรี! วันนี้ - 30 ก.ย. 56
เปิดอ่าน 14,038 ครั้ง
ความหมายของของขวัญ
ความหมายของของขวัญ
เปิดอ่าน 24,797 ครั้ง
เหตุผลที่ต้องซื้อ "กล้องดิจิตอล"
เหตุผลที่ต้องซื้อ "กล้องดิจิตอล"
เปิดอ่าน 12,274 ครั้ง
"กะเพรา" ราชินีสมุนไพร โบราณเชื่อช่วยให้อายุยืน
"กะเพรา" ราชินีสมุนไพร โบราณเชื่อช่วยให้อายุยืน

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ