ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
เอกสารประกอบการนิเทศ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เล่ม 3 กิจกรรมการเรียนรู้ดีมีขั้นตอน

แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

แผนการจัดการเรียนรู้ เป็นการเตรียมวางแผนการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ โดยนำสาระการเรียนรู้แกนกลาง มาตรฐานการเรียนรู้ คำอธิบายรายวิชากระบวนการเรียนรู้ ซึ่งเขียนเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ให้ครอบคลุมสี่เสาหลักของการศึกษา (Four Pillars of Education) ดังได้กล่าวไว้ในส่วนที่ 2 ให้สามารถพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนตรงตามระดับชั้นเรียน และพัฒนาการและ

ความสามารถของผู้เรียน ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหากิจกรรมการเรียนรู้ สื่อ / แหล่งเรียนรู้ และวิธีวัดประเมินผลที่ชัดเจน โดยมีองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ที่สำคัญแยกเป็น 2 ส่วนได้แก่

1. ส่วนหัว ของแผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ที่..............

สาระการเรียนรู้........รหัสวิชา...................ชั้น..............ภาคเรียน...................หน่วยการเรียนรู้..............

เรื่อง.................................จำนวนชั่วโมง..........................วันที่..............เดือน.........................พ.ศ...........เวลา.......................ดังตัวอย่าง

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6

สาระการเรียนรู้ภาษาไทย รหัสวิชา ท14101 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ภาคเรียนที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ อ่านดู จึงรู้เรื่อง

เรื่อง เรื่องสั้นบันดาลใจ เวลา 1 ชั่วโมง

สอนวันที่ 15 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 2 ชั่วโมง

2. ส่วนที่ 2 รายการสำคัญที่ต้องระบุในแผนการจัดการเรียนรู้

2.1 มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด ที่เป็นเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ สำหรับแผนการเรียนรู้นั้น ๆ

2.2 สาระสำคัญ (ความคิดรวบยอดหรือมโนมติของบทเรียน) หมายถึง สาระสำคัญของ

เนื้อหา ประสบการณ์ที่ต้องการให้เกิดกับนักเรียนหลังจากนักเรียนได้รับการปลูกฝังด้วยเทคนิควิธีการจากครู และการมีส่วนร่วมในกิจกรรม รวมทั้งทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดขอบเขตเนื้อหา ความรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละครั้ง ควรเขียนเป็นประโยคข้อความสั้น ๆ

2.3 จุดประสงค์การเรียนรู้ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ

2.3.1 จุดประสงค์ปลายทาง เป็นจุดประสงค์การเรียนรู้ที่สะท้อนผลรวมทั้งหมด

ที่มุ่งหวัง จุดเน้นเด่น ๆ ของเนื้อหาวิชาและพฤติกรรมสำคัญของวิชานั้น ๆ วิธีเขียนให้ยืด “สาระการเรียนรู้เป็นหลัก” และนำกรอบพฤติกรรมบ่งชี้มาวิเคราะห์ให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้และมาตรฐานการเรียนรู้

2.3.2 จุดประสงค์นำทาง เป็นความคาดหวังที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ระหว่างการเยน

ในแต่ละครั้ง ดังนั้นครูผู้สอนควรวางวัตถุประสงค์ย่อย ๆ หรือพฤติกรรมย่อย ที่ควรเกิดขึ้นในระหว่างจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่จุดหมายปลายทางได้

2.4 สาระการเรียนรู้ หมายถึง ประมวลสาระแห่งองค์ความรู้หรือสาระการเรียนรู้ที่

ปรากฏอยู่ในขอบข่ายของเรื่องที่กำหนดให้เรียน สามารถเขียนโดยอาศัยพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นตัวกำหนดได้ เช่น

2.4.1 ด้านความรู้ ได้แก่ สาระความรู้ที่กำหนดให้ผู้เรียนได้เรียน

2.4.2 ด้านทักษะกระบวนการ หมายถึง ทักษะที่เกี่ยวข้องกับสาระการเรียนรู้

ทักษะการทำงาน ทักษะการทำงาน ทักษะการเรียนรู้ที่ต้องการให้ผู้เรียนได้ฝึก

2.4.3 ด้านเจตคติ คุณค่า หมายถึง อารมณ์ความรู้สึก การเห็นประโยชน์คุณค่า

ของเรื่องที่เรียน

2.5 กิจกรรมการเรียนรู้ / กระบวนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง วิธีการสอน รูปแบบ

การสอนแบบต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ หรือเป็นขั้นตอนและวิธีการของการกระทำกิจกรรม ต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการเรียนรู้ที่สามารถให้นักเรียนได้แสดงออกทั้งด้านการปฏิบัติด้วย การใช้ความคิด พูด และการะทำ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ในขณะที่เรียน

กิจกรรมการเรียนรู้ เป็นจัดการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง หลักของการนำกิจกรรมการเรียนการสอนมาทำแผนการจัดการเรียนรู้คือ ยึดหลักนักเรียนเป็นศูนย์กลางของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมากที่สุด ดังนั้นผู้สอนจึงควรทราบหลักการและขั้นตอนในการจัดกิจกรรม ดังนี้

2.5.1 หลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

1) เป็นกิจกรรมที่พัฒนานักเรียนไปสู่มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด

ชั้นปีที่กำหนดไว้ในหน่วยการเรียนรู้

2) นำไปสู่การเกิดหลักฐานการเรียนรู้ ชิ้นงานหรือภาระงานที่แสดงถึง

การบรรลุมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดชั้นปีของนักเรียน

3) นักเรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนรู้

4) เป็นกิจกรรมที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ

5) มีความหลากหลายและเหมาะสมกับนักเรียนและเนื้อหาสาระ

6) สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์

7) ช่วยให้นักเรียนเข้าสู่แหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ที่

หลากหลาย

8) เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง

2.5.2 ขั้นตอนในการจัดกิจกรรม

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีศักยภาพ ตามมาตรฐาน

การเรียนรู้ / ตัวชี้วัดที่กำหนด เป้าหมายการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ไว้แล้วนั้น ครูผู้สอนต้องคิดทบทวนย้อนกลับว่า มีกระบวนการ หรือขั้นตอนกิจกรรม ตั้งแต่ต้นจนจบอย่างไร จึงจะทำให้ผู้เรียนมีขั้นตอนการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ ความสามารถต่าง ๆ รวมถึงคุณลักษณะที่พึงประสงค์ จนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้และเกิดหลักฐานของการเรียนรู้ที่กำหนด

ความรู้ความเข้าใจที่ลึกซึ้ง อันเป็นผลมาจากการสร้างความรู้ของผู้เรียนด้วย

การทำความเข้าใจหรือแปลความหมายในสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ทั้งหมดทุกแง่ทุกมุมตลอดแนว ด้วยวิธีการถามคำถามการแสดงออก และการสะท้อนผลงาน ซึ่งสามารถใช้ตัวชี้วัดดังต่อไปนี้ใน การตรวจสอบว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จนกลายเป็นความรู้ความเข้าใจที่ลึกซึ้งแล้วหรือไม่ ความเข้าใจ 6 ด้าน ได้แก่

1) ผู้เรียนสามารถอธิบาย (Can explain) เรื่องราวต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง

มีหลักการ โดยแสดงให้เห็นถึงการใช้เหตุผล ข้อมูล ข้อเท็จจริง ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่น่าเชื่อถือประกอบในการอ้างอิงเชื่อมโยงกับประเด็นปัญหา สามารถคาดการณ์ไปสู่อนาคต

2) ผู้เรียนสามารถแปลความหมาย (Can interpret) เรื่องราวต่าง ๆ ได้

อย่างมีความหมายทะลุปรุโปร่ง ตรงประเด็น กระจ่างชัด โดยอาจใช้แนวคิด ทฤษฎี เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ หรือมุมมองของตนเองประกอบการตีความและสะท้อนความคิดเห็น

3) ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ ความรู้ (Can apply) ได้อย่างมี

ประสิทธิภาพ สร้างสรรค์เหมาะสมกับสถานการณ์ คล่องแคล่ว ยืดหยุ่น และสง่างาม

4) ผู้เรียนสามารถมองจากมุมมองที่หลากหลาย มองเห็น รับรู้ประเด็น

ความคิดต่าง ๆ (Have perspective) และตัดสินใจที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อ โดยผ่านขั้นตอนการวิพากษ์

วิจารณ์ และมุมมองในภาพกว้างโดยมีแนวคิด ทฤษฎี ข้อมูล ข้อเท็จจริงสนับสนุนการรับรู้นั้น ๆ

5) ผู้เรียนสามารถเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น บอกคุณค่าในสิ่งต่าง ๆ ที่คน

อื่นมองไม่เห็น (Can empathize) หรือคิดว่ายากที่จะเชื่อถือได้ ด้วยการพิสูจน์สมมติฐานเพื่อทำให้ข้อเท็จจริงนั้น ๆ ปรากฏ มีความละเอียดอ่อนที่จะซึมซับ รับทราบความรู้สึกนึกคิดของผู้เกี่ยวข้อง

6) ผู้เรียนรู้จักตนเอง มีความตระหนักรู้ถึงความสามารถทางด้านสติปัญญา

วิถีชีวิต นิสัยใจคอ ความเป็นตัวตนของตนเอง (Have self-knowledge) ซึ่งคือเบ้าหลอมความเข้าใจ ความหยั่งรู้ในเรื่องราวต่าง ๆ มีความตระหนักว่า มีสิ่งใดอีกที่ยังไม่เข้าใจ และสามารถสะท้อน ความหมายของสิ่งที่ได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ ปรับตัวได้ รู้จักใคร่ครวญ และมีความเฉลียวฉลาด

ครูผู้สอนสามารถใช้ตัวชี้วัดความรู้ความเข้าใจคงทน ทั้ง 6 ตัวชี้วัดนี้ เป็นเครื่องมือในการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้และวิธีการวัดประเมินผลเรียนรู้ว่า ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ตรงตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด และเป้าหมายหลักของการจัดการเรียนรู้หรือไม่

2.5.3 หลักการจัดประสบการณ์หรือกิจกรรมการเรียนรู้ มีดังนี้

1) เลือกกิจกรรมที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนรู้

สอดคล้องเชื่อมโยงกับมาตรฐานหรือตัวชี้วัด หากเป็นทักษะ ควรเป็นทักษะที่ปฏิบัติแล้วผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ตามวัตถุประสงค์

2) เลือกกิจกรรมที่ผู้เรียนพึงพอใจ สนุก น่าสนใจ ไม่ซ้ำซาก มีประโยชน์ต่อ

การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และทำให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียน

3) เลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับความสามารถด้านร่างกายของผู้เรียนที่จะ

ปฏิบัติได้และควรคำนึงถึงประสบการณ์เดิม เพื่อจัดกิจกรรมใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง

4) เลือกกิจกรรมที่ส่งเสริมจุดมุ่งหมายในการจัดการเรียนรู้หลาย ๆ ด้าน

5) เลือกกิจกรรมให้หลากหลาย คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล

เหมาะสมกับวัยความสามารถและความสนใจของผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้ใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้มากที่สุด

6) ใช้สื่อ / แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและเหมาะสม

7) ใช้เทคนิควิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย ส่งเสริมกระบวนการคิดและทักษะ

ต่าง ๆ

8) ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมและการประเมินผล มีการวัดและ

ประเมินผลที่หลากหลายและสอดคล้องกับกิจกรรม

2.5.4 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เป็นการใช้กระบวนการ

ปฏิบัติต่าง ๆ ของผู้เรียนที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่

1) วิธีการ / กิจกรรมการเรียนรู้ ครูหรือผู้เกี่ยวข้องนำมาใช้เพื่อให้ผู้เรียนได้

เรียนรู้ตามเป้าหมายมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด วัตถุประสงค์การเรียนรู้ย่อยของตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรสถานศึกษา โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญของการจัดการเรียนรู้ คือ กิจกรรมการเรียนรู้ที่มีผลต่อผู้เรียน ในการกระตุ้นความสนใจ สนุกสนาน ตื่นตัวในการเรียน มีการเคลื่อนไหว เปิดโอกาสให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ ปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตย เป็นกิจกรรมในการเรียนรู้ที่ครูออกแบบการสอนตามลักษณะของตัวชี้วัดว่าเป็นด้านความรู้ ทักษะ / กระบวนการปฏิบัติ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยเน้นการลงมือปฏิบัติ การอ่าน ฟัง คิด ถาม เขียน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำเสนอผลงานการศึกษาค้นคว้าของนักเรียน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของตัวชี้วัดเป็นสำคัญ

2) กระบวนการเรียนรู้ มีการส่งเสริมทักษะกระบวนการสอนรูปแบบต่าง ๆ

อย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนการสอนเฉพาะแบบตามที่ครูเลือกใช้ ซึ่งการเลือกกระบวนการสอนในศตวรรษ 21 มีหลากหลายที่นิยมสอนในปัจจุบัน ตามหลักการจัดการเรียนรู้ และเทคนิคการสอน ดังนี้

(1) หลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เช่น

- การจัดการเรียนรู้แบบรู้จริง (Mastery Learning)

- การจัดการเรียนรู้แบบเน้นมโนทัศน์ (Concept – Based –

Instruction)

- การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง (Authentic Learning)

- การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem – Based

Instruction)

- การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project – Based –

Instruction)

- การจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิด (Thinking – Based –

Instruction)

- การจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการกลุ่ม (Group Process –

Based Instruction)

- การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integration Teaching)

(2) หลักการจัดการเรียนรู้ที่เป็นสากล

- รูปแบบการการจัดการเรียนรู้ โดยใช้บทบาทสมมติ (Role Playing Model)

- รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดสร้างสรรค์

(Synectics Instruction Model)

- รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหา

(Problem Solving)

- รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยสร้างเรื่อง (Storyline Model)

- รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ที่ 4 Mat

- รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Instructional Models of Coorperative Learning) (ทิศนา แขมมณี : 2551 : 119 – 144)

(3) เทคนิคการสอน ยกตัวอย่าง เช่น

- Active reading ให้นักเรียนอ่านบทความ / บทอ่านแล้ว

แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนเกี่ยวกับสิ่งที่อ่าน สรุปสิ่งที่อ่าน

เป็นผังมโนทัศน์ (Concept Map)

- Brain storming ระดมความคิด มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1) กำหนดหัวข้อและเวลา 2) แบ่งกลุ่มผู้เรียน กลุ่มละ 4–5 คน

3) ร่วมกันอภิปรายเพื่อหาข้อสรุปของกลุ่ม และบันทึกแนวคิด

ของทุกคนในกลุ่ม 4) นำเสนอข้อสรุปของกลุ่ม

- Agree & Disagree statement มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1) ผู้สอนตั้งคำถามให้ผู้เรียนตอบ อาจใช้สัญลักษณ์แสดง

คำตอบ เช่น กระดาษสีแดง: ไม่เห็นด้วย กระดาษสีน้ำเงิน: เห็น

ด้วย 2) เมื่อนักเรียนยกสัญลักษณ์แล้ว ผู้สอนให้นักเรียนเข้า

กลุ่มที่เหมือนกัน 3) นักเรียนร่วมกันอภิปรายแลกเปลี่ยน

เกี่ยวกับเหตุผลที่เลือกเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย 4) ตัวแทนกลุ่ม

ออกมานำเสนอ

- Carousel กลวิธีม้าหมุน มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1) นักเรียนแสดง

ความคิดเห็นต่อประเด็นหรือหัวข้อที่นักเรียนแต่ละกลุ่มได้รับไป

2) เขียนบนกระดาษติดไว้บันผนังห้อง แล้วให้นักเรียนกลุ่มอื่น ๆ

เวียนแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม 3) หลังจากนั้นเจ้าของกลุ่ม

กลับไปพิจารณาความคิดของกลุ่มและที่เพื่อนมาเพิ่มเติมเพื่อ

อภิปราย สรุปความคิดเห็นของกลุ่ม และนำเสนอต่อชั้นเรียน

4) ครูนำอภิปรายเพิ่มเติมเหมาะสำหรับการฝากทักษะ

การศึกษาข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ทักษะการลงความคิดเห็นจาก

ข้อมูลการแสดงออกและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น

- Gallery Walk เดินชมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นกลวิธีที่ให้ผู้เรียน

นำเสนอผลงานของกลุ่มในการศึกษาเรื่องเดียวกัน ภายหลังจบ

บทเรียน ให้กลุ่มอื่นมาชมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงาน แสดง

ความคิดเห็นอภิปรายภายในกลุ่ม มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1)

กำหนดหัวข้อเรื่อง เขียนแนวคิดวิธีการ ลงบนกระดาษโปสเตอร์

แล้วติดไว้รอบ ๆ ห้อง เพื่อให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างการเดิน

ชมผลงาน 2) อาจมอบหมายให้ทำเป็นกลุ่ม 3) ขั้นตอนนำเสนอ

ให้มีตัวแทนกลุ่ม 1 คน ประจำอยู่ที่ผลงานกลุ่มติดอยู่ เพื่อให้

ข้อมูลกับผู้ที่มาเยี่ยมชมผลงาน

- Jigsaw มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1) ผู้สอนเลือกเนื้อหาที่แบ่งเป็น

3 – 4 ชิ้น 2) แบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มเท่า ๆ กันกับเนื้อหา

3) (Home group) สมาชิกแต่ละคนเลือกเนื้อหาที่ตนสนใจแล้ว

ไปร่วมกับสมาชิกจากกลุ่มอื่น (Expert group) เพื่อศึกษา หา

ความเข้าใจหรือหาคำตอบร่วมกันในกลุ่ม จากนั้นกลับไปสอนที่

กลุ่มเดิมของตนจนครบถ้วน

- Think – Pair – Share คิดเดี่ยว – คิดคู่ – แลกเปลี่ยน

เรียนรู้ โดยผู้สอนตั้งปัญหา ให้ผู้เรียนคิดหาคำตอบด้วยตนเอง

ก่อน 4 – 5 นาที แล้วจับคู่กับเพื่อน อภิปรายแลกเปลี่ยน

ความคิดเห็น สุดท้ายให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันทั้งชั้นเรียน

- Chain Note มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1) ผู้สอนเตรียมคำถาม /

ข้อความที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่ต้องการไว้ โดยอาจพิมพ์ลงบน

กระดาษ A4 2) ผู้เรียนแต่ละคนตอบคำถามหรือข้อความนั้น ๆ

เพียง 1 – 2 ประโยค 3) ส่งต่อกระดาษแผ่นนั้นให้เพื่อนที่นั่ง

ถัดไปเพื่อช่วยตอบคำถามนั้นให้สมบูรณ์ สามารถใช้ก่อนเรียน

หรือหลังเรียนได้ 4) ส่งกระดาษแผ่นนั้นกลับในทิศทางเดิม

เพื่อให้ผู้ที่เขียนก่อนได้อ่านความเห็นทั้งหมดด้วย

- Student’ Reflection เป็นการให้ผู้เรียนได้สะท้อนความคิด

อาจจะให้ผู้เรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในคาบเรียน เสนอแนะ

เกี่ยวกับการเรียน ถามคำถามที่ยังสงสัย หรือให้ผู้เรียนเพิ่มเติม

เกี่ยวกับสิ่งที่เรียน เช่น - Know – Want – Learned เมื่อ

เริ่มต้นบทเรียนให้ผู้เรียนเขียนสิ่งที่รู้และสิ่งที่อยากรู้เกี่ยวกับ

เนื้อหาที่จะเรียนเมื่อจบบทเรียน ให้ผู้เรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ –

Got – Need และ Exit Ticket เมื่อจบบทเรียน ให้ผู้เรียน

เขียนสิ่งที่เรียนรู้ อาจเป็นการสรุปร่วมกันหน้าชั้นเรียน และ

วางแผนกิจกรรมการเรียนจากสิ่งที่อยากรู้เพิ่มเติม –

Diary/Journal Note เขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ คำถามที่ยังสงสัย

- One-minute paper ผู้เรียนเขียนสิ่งที่กำหนดให้ลงใน

กระดาษ โดยกำหนดเวลาให้ 1 นาที อาจปรับใช้สำหรับขั้น

นำเข้าสู่บทเรียน เพื่อเป็นการตรวจสอบความรู้เดิมของผู้เรียน

หรือขั้นสรุป สำหรับให้ผู้เรียนสรุปความรู้จากการเรียน

- Round robin เป็นเทคนิคที่เปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มผลัด

กันพูดตอบ อธิบายซึ่งเป็นการพูดที่ผลัดกันทีละคนตามเวลาที่

กำหนดจนครบทุกคน (อาจเป็นกลุ่มใหญ่หรือกลุ่มย่อย)

- Round table เป็นเทคนิคที่เหมือนกับการพูดรอบวง แตกต่าง

กันที่เน้นการเขียนแทนการพูดเมื่อครูถามปัญหาหรือให้นักเรียน

แสดงความคิดเห็น นักเรียนจะผลัดกันเขียนลงในกระดาษที่

เตรียมไว้ทีละคนตามเวลาที่กำหนด

- Line – ups เป็นเทคนิคง่าย ๆ โดยให้นักเรียนยืนแถว

เรียงลำดับ ภาพ คำ หรือสิ่งที่ครูกำหนดให้เช่น ครูให้ภาพต่าง ๆ

แก่นักเรียน แล้วให้นักเรียนยืนเรียงลำดับภาพขั้นตอนของวงจร

ชีวิตของแมลง ห่วงโซ่อาหาร เป็นต้น

- Inside-outside circle เป็นเทคนิคที่ให้นักเรียนนั่งหรือยืน

เป็นวงกลมซ้อนกัน 2 วง จำนวนเท่ากัน วงในหันหน้าออก

วงนอกหันหน้าเข้า นักเรียนที่อยู่ตรงกันจับคู่กันเพื่อสัมภาษณ์ซึ่ง

กันและกัน หรืออภิปรายปัญหาร่วมกัน จากนั้นจะหมุนเวียน

เพื่อเปลี่ยนคู่ใหม่ไปเรื่อย ๆ ไม่ซํ้าคู่กัน โดยนักเรียนวงนอก และ

วงในเคลื่อนไปในทิศทางตรงข้ามกัน

- Gallery of Learning มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1) แบ่งนักเรียน

ออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2 - 4 คน ครูติดกระดาษปรู๊ฟที่บริเวณ

ผนังห้อง 2) สมาชิกของกลุ่มร่วมกันอภิปรายสิ่งที่ได้รับจากการ

เรียนรู้ อาจจะระบุเป็นหัวข้อ เช่น ความรู้ใหม่, ทักษะใหม่, สิ่งที่

ได้รับการพัฒนา, ค้นพบความสนใจใหม่เรื่อง..., มีความมั่นใจใน

เรื่อง 3) นักเรียนแต่ละคนเขียนประเด็นที่ได้เรียนรู้ลงใน

กระดาษ post - it หรือกระดาษที่ตัดเป็นชิ้นนำไปติดลงใน

กระดาษปรู๊ฟให้ตรงตามคอลัมน์ของประเด็นที่ตนเองเขียน

4) ครู และนักเรียนร่วมกันตรวจสอบผล แล้วสรุปข้อดีและข้อ

ควรปรับปรุง (พลอยไพลิน นิลกรรณ์, 2562 : 33 – 35)

โดยสรุปการจัดการเรียนรู้ที่เน้นบทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน โดยการนำเอาหลักการวิธีการสอน เทคนิคการสอนที่หลากหลายมาใช้ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้และกิจกรรม กระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนและผู้เรียนกับผู้สอน เป็นการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ทักษะและเชื่อมโยงองค์ความรู้นำไปปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาหรือประกอบอาชีพในอนาคต และถือเป็นการจัดการเรียนรู้ประเภทหนึ่งที่ส่งเสริม ให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน

2.6 สื่อและแหล่งการเรียนรู้ หมายถึง การเตรียมสื่อต่าง ๆ เช่น ใบความรู้ สื่อ วัสดุ

อุปกรณ์ สื่อบุคคล กรณีศึกษา นิทาน เครื่องโสตทัศนูปกรณ์ วีดิทัศน์ แถบเสียง แผ่นโปร่งใส Power Point กระดาษ ปากกา สี บัตรคำ บัตรความรู้ ใบงาน หนังสือ ตำรา เอกสารอ้างอิง เป็นต้น ซึ่งจะได้กล่าวโดยละเอียดในเล่ม 4 สื่อแหล่งเรียนรู้คู่คุณธรรม แหล่งเรียนรู้ที่ใช้ประกอบในการทำกิจกรรมการเรียนรู้ในคาบนั้น ๆ เช่น แหล่งเรียนรู้ในชุมชน วัด ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล ศาลจังหวัด สถานีตำรวจ อนามัยตำบล ฯลฯ เป็นต้น

2.7 การวัดและประเมินผล หมายถึง การออกแบบการประเมินผลและการสร้าง

เครื่องมือเพื่อใช้ในการประเมินผล ในที่นี้หมายถึงการวัดและประเมินผลการเรียนเป็นรายชั่วโมง ได้แก่ การสังเกตความสนใจและการมีส่วนร่วม การแสดงความคิดเห็นและการตรวจผลงาน การใช้แบบทดสอบ การทำแฟ้มสะสมงาน เป็นต้น การจัดกิจกรรมในขั้นนี้ ได้แก่ การนำผลงานมาติดที่ ป้ายนิเทศ การอ่านหนังสือเพิ่มเติมนอกเวลา การทำแบบทดสอบ เป็นต้น

2.8 บันทึกผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนสามารถประเมินแผนการจัดการเรียนรู้

โดยใช้บันทึกผลการจัดการเรียนรู้ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ต่อไป

สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้ กิจกรรมและการปฏิบัติต่าง ๆ ที่ก่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นมีหลากหลายที่สำคัญ คือ การเลือกใช้ให้เหมาะสมสอดคล้องกับมาตรฐาน การเรียนรู้ ตัวชี้วัดที่กำหนดในหลักสูตรแต่ละระดับชั้นก็จะกระตุ้นให้ผู้เรียนตื่นตัว สนใจ เคลื่อนไหว คิดสร้างสรรค์ สื่อสาร แก้ปัญหา ซึ่งจะมีผลต่อการเรียนรู้ต่อผู้เรียนอย่างแท้จริง

โพสต์โดย รองกัญญา : [17 ต.ค. 2565 เวลา 00:20 น.]
อ่าน [1858] ไอพี : 118.172.74.233
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 12,354 ครั้ง
โรคกระดูกพรุน..ภัยเงียบที่คาดไม่ถึง
โรคกระดูกพรุน..ภัยเงียบที่คาดไม่ถึง

เปิดอ่าน 11,445 ครั้ง
วิธีลด ความดันโลหิตสูง
วิธีลด ความดันโลหิตสูง

เปิดอ่าน 11,644 ครั้ง
เทคนิคการดูแลเส้นผม ช่วงหน้าฝน
เทคนิคการดูแลเส้นผม ช่วงหน้าฝน

เปิดอ่าน 18,940 ครั้ง
10 อันดับเมืองที่มลพิษมากที่สุดในโลก
10 อันดับเมืองที่มลพิษมากที่สุดในโลก

เปิดอ่าน 13,443 ครั้ง
คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์

เปิดอ่าน 11,028 ครั้ง
ทำไมถึงต้องใช้บริการบริษัท Digital Agency
ทำไมถึงต้องใช้บริการบริษัท Digital Agency

เปิดอ่าน 14,340 ครั้ง
เตือนน้ำมังคุด ไม่ได้ช่วยรักษาโรค
เตือนน้ำมังคุด ไม่ได้ช่วยรักษาโรค

เปิดอ่าน 3,991 ครั้ง
10 เรื่องที่ประชาชนต้องรู้เกี่ยวกับ PDPA
10 เรื่องที่ประชาชนต้องรู้เกี่ยวกับ PDPA

เปิดอ่าน 10,225 ครั้ง
ตรุษจีน 58 กับเรื่อง ปีชง...เอาที่สบายใจ
ตรุษจีน 58 กับเรื่อง ปีชง...เอาที่สบายใจ

เปิดอ่าน 21,911 ครั้ง
สมจิตร จงจอหอ
สมจิตร จงจอหอ

เปิดอ่าน 13,875 ครั้ง
กังนัมอะยาย ศึกประชัน เต้นกังนัมสไตล์ ระหว่าง ยาย VS โคโยตี้
กังนัมอะยาย ศึกประชัน เต้นกังนัมสไตล์ ระหว่าง ยาย VS โคโยตี้

เปิดอ่าน 39,198 ครั้ง
ทฤษฎีบทบาทสื่อมวลชนกำลังถูกท้าทายโดยสื่อใหม่
ทฤษฎีบทบาทสื่อมวลชนกำลังถูกท้าทายโดยสื่อใหม่

เปิดอ่าน 4,057 ครั้ง
พฤติกรรมที่ทำให้หน้าแก่เร็ว
พฤติกรรมที่ทำให้หน้าแก่เร็ว

เปิดอ่าน 25,582 ครั้ง
ดูดวงตามวันเกิดผู้หญิง
ดูดวงตามวันเกิดผู้หญิง

เปิดอ่าน 10,651 ครั้ง
วิธีลดลอยแผลขรุขระบนใบหน้า
วิธีลดลอยแผลขรุขระบนใบหน้า

เปิดอ่าน 13,372 ครั้ง
11 วิธีปรับตัวเองให้เป็นคนรักงาน
11 วิธีปรับตัวเองให้เป็นคนรักงาน
เปิดอ่าน 13,338 ครั้ง
ตูนส์ศึกษา : จิตวิญญาณครู สำคัญที่สุด
ตูนส์ศึกษา : จิตวิญญาณครู สำคัญที่สุด
เปิดอ่าน 16,053 ครั้ง
7 เคล็ดลับผิวสว่างใส สำหรับสาวย่าง 30
7 เคล็ดลับผิวสว่างใส สำหรับสาวย่าง 30
เปิดอ่าน 9,904 ครั้ง
“ท่องเที่ยวอย่างไรให้สบายเท้า”
“ท่องเที่ยวอย่างไรให้สบายเท้า”
เปิดอ่าน 31,515 ครั้ง
ขนาดของหน่วยความจำและขนาดของภาพเมื่อนำไปอัด
ขนาดของหน่วยความจำและขนาดของภาพเมื่อนำไปอัด

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ